Skip to main content
sharethis




วันที่ 28 พ.ย.50    เครือข่ายรณรงค์เพื่อเสรีภาพของภาพยนตร์ นำโดยจิระนันท์ พิตรปรีชา พร้อมด้วยผู้กำักับภาพยนตร์ อาทิ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, เป็นเอก รัตนเรือง พร้อมด้วยสมาชิกของเครือข่ายอีกราว 30 คน เดินทางไปยังหน้ารัฐสภา เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สนช. เพื่อให้แก้ไขและชี้แจงรายละเอียดร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ...



 


ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ถูกเสนอเข้าวาระแรกของสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 50 โดยคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ


 


ทางเครือข่ายยื่นข้อเสนอให้สนช. แปรญัตติในมาตรา 7, 26, 29 และ 30 โดยระบุว่า ในร่างพ.ร.บ.ภาพยนตร์ ฉบับนี้ ไม่เพียงมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์แล้ว ยังส่งผลต่อประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะเยาวชนในด้านการพัฒนาการเรียนรู้ การวิเคราะห์ และการสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิดและปัญญา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อควา่มเจริญก้่าวหน้าด้านต่างๆ ของประเทศ


 


ถอนทิ้ง! แนวคิด ห้ามฉาย


ในสาระสำคัญที่เครือข่ายรณรงค์เืพื่อเสรีภาพเห็นว่าต้องแก้ไขจากร่างเดิมนั้น คือ ให้ตัดการ "ห้ามเผยแพร่ภาพยนตร์ในราชอาณาจักร" ซึ่งยังมีถ้อยคำดังกล่าวอยู่ในมาตรา 26 วรรค 4 เหตุผลที่เสนอให้ตัด เพราะการห้ามเผยแพร่ถือเป็นการลิดรอนสิทธิพื้นฐานในการเลือกสร้างและเลือกเสพของประชาชน เป็นการสร้างอำนาจเบ็ดเสร็จให้กับรัฐ และสามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้


 


"การพยายามป้องกันสื่อที่ไม่เหมาะสมกับเยาวชนโดยการห้ามเผยแพร่ แสดงจุดยืนของรัฐในความไม่เคารพระบบการจัดประเภทของภาพยนตร์ ไม่เคารพในวิจารณญาณของผู้ที่มีอายุสิบแปดปีขึ้นไป ซึ่งมีสิทธิทางการเมืองและสิทธิในการเสพข้อมูล ในขณะที่รัฐมีเครื่องมือมากมายในกฎหมายอาญาอื่นที่จะจัดการต่อการสร้างงานหรือแสดงผลงานที่ขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว" เครือข่ายรณรงค์เพื่อเสรีภาพของภาพยนตร์แจงเอาไว้ในเอกสารประกอบจดหมายเปิดผนึก


 


นอกจากนี้ ข้อเสนอของทางเครือข่ายที่เสนอให้ยกเลิกการห้ามเผยแพร่ภาพยนตร์ เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่สำหรับความหลากหลายทางทัศนะ แม้จะเป็นพื้นที่จำกัด ไม่ว่ารัฐจะยอมรับหรือไม่ แต่คนที่แตกต่างหรือชนกลุ่มน้อยทางวัฒนธรรมย่อมมีอยู่เสมอ ซึ่งรัฐควรเปิดโอกา่สให้ประชาชนได้ตีความกลั่นกรองเพื่อการพัฒนาทางปัญญาและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากมิติทางวัฒนธรรม


 


ขอเปลี่ยน! ลดอำนาจรัฐ ในการตัดสินใจแทนประชาชน


ในส่วนของมาตรา 7 ที่ว่าด้วยองค์ประกอบของคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาตินั้น ทางเครือข่ายฯ เสนอให้คณะกรรมการ ต้องมีสัดส่วนของตัวแทนที่เหมาะสมระหว่างภาครัฐและเอกชน จึงจะก่อให้เกิดความชอบธรรมและลดความขัดแย้งซึ่งอาจจะเกิดขึ้น และเป็นกลไกเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างรัฐ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค


 


นอกจากนี้ ยังเสนอให้มีการแก้ไขในมาตรา 29 จากเดิมที่ให้คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์มีอำนาจสั่งให้ผู้ขออนุญาต แก้ไขหรือตัดทอนก่อนจะอนุญาต หรือจะไม่อนุญาตก็ได้นั้น ทางเครือข่ายฯ เห็นว่า ควรแก้เนื้อหา ให้ฝ่ายผู้ขออนุญาตมีทางเลือกว่าจะตัดสินใจแก้ไขตัดทอนหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มสำนึกและจรรยาบรรณของผู้สร้าง ผู้จัดฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน ผู้จำหน่ายภาพยนตร์ ที่จะต้องร่วมกันรับผิดชอบในความผิด


อ่านประกอบ:
ร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ พ.ศ. ...


 


 


 


 


รายชื่อสมาชิกหลัก


เครือข่ายรณรงค์เพื่อเสรีภาพของภาพยนตร์


 


นางจิระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรต์ พ.ศ. 2532


นายกิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน ประธานคณะกรรมการมูลนิธิหนังไทย


น.ส.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.)


นายเป็นเอก รัตนเรือง ศิลปินศิลปาธร สาขาภาพยนตร์ ปี 2547


นายอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ศิลปินศิลปาธร สาขาภาพยนตร์ ปี 2548


นายวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ศิลปินศิลปาธร สาขาภาพยนตร์ ปี 2549


นายธัญสก พันสิทธิสรกุล ศิลปินศิลปาธร สาขาภาพยนตร์ ปี 2550


นายนนทรีย์ นิมิบุตร ผู้กำกับภาพยนตร์ (นางนาก, โอเค เบตง)


นายยุทธเลิศ สิปปภาค ผู้กำกับภาพยนตร์ (กุมภาพันธ์, กระสือวาเลนไทน์)


น.ส.พิมพกา โตวิระ ผู้กำกับภาพยนตร์ (คืนไร้เงา)


นายพันธ์ธัมม์ ทองสังข์ ผู้กำกับภาพยนตร์ (มะหมา)


น.ส.โสรยา นาคะสุวรรณ ผู้กำกับภาพยนตร์ (Final score)


นายนิธิวัฒน์ ธราธร, นายวิชชา โกจิ๋ว, นายทรงยศ สุขมากอนันต์, นายคมกฤษ ตรีวิมล, นายวิทยา ทองอยู่ยง, นายอนุสรณ์ ตรีสิริเกษม กลุ่มผู้กำกับภาพยนตร์ (แฟนฉัน)


นายปราโมทย์ แสงศร ผู้กำกับภาพยนตร์ (Tsu)


น.ส.สิริยากร พุกกะเวส นักแสดง


นายธนชัย อุชชิน นักร้อง


นายนภ พรชำนิ นักร้อง


นายภิญโญ ไตรสุริยะธรรมา ผู้บริหารสำนักพิมพ์ Openbooks


นางกฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการโปรเจค 304 และผู้จัดงานเทศกาลภาพยนตร์ทดลองกรุงเทพ


นายมานิต ศรีวานิชภูมิ ศิลปิน


นายปราบดา หยุ่น นักเขียน


นายคันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง นักเขียน


น.ส.ชลิดา เอื้อบำรุงจิต มูลนิธิหนังไทย


น.ส.วิมลรัตน์ อรุณโรจน์สุริยะ ผู้จัดโปรแกรมเทศกาลหนังของเด็ก


น.ส.อรพร ลักษณากร ผู้จัดเทศกาลดิจิตอลฟอรัม


นายสัณห์ชัย โชติรสเศรณี นักวิชาการด้านภาพยนตร์


น.ส.พัชรินทร์ เอกอ่อนแสง นักออกแบบอิสระ


นายก้อง ฤทธิ์ดี คอลัมนิสต์


น.ส.ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ บรรณาธิการนิตยสารไบโอสโคป


นายไกรวุฒิ จุลพงศธร นักวิจารณ์ภาพยนตร์


นายชาคร ไชยปรีชา นักวิจารณ์ภาพยนตร์


นายณัฐดนัย เหลื่อมภักดิ์ ผู้ผลิตรายการ


น.ส.อัศรินทร์ นนทิหทัย นักกิจกรรมวัฒนธรรม


นายอภิศักดิ์ สนจด ผู้อำนวยการหอศิลป์ตาดู


นายสนทยา ทรัพย์เย็น ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์


มูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร


มูลนิธิหนังไทย


นิตยสารไบโอสโคป


กลุ่มผู้สร้างภาพยนตร์อิสระ คิก เดอะ แมชชีน


กลุ่มผู้สร้างภาพยนตร์อิสระ ไทยอินดี้


กลุ่มผู้สร้างภาพยนตร์อิสระ ไทยชอร์ตฟิล์ม


กลุ่มนักศึกษานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ


เครือข่ายศิลปินแห่งประเทศไทย


กลุ่มมะขามป้อม


กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT)


คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.)


กลุ่มเยาวชนรักประชาธิปไตย


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net