เทศกาลรณรงค์เรื่องสิทธิทางเพศ: ตอนเปิดพื้นที่ปลอดภัยเรื่องเพศ

Event Date: 
Thursday, 6 August, 2009 - 09:00

๖ - ๗ สิงหาคม ๒๕๕๒
ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ
..........................................................................................................................................

ในขณะที่การแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวียังคงดำรงอยู่ในสังคมไทย การเสนอทางเลือกในการป้องกันยังคงมีความจำกัดในวงแคบๆ เช่น การส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย ที่มักถูกมอบภาระไปที่ผู้ชาย ความไม่เท่าเทียมทางเพศระหว่างหญิง ชาย หรือคนที่มีความหลากหลายทางเพศ วัฒนธรรม ความเชื่อในเรื่องเพศที่ส่งผลให้เกิดอุปสรรคต่อการป้องกันตนเองของคนในสังคม ยังคงเป็นความท้าทายให้ค้นหาและขุดให้เห็นรากเหง้าของปัญหา ซึ่งปัญหาเชิงความสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่อาจจัดการได้ หรือไม่มีโอกาสสื่อสารเพื่อหาหนทางจัดการกับความสัมพันธ์ทางเพศ การไม่เคารพในสิทธิทางเพศที่คนส่วนใหญ่มักมองข้ามและไม่มีความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว เหล่านี้ล้วนเป็นรากเหง้าของปัญหาที่นำไปสู่ความสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่เท่าเทียมและส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันจนนำไปสู่การติดเชื้อเอชไอวี

การเปิดโอกาสให้คนได้สื่อสารเรื่องเพศและความสัมพันธ์ทางเพศไม่ว่าจะเกิดจากประสบการณ์ตรง การพบเห็น ความเชื่อ เพื่อลดช่องว่างมายาคติในเรื่องเพศที่เป็นรากของปัญหาในเรื่องเอดส์ ถือเป็นแนวทางหนึ่งที่ต้องการเริ่มต้นแก้ไขปัญหาจากจุดเริ่มต้น การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในเรื่องเพศ เช่น การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสื่อสาร การลดอคติที่มีต่อความแตกต่างหลากหลาย การถ่ายทอดข้อมูลข้อเท็จจริงในเรื่องเพศ เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพื้นที่ปลอดภัยในเรื่องเพศ หากเราสามารถก้าวข้ามเรื่องราวเหล่านี้ไปได้ ความท้าทายข้างหน้าคือการสร้างสังคมปลอดภัยในการสื่อสารเรื่องเพศ การสร้างอำนาจของตนเองในทุกเพศสภาพ การลดอำนาจและเท่าทันทัศนะของตนเองในเรื่องเพศ รวมทั้งการคิดวิเคราะห์สภาพสังคม วัฒนธรรมที่โยงใยต่อเรื่องเพศ เพื่อมุ่งสร้างสังคมปลอดภัยเป็นสิ่งที่ต้องการความกล้าหาญที่จะเป็นผู้เริ่มต้น

กิจกรรมสื่อสารสาธารณะ “เทศกาลรณรงค์เปิดพื้นที่ปลอดภัยในเรื่องเพศ” เป็นกิจกรรมริเริ่มภาย ใต้โครงการสื่อสารเรื่องสิทธิทางเพศเพื่อการป้องกันเอดส์ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีและชุมชน โดยมุ่งหวังที่จะเปิดพื้นที่สื่อสารเรื่องเพศจากวงจำกัดสู่สาธารณะ

 

ตารางกิจกรรมสื่อสารสาธารณะ
เทศกาลรณรงค์เรื่องสิทธิทางเพศ : ตอนเปิดพื้นที่ปลอดภัยเรื่องเพศ
๖ - ๗ สิงหาคม ๒๕๕๒
ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ

กำหนดการ
วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๒
เวลา กิจกรรม
๑๖.๐๐-๑๘.๐๐ กิจกรรมรณรงค์วงกว้าง ประเด็นเปิดพื้นที่ปลอดภัยในเรื่องเพศ ในแนวคิด : เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจเรื่องการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี การอยู่ร่วมกัน โดยการกิจกรรมหลากหลาย ได้แก่ ละครเร่ ตอบคำถาม และรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจเรื่องความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี และการป้องกันการติดเชื้อ ณ อุทยานเบญจสิริ
 

วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
๙.๐๐-๙.๓๐ กล่าวเปิดงาน โดย จอน อึ๊งภากรณ์ ที่ปรึกษาเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
- ละครเวที ๑ เรื่อง เรื่องละ ๑๐ นาที
- ชมนิทรรศการ ชมงาน
๙.๓๐-๑๑.๓๐ กิจกรรมห้องย่อย เปิดสำหรับสมาชิกเครือข่าย
1. ความเป็นตัวตนทางเพศของตัวเอง (ทบทวนตัวเอง เห็นความหลากหลาย ลื่นไหล เข้าใจเรื่องรสนิยมทางเพศ)
2. ความสุข-ทุกข์ รื่นรมย์ เรื่องเพศ (วิถีทางเพศ วิถีชีวิต)
3. การบริหารจัดการชีวิตทางเพศของตัวเอง
4. ความคาดหวังต่อวิถีชีวิตทางเพศกับคนทำงาน
5. ความสัมพันธ์ทางเพศที่เกี่ยวข้องกับ “ชีวิตคู่”
6. เพศที่ถูกตีตรา
7. เรียนรู้ตัวเอง ผ่านเพลงรัก
๑๑.๓๐-๑๓.๐๐ พักทานอาหารกลางวัน ลานกิจกรรม
๑๓.๐๐-๑๔.๐๐
อภิปรายเวทีสาธารณะเรื่องเพศในสื่อ*
- ทราย เจริญปุระ นักแสดง/นักเขียน
- รุจน์ โกมลบุตร คณะวารสารศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บัวเรียน บุดดีเคน ตัวแทนจากเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย
- สมวงศ์ อุไรวัฒนา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
- ดำเนินรายการ....ณาตยา แวววีรคุปต์ ไทยพีบีเอส
*บันทึกเทปรายการเวทีสาธารณะ ไทยพีบีเอส
๑๔.๓๐ – ๑๕.๓๐
เวทีวิชาการเปิดทั่วไป “สิทธิทางเพศ สิทธิของทุกคน”
สมหวัง ดีบูชา กรรมการเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย
รัตนาภรณ์ นาคยศ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย ภาคกลาง
เมธี ศรีพุทธา เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย ภาคเหนือบน
ธวัช มณีผ่อง มหาวิทยาลัยอุบลราชธาณี ผู้ดำเนินรายการ
๑๕.๓๐ บรรยากาศลานกิจกรรม

ประกวดนิทรรศการภาพถ่ายในมุมมองที่เราอยากนำเสนอ

- กำแพงศิลปะ (ความเข้าใจเรื่องสิทธิทางเพศ/ความหมายของเพศที่รับผิดชอบ)
- กำแพงความคิดเห็น(ความเข้าใจเรื่องสิทธิทางเพศ/ความหมายของเพศที่รับผิดชอบ)
- ดนตรีจากเพื่อน

วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๒
๘.๓๐-๑๐.๐๐ กิจกรรมห้องย่อย เปิดสำหรับเครือข่าย
1. ความเป็นตัวตนทางเพศของตัวเอง (ทบทวนตัวเอง เห็นความหลากหลาย ลื่นไหล เข้าใจเรื่องรสนิยมทางเพศ)
2. ความสุข-ทุกข์ รื่นรมย์ เรื่องเพศ (วิถีทางเพศ วิถีชีวิต)
3. การบริหารจัดการชีวิตทางเพศของตัวเอง
4. ความคาดหวังต่อวิถีชีวิตทางเพศกับคนทำงาน
5. ความสัมพันธ์ทางเพศที่เกี่ยวข้องกับ “ชีวิตคู่”
6. เพศที่ถูกตีตรา
7. เรียนรู้ตัวเอง ผ่านเพลงรัก
๑๐.๐๐-๑๒.๐๐ “สิทธิทางเพศ สิทธิมนุษยชน”
อะไรคือความหลากหลายที่ต้องได้รับความเสมอภาคและเคารพเรื่องเพศ
รศ.ดร. กฤตยา อาชวนิชกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ พักทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐-๑๓.๓๐ บรรยากาศลานกิจกรรม
- ประกาศผลนิทรรศการภาพถ่าย
๑๓.๓๐-๑๔.๓๐ พิธีประกาศ พื้นที่สาธารณะเพื่อคุ้มครองสิทธิทางเพศ ....จุดเริ่มต้นเพื่อความเสมอภาค
• แจกจิ๊กซอให้ผู้เข้าร่วมได้ออกมาช่วยกันต่อตามลำดับ
• พิธีกรอธิบายความหมายของจิ๊กซอ
• ปล่อยธงปณิธานร่วมกัน (มีแสงสี/หรือเสียง)
• มองธงให้แต่ละภาคและภาคีที่เข้าร่วม (คำในธง 10 คำ)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท