Skip to main content
sharethis
Event Date

 เสวนา “รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 : ต่อประเด็นปัญหาที่ควรแก้ไข”  

วันที่ 4 ตุลาคม 2553 เวลา 13.00-17.00 น 
ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานกิจการสตรี และสถาบันครอบครัว (บ้านราชวิถี)
 
 
สืบเนื่องมาจากการนำเสนอประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มี ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธาน 6 ประเด็น ประกอบด้วย (1) การทำหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา (มาตรา 190)  (2) การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 265) (3) การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา (มาตรา 266) (4) ที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 93 ถึงมาตรา 98) (5) ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (มาตรา 111 ถึงมาตรา 121) และ (6) การยุบพรรคการเมือง
 
ทางเครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย   จะจัดให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิกต่อประเด็น แก้ไข 6 ประเด็นดังกล่าวและร่วมกันระดมสมองนำเสนอประเด็นที่ควรมีการพิจารณาแก้ไขใน ประเด็นอื่นๆ ด้วย อาทิเช่น ประเด็นระบบการเลือกตั้ง การกำหนดสัดส่วนหญิงชายเพื่อสร้างหลักประกันการมีส่วนร่วมของผู้หญิงทางการ เมือง และการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในระดันโยบายสาธารณะต่างๆ ประเด็นเรื่องการส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคทางเพศ และการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเพศ เป็นต้น  ทั้งนี้เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้จากการเสวนานำเสนอต่อ สาธารณะและต่อคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไข รัฐธรรมนูญที่มี ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธาน เพื่อรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
 
เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย จึงขอเรียนเชิญสมาชิกเครือข่ายฯ ทุกท่านได้สละเวลามาร่วมงานเสวนา “รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 : มุมมองผู้หญิงต่อประเด็นปัญหาที่ควรแก้ไข”  วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม 2553 เวลา 13.00-17.00 น ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (บ้านราชวิถี)
 
ประเด็นสำคัญๆ ในการเสวนา และผู้นำเสนอสาระสำคัญๆ เพื่อการเสวนา ประกอบด้วย
 
 พิจารณาประเด็นการแก้ไขของคณะกรรมการชุด ดร. สมบัติ
1. การทำหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา (มาตรา 190)
2. การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 265)
3. การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (มาตรา 266)
4. ที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 93 ถึงมาตรา 98)
5. ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (มาตรา 111 ถึงมาตรา 121) และ
6. การยุบพรรคการเมือง
พิจารณาประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติม
1. ระบบการเลือกตั้งที่เอื้อต่อการลงสมัครของผู้หญิง (มาตรา 93 ถึงมาตรา 98) นำเสนอโดยเรืองรวี เกตุผล พิชัยกุล
2. ร่าง พ.ร.บ.การเข้าชื่อเสนอกฎหมายหมื่นชื่อ          (มาตรา 163) นำเสนอโดย สารี อ๋องสมหวัง
3. การสร้างหลักประกันการส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคทางเพศ นำเสนอโดย อุษา เลิศศรีสันทัด
4. ระบบสัดส่วน และการผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.อบต.  นำเสนอโดย ดร.สุธีรา วิจิตรานนท์ 
5. เรื่องมาตรการพิเศษชั่วคราว - การผลักดันให้มีการออกกฎหมายรองรับวรรคท้ายของม 30 นี้ด้วย (ม 30 วรรคท้าย) นำเสนอโดย รศ. วิระดา สมสวัสดิ์*
ดำเนินการเสวนาโดย คุณสุนีย์ ไชยรส*
 
 * (รอการตอบรับ)
             
 
 
หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผู้ประสาน งานเครือข่ายฯ สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล Cell: 081 809 5401 email:  sutada.mod@gmail.com
 
ยืนยันการเข้าร่วมงานเสวนาที่ คุณมนัสนันท์ เกิดวร Cell: 087 715 8429 ภายในวันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม 2553  
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net