Skip to main content
sharethis
Event Date

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2554 เวลา 16.30น.-22.30น. แกลเลอรี่เวอร์, เลขที่ 194 ถนนตะนาว เขตพระนคร กรุงเทพฯ องค์การ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ร่วมกับ Playing Arts Exhibition, สถาบันต้นกล้า และ BAN the Hollywood CLUB จัดกิจกรรม Playing Rights not War ขึ้น เพื่อปลูกฝังความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม และทักษะที่สำคัญในการเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยมีการนำเอาวิธีการต่างๆ มาใช้ในงานสิทธิมนุษยชนศึกษาหรือ Human Rights Education (HRE) Playing Rights not War เป็นการเชื่อมโยงกิจกรรมด้านศิลปะ สิทธิมนุษยชน และปฏิบัติการทางสังคมไว้ด้วยกัน เพื่อนำประเด็นทางด้านสิทธิมนุษยชนและสังคม มาเป็นเครื่องมือในการทำงานทางสุนทรียศาสตร์ และทดลองเครื่องมือปฏิบัติการทางสังคม รวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านสื่อภาพยนตร์ สถานการณ์ทางสิทธิมนุษยชนและสังคม ทั้งนี้ตัวกิจกรรมยังเป็นการแสดงออกถึงการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนพื้นฐานที่นานาอารยประเทศมี นั่นคือ เสรีภาพทั้งสามประการ อันได้แก่ เสรีภาพในด้านการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการรวมตัวและเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบและสันติ สถานที่ แกลเลอรี่เว่อร์ 194 ถนนตะนาว แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ / www.verver.info (แยกคอกวัวตรงข้ามร้านหนังสือก็องดิด) กำหนดการ 16.30 น. ลงทะเบียน 17.00 น. Playing Stencil Graffiti โดย กิตติชัย งามชัยพิศิษฐ์ ผู้อำนวยการสถาบันต้นกล้า 18.30 น. ชมภาพยนตร์ The Tin Drum 21.00 น. Playing Collage with Panu Boonpipattanapong 21.20 น. เสวนา Playing Rights not War กับ วิจักขณ์ พานิช นักสันติวิธีที่มิได้อยู่แต่ในบ้าน และ วันรัก สุวรรณวัฒนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการโดยภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ นักเขียนอิสระ 22.30 น. แยกย้ายตามอัธยาศัย รายละเอียดภาพยนตร์พอสังเขป The Tin Drum สร้างจากนวนิยายแนว Magical Realism ของ Gunter Grass เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมชาวเยอรมัน เล่าเรื่องของ Oskar ที่หลังจากประสบอุบัติเหตุเมื่อวันเกิดอายุ 3 ขวบแล้วก็ไม่ยอมโตอีกเลย หนังเล่าสภาพบ้านเมืองในช่วงสงครามโลกของเยอรมนีผ่านสายตาของ Oskar ผู้ไม่ยอมพรากจากกลองสังกะสี หรือ The Tin Drum เลย The Tin Drum ได้รับรางวัลจากหลายเวที รวมทั้งภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่เทศกาลภาพยนตร์หนังเมืองคานส์ ปี 1979 และรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม ปี 1980 ด้วย ทศวรรษ 1990 ตัวภาพยนตร์กลายเป็นศูนย์กลางแห่งการถกเถียงเรื่องการเซ็นเซอร์ และบางแห่งในอเมริกาได้มีการยึดวีดิโอเทปภาพยนตร์ เพราะเนื้อหามีภาพการมีเพศสัมพันธ์ของเด็ก หมายเหตุ กิจกรรมไม่เก็บค่าใช้จ่าย และมีอาหารว่างเครื่องดื่มบริการ สำรองที่นั่งและสอบถามรายละเอียดได้ที่ membership@amnesty.or.th หรือ โทร: 02-513-8745 เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ Playing Arts และกิจกรรม เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/event.php?eid=197599096918144 เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Stencil Graffiti ได้ที่นี่ http://en.wikipedia.org/wiki/Stencil_graffiti ภาพยนตร์ The Tin Drum http://homepage.mac.com/vanvdo/t/tin-drum.htm และเกี่ยวกับนวนิยาย http://en.wikipedia.org/wiki/The_Tin_Drum

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net