Skip to main content
sharethis
Event Date

โครงการสัมมนาสาธารณะ ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและต่อต้านการทรมานฯ รูปธรรมของทางออกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทรมานในสังคมไทย วันที่ 23 มิถุนายน เวลา 9:00 น. - 16:30 น.ห้อง 222 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) กรุงเทพฯ อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี มีผลบังคับใช้ในประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นผลให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญานี้ และนำมาตรการในทางกฎหมาย ตลอดจนสามารถนำเครื่องมือต่างๆ ที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาฯ มาใช้ในการแก้ไขปัญหาการทรมานที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาสถานการณ์การทรมานในสังคมไทยยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเหยื่อผู้ถูกทรมาน ญาติพี่น้องของผู้ถูกทรมาน ตลอดจนระบบกระบวนการยุติธรรม ซึ่งได้รับความเสียหายและเสื่อมประสิทธิภาพจากการทรมานของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล คำรับสารภาพต่างๆ หรือเพื่อการเลือกปฏิบัติหรือการลงโทษที่ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และปัญหาดังกล่าวจะยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากยังไม่มีการตรากฎหมายเฉพะขึ้นมาเพื่อป้องกันและแก้ไข เพราะประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีข้อจำกัดทั้งในแง่เนื้อหาและกระบวนการขั้นตอนในการสืบสวนสอบสวน มาตรการคุ้มครองและป้องกันการทรมาน ตลอดจนการเยียวยาผู้เสียหายและการลงโทษเจ้าหน้าที่ผู้กระทำความผิด เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) และมูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้ร่วมกันศึกษาทางออกที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาการทรมาน โดยการร่างพ.ร.บ.ป้องกันและต่อต้านการทรมานขึ้นเพื่อนำเสนอต่อภาคประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตราเป็นพระราชบัญญัติป้องกันและต่อต้านการทรมานต่อไป ที่ผ่านมาได้มีการจัดสัมมนาวิชาการและจัดการประชุมกลุ่มย่อยระดมความเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งจากผู้ได้รับผลกระทบ นักวิชาการ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน จนกระทั่งได้เป็นร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็นป้องกันและต่อต้านการทรมานสากล เพื่อช่วยเหลือเหยื่อที่ถูกกระทำทรมาน ที่ประกาศโดยองค์การสหประชาชาติซึ่งองค์กรสิทธิมนุษยชนทั่วโลกจะร่วมกันเรียกร้องให้รัฐบาลยุติและขจัดการกระทำทรมาน และการปฏิบัติหรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ วัตถุประสงค์ 1. นำเสนอสภาพปัญหาของการทรมานสู่สาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นและร่วมกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาการทรมานในสังคมไทย 2. เผยแพร่สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติป้องกันและต่อต้านการทรมานต่อสาธารณะอันจะนำไปสู่การรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายของภาคประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป กลุ่มเป้าหมาย 50-60 คน 1. ตัวแทนญาติหรือเหยื่อผู้ได้รับผลกระทบจากการทรมาน 2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการทรมานทั้งภาครัฐและเอกชน 3. นักวิชาการและประชาชนผู้สนใจทั่วไป กำหนดการ 8.30-9.00 น. กล่าวเปิดและชี้แจงวัตถุประสงค์ในการสัมมนา โดย นายวสันต์ พานิช ที่ปรึกษาเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษชน 9.00-9.30 น. ปัญหาจากการทรมานมุมมองจากผู้ได้รับผลกระทบ โดย นางพิกุล พรหมจันทร์ ตัวแทนเครือข่ายญาติผู้เสียชีวิตและสูญหายในจังหวัดกาฬสินธุ์ 9.30-10.15 น. นำเสนอรายงานการศึกษาสภาพปัญหาของการทรมา โดย นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม 10.15-10.30 น. อาหารว่าง 10.30-11.00 น. ผลกระทบทางจิตใจจากการทรมาน โดย Mr. James Lin ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย จาก American Bar Association (ABA) 11.00-11.45 น. สรุปสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการทรมาน โดย รศ.ณรงค์ ใจหาญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 11.45-12.30 น. ซักถามแลกเปลี่ยน ดำเนินรายการโดย พิธีกรจากสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส* 12.30-13.30 น. อาหารกลางวัน 13.30-14.00 น. นำเสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและต่อต้านการทรมาน พ.ศ.... โดย นางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ ผู้ประสานงานฝ่ายวิชาการเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน 14.00-15.30 น. ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมและแนวทางการดำเนินการต่อร่างพระราชบัญญัติป้องกันและต่อต้าน การทรมาน พ.ศ.... โดย นายวันชัย รุจนวงศ์ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานต่างประเทศ รศ.ดร.ประธาน วัฒนวาณิชย์ อาจารย์พิเศษประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายสมชาย หอมลออ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม 15.30-16.15 น. ซักถามแลกเปลี่ยน 16.15-16.30 สรุปการสัมมนาและกล่าวปิด โดย นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ดำเนินรายการโดย นางสาวปรีดา ทองชุมนุม มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net