Skip to main content
sharethis
Event Date

การสัมมนา เรื่อง “การออกแบบ ก่อสร้างและเสริมความมั่นคงอาคารบ้านเรือนในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว”
โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ สภาวิศวกร
วันพุธที่ 30 มีนาคม 2559 เวลา 08.30 - 16.00 น.
ณ ห้องเทวกรรมรังรักษ์ หอประชุมกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต

หลักการและเหตุผล
สืบเนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ที่อำเภอพาน และอำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่อาคารสถานที่ ทั้งโบราณสถาน สถานที่ราชการ เส้นทางคมนาคม และบ้านเรือนของประชาชนนับ 10,000 แห่งในพื้นที่ที่รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือน โดยมีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด 7 จังหวัด นับว่าเป็นธรณีพิบัติที่รุนแรงมากที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประเทศไทย อย่างไรก็ตามแผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้ หลายจังหวัดในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย รวมทั้งภาคตะวันตก เช่น กาญจนบุรี ตลอดจนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จัดว่าเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวในระดับปานกลาง ดังนั้นโครงสร้างอาคารบ้านเรือนที่ก่อสร้างในพื้นที่เสียงแผ่นดินไหวจึงจำเป็นต้องออกแบบให้รองรับแผ่นดินไหว

ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีโครงสร้างอาคารต้านทานแผ่นดินไหวดังกล่าว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้ร่วมกับสภาวิศวกร จัดการสัมมนาเรื่อง “การออกแบบ ก่อสร้างและเสริมความมั่นคงอาคารบ้านเรือนในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว” ขึ้น ในวันพุธที่ 30 มีนาคม 2557 เวลา 08.30-16.00 น. ณ หอประชุมกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อเผยแพร่ความรู้ในเรื่องดังกล่าวให้แก่วิศวกรทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในโครงการเผยแพร่ความรู้งานวิจัยเรื่อง “การออกแบบ ก่อสร้างและเสริมความมั่นคงอาคารบ้านเรือนต้านแผ่นดินไหวสู่วิศวกรและชุมชนในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว” ภายใต้การสนับสนุนของ สกว. โดยคาดว่าผลที่จะได้รับจากการสัมมนาครั้งนี้จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการนำความรู้ที่ได้จากการสัมมนาได้ ไปใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างอาคารและบ้านเรือนเพื่อให้ต้านแผ่นดินไหวได้ อันจะนำไปสู่การลดความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยภายใต้การสนับสนุนของ สกว. และขยายผลสู่การใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะแก่วิศวกรทั้งภาครัฐและเอกชน สู่มาตรฐานการออกแบบและก่อสร้างอาคารบ้านเรือนเพื่อรองรับแผ่นดินไหว
2. เพื่อนำเสนอบทเรียนในการเตรียมพร้อมด้านวิศวกรรมโครงสร้างของประเทศไทยแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาคนโยบายต่อไป

กำหนดการ

08.30-09.00 น.   ลงทะเบียน (ผู้เข้าร่วมสัมมนา/สื่อมวลชน)
09.00-09.10 น.   วีดิทัศน์ แสดงความเป็นมาของโครงการ
09.10-09.20 น.  กล่าวรายงาน
   โดย  ศ. ดร.อมร พิมานมาศ หัวหน้าโครงการ
กล่าวเปิดการสัมมนา
โดย รศ. ดร.จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ  รองผู้อำนวยการ สกว.ด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ดร.กมล ตรรกบุตร  นายกสภาวิศวกร
09.20-10.00 น.  เปิดตัวอินโฟกราฟิกเสริมกำลังต้านแผ่นดินไหว 8 วิธี
ผู้บริหารและคณะนักวิจัยถ่ายภาพ และให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน
10.00-11.00 น.  บรรยายพิเศษ “สถานการณ์ความเสี่ยงแผ่นดินไหวในประเทศไทย”
โดย      ศ. ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย       หัวหน้าโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย สกว.
11.00-12.00 น. บทเรียนจากแผ่นดินไหวแม่ลาว เนปาลและไต้หวัน สู่การเตรียมความพร้อมรับมือด้านวิศวกรรมโครงสร้างของประเทศไทย
   โดย ศ. ดร.อมร พิมานมาศ หัวหน้าโครงการ
12:00-13:00 น.  รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.20 น. แนวทางการออกแบบและก่อสร้างอาคารใหม่เพื่อต้านแผ่นดินไหว
โดย ผศ. ดร.ปรีดา ไชยมหาวัน นักวิจัยโครงการ
14.20-14.40 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.40-16.00 น. แนวทางการประเมินความเสี่ยงอาคารเก่า และการเสริมกำลังอาคารเก่าเพื่อต้านแผ่นดินไหว
   โดย ดร.ภาณุวัฒน์ จ้อยกลัด นักวิจัยโครงการ

 


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
นิธิปรียา จันทวงษ์
เจ้าหน้าที่สื่อสารสังคม สกว.
0 2278 8200 ต่อ 8304, e-mail: nithipreeya@trf.or.th
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net