Skip to main content
sharethis
Event Date

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง

ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรปผ่านนโยบายการค้าและการพัฒนา: กรณีศึกษาประเด็นความอยู่ดีมีสุข

วัน-เวลา: วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 13.30-15.30 น.
สถานที่: ห้องประชุม DIPAK C.JAIN   อาคารศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดาวน์โหลดแบบตอบรับและแผนที่ https://goo.gl/FrHIft

00000

อะไรคือสิ่งที่มนุษย์แสวงหามาตั้งแต่โบราณกาล? เป้าหมายสูงสุดในชีวิตคืออะไร? สิ่งใดสามารถเติมเต็มคุณค่าของมนุษย์? ใช่ความสุขหรือไม่? คำถามหลาย ๆ ข้อในแนวทางนี้เป็นที่คุ้นเคยและนำไปสู่ข้อถกเถียงในวงกว้าง ทั้งในระดับปัจเจก ชุมชน องค์กร สังคม ประเทศ ภูมิภาคและโลก เป็นที่น่าสนใจว่าเรื่องของความสุขนั้น บุคคลแรก ๆ ในประวัติศาสตร์โลกที่ได้ตั้งคำถามและพยายามค้นหาคำตอบอย่างมีหลักฐานก็คือ อริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาเมธีชาวกรีก โดยอริสโตเติลได้ทำการค้นคว้าและเขียนเนื้อหาในประเด็นนี้ตามแนวคิดที่มีชื่อว่า Eudaimonia นั่นหมายความว่า มนุษย์ได้ตั้งคำถามและพยายามแสวงหาคำตอบมาอย่างน้อยก็มากกว่าสองพันปีมาแล้ว

จากแนวคิดดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการรับรู้ การแสวงหาคำตอบต่อคำถามดังกล่าวเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นที่น่าสนใจว่าแนวคิดดังกล่าวมีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์และการตัดสินใจในระดับโลกและ        ภูมิภาคด้วย   จากการรวมตัวตามแนวคิดที่เรียกว่าภูมิภาคนิยม โดยมีผู้เล่นที่มีบทบาทในระดับโลกอย่างสหภาพยุโรป (European Union)  และระดับภูมิภาคอย่างประชาคมอาเซียน (ASEAN) ที่ต่างก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาเพื่อรวมกลุ่มของประเทศสมาชิกในภูมิภาค การรวมตัวให้เป็นหนึ่งเดียวกันของประเทศสมาชิกต่าง ๆ เหล่านี้ต้องมีเป้าหมายร่วมกัน ก็ได้นำแนวคิดเรื่องความอยู่ดีมีสุขหรือ Well-being มาระบุในเป้าหมายของการรวมตัวในระดับภูมิภาคด้วย ทางด้านสหภาพยุโรปนั้น ตามเป้าหมายของสนธิสัญญาลิสบอน (Article 3, Treaty of Lisbon) ได้ระบุไว้ว่า “The Union’s aim is to promote peace, its values and the well-being of its peoples.” ส่วนอาเซียนก็มีกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ที่มีเป้าหมายมุ่งสร้างความเป็นประชาคมและความแข็งแกร่งให้กับความอยู่ดีกินดีสำหรับพลเมืองอาเซียน ก็ระบุไว้อย่างชัดเจนใน   Article 1 ของกฎบัตรอาเซียนว่า “To enhance the well-being and livelihood of the peoples of ASEAN by providing them with equitable access to opportunities for human development, social welfare and justice.”

จากแนวคิดและหลักการดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ทั้งสองภูมิภาคมีเป้าหมายเดียวกันที่จะสร้างความอยู่ดีมีสุข ความอยู่ดีกินดีให้กับพลเมืองของตนเอง แต่ด้วยนโยบายใด และเครื่องมือใดนั้น ขึ้นอยู่กับประชาชนพลเมือง วัฒนธรรม ประเพณี ความเชี่ยวชาญ และความเหมาะสมในบริบทของแต่ละภูมิภาค

อะไรคือสิ่งที่มนุษย์แสวงหามาตั้งแต่โบราณกาล? เป้าหมายสูงสุดในชีวิตคืออะไร? สิ่งใดสามารถเติมเต็มคุณค่าของมนุษย์? ใช่ความสุขหรือไม่? คำถามหลาย ๆ ข้อในแนวทางนี้เป็นที่คุ้นเคยและนำไปสู่ข้อถกเถียงในวงกว้าง ทั้งในระดับปัจเจก ชุมชน องค์กร สังคม ประเทศ ภูมิภาคและโลก เป็นที่น่าสนใจว่าเรื่องของความสุขนั้น บุคคลแรก ๆ ในประวัติศาสตร์โลกที่ได้ตั้งคำถามและพยายามค้นหาคำตอบอย่างมีหลักฐานก็คือ อริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาเมธีชาวกรีก โดยอริสโตเติลได้ทำการค้นคว้าและเขียนเนื้อหาในประเด็นนี้ตามแนวคิดที่มีชื่อว่า Eudaimonia นั่นหมายความว่า มนุษย์ได้ตั้งคำถามและพยายามแสวงหาคำตอบมาอย่างน้อยก็มากกว่าสองพันปีมาแล้ว

จากแนวคิดดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการรับรู้ การแสวงหาคำตอบต่อคำถามดังกล่าวเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นที่น่าสนใจว่าแนวคิดดังกล่าวมีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์และการตัดสินใจในระดับโลกและ        ภูมิภาคด้วย   จากการรวมตัวตามแนวคิดที่เรียกว่าภูมิภาคนิยม โดยมีผู้เล่นที่มีบทบาทในระดับโลกอย่างสหภาพยุโรป (European Union)  และระดับภูมิภาคอย่างประชาคมอาเซียน (ASEAN) ที่ต่างก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาเพื่อรวมกลุ่มของประเทศสมาชิกในภูมิภาค การรวมตัวให้เป็นหนึ่งเดียวกันของประเทศสมาชิกต่าง ๆ เหล่านี้ต้องมีเป้าหมายร่วมกัน ก็ได้นำแนวคิดเรื่องความอยู่ดีมีสุขหรือ Well-being มาระบุในเป้าหมายของการรวมตัวในระดับภูมิภาคด้วย ทางด้านสหภาพยุโรปนั้น ตามเป้าหมายของสนธิสัญญาลิสบอน (Article 3, Treaty of Lisbon) ได้ระบุไว้ว่า “The Union’s aim is to promote peace, its values and the well-being of its peoples.” ส่วนอาเซียนก็มีกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ที่มีเป้าหมายมุ่งสร้างความเป็นประชาคมและความแข็งแกร่งให้กับความอยู่ดีกินดีสำหรับพลเมืองอาเซียน ก็ระบุไว้อย่างชัดเจนใน   Article 1 ของกฎบัตรอาเซียนว่า “To enhance the well-being and livelihood of the peoples of ASEAN by providing them with equitable access to opportunities for human development, social welfare and justice.”

จากแนวคิดและหลักการดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ทั้งสองภูมิภาคมีเป้าหมายเดียวกันที่จะสร้างความอยู่ดีมีสุข ความอยู่ดีกินดีให้กับพลเมืองของตนเอง แต่ด้วยนโยบายใด และเครื่องมือใดนั้น ขึ้นอยู่กับประชาชนพลเมือง วัฒนธรรม ประเพณี ความเชี่ยวชาญ และความเหมาะสมในบริบทของแต่ละภูมิภาค

งานวิจัยชิ้นนี้ จึงพยายามศึกษาให้เห็นถึงเป้าหมายของสถาปัตยกรรมความสัมพันธ์ในระดับภูมิภาคที่มุ่งให้พลเมืองมีความอยู่ดีกินดี อยู่ดีมีสุข ตลอดจนประโยชน์จากความร่วมมือในระดับภูมิภาคจากนโยบายการค้าและการพัฒนาของสหภาพยุโรปที่มีต่ออาเซียนและต่อแนวคิดความอยู่ดีกินดี อยู่ดีมีสุขหรือ Well-being โดยปัจจัยพื้นฐานสามด้านที่สามารถสร้างความยั่งยืนให้กับความอยู่ดีมีสุขได้ก็คือการศึกษา สุขภาพ และการจ้างงาน ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับภูมิภาคเพื่อความเจริญอย่างยั่งยืนให้แก่พลเมืองไม่ว่าจะในสหภาพยุโรปหรืออาเซียน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net