Skip to main content
sharethis
Event Date

วันพุธที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.  ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร อาคารอเนกประสงค์ ๑ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ จัดโดย เครือข่ายภาคประชาสังคมผู้หญิง เด็กเยาวชนและครอบครัว และ โครงการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานของรัฐตามกลไก UPR CEDAW SDGs ร่วมกับ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนับสนุนโดย มูลนิธิมานุษยะ Thai CSO Coalition for the UPR  สถานทูตอังกฤษ สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

<--break- />

๒๒พฤศจิกายน |

 

๙.๐๐– ๙.๓๐

ลงทะเบียนต้อนรับด้วยชากาแฟและอาหารว่าง

๙.๓๐ –๙.๕๐

กล่าวเปิด: ศาสตราจารย์ ดร. โกวิทย์ พวงงาม
คณบดี คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

และผู้แทนเครือข่ายองค์กรร่วมจัดงานชี้แจงวัตถุประสงค์

๙.๕๐ – ๑๐.๐๐

ชมวีดีทัศน์ ไทยแลนด์ ๔.๐

๑๐.๐๐ –๑๐.๔๕

ปาฐกถา    มิติทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศสู่ไทยแลนด์ ๔.๐

      โดย    ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ*

ถาม-ตอบ

๑๐.๔๕– ๑๒.๔๕

ความมั่นคงของผู้หญิง เด็ก เยาวชนและครอบครัว สถานการณ์กับการดำเนินงานของรัฐ

·         ศิริพร สะโครบาเนค  ประธานมูลนิธิผู้หญิง

·         เรืองรวี พิชัยกุล  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยบทบาทหญิงชาย (GDRI)

·         กอบกาญจน์  ตระกูลวารี  หัวหน้าฝ่ายพัฒนาบุคลากรและเครือข่ายสหทัยมูลนิธิ

·         ผู้แทนกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว*

·         ผู้แทนกรมกิจการเด็กและเยาวชน*

ดำเนินรายการโดย อุษา เลิศศรีสันทัด มูลนิธิผู้หญิง

เปิดเวทีแลกเปลี่ยน

๑๒.๔๕– ๑๓.๓๐

รับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๓๐– ๑๕.๓๐

การแบ่งกลุ่มอภิปราย “ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเครือข่ายภาคประชาสังคมด้านผู้หญิง เด็ก เยาวชน และครอบครัว สู่ไทยแลนด์ 4.0”การนำเสนอและเปิดเวทีแลกเปลี่ยน

ดำเนินรายการโดย

·        สุพัตรา  ภู่ธนานุสรณ์   กรรมการมูลนิธิผู้หญิง

·        ดร. ปิ่นหทัย หนูนวล   คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

๑๕.๓๐– ๑๖.๐๐

นำเสนอการอภิปรายกลุ่มย่อย

สรุปและปิดการสัมมนา

 

 

หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลกำลังดำเนินการปฏิรูปประเทศตามกรอบวิสัยทัศน์เชิงนโยบาย “ไทยแลนด์ ๔.๐” เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของประเทศให้พ้นจากประเทศระดับรายได้ปานกลาง พ้นจากความเหลื่อมล้ำ และการพัฒนาที่ไม่สมดุล โดยเน้นการเปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมหรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลเครือข่ายภาคประชาสังคมด้านผู้หญิง เด็ก  เยาวชน และครอบครัว ตระหนักถึงสถานการณ์ทางสังคมที่ทวีความรุนแรงในปัจจุบันและความสำคัญของการปฏิรูปประเทศที่มีความสมดุลตามแนวทางความมั่นคงของมนุษย์ที่ครอบคลุมถึงการคุ้มครองให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตที่มีเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยปราศจากความขาดแคลนความหิวโหย และความหวาดกลัว สามารถอยู่รอด และดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี รวมถึงความจำเป็นในการเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภัยพิบัติ การค้ามนุษย์ โรคระบาด การก่อการร้าย ความถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยระดับบุคคล การเสริมสร้างพลัง ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนสู่กรอบความมั่นคงที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาและสิทธิมนุษยชน

ทั้งนี้ประเทศไทยได้ให้คำมั่นอย่างแข็งขันต่อประชาคมโลกในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยรับที่จะนำข้อเสนอแนะของประเทศต่างๆ ที่ได้รับจากการไปรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ตามวาระ ครั้งที่สอง (Universal Periodic Review -UPR) ของรัฐบาลไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๙และในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ประเทศไทยได้รับรองอย่างแข็งขันที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) นอกจากนี้ยังต้องปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๐ คณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ  ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลไทยในการให้ความคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงและเด็กผู้หญิงในหลากหลายมิติ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ ๕ เพื่อบรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคนและเป้าหมายที่ ๔ เพื่อสร้างหลักประกันให้การศึกษามีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและครอบคลุม

เครือข่ายภาคประชาสังคมผู้หญิง เด็ก เยาวชนและครอบครัวและ โครงการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานของรัฐตามกลไก UPR CEDAW SDGs จึงได้ร่วมกับ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดเวทีสัมมนาเรื่อง ความมั่นคงของผู้หญิง เด็ก เยาวชนและครอบครัว อยู่ตรงไหนในการปฏิรูปสู่ไทยแลนด์ ๔.๐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรวบรวมข้อเสนอแนะต่อการปฏิรูปประเทศโดยให้มีการบูรณาการข้อเสนอแนะจากระดับสากล ตลอดจนตระหนักถึงความจำเป็นที่เครือข่ายภาคประชาสังคมจะแสวงหายุทธศาสตร์ร่วมกันในการขับเคลื่อนเพื่อความมั่นคงของผู้หญิง เด็ก เยาวชนและครอบครัวที่เท่าทันต่อสถานการณ์เศรษฐกิจสังคมในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์

๑.  เพื่อแลกเปลี่ยนและระดมความคิดเห็นต่อการส่งเสริมความมั่นคงของผู้หญิง เด็ก เยาวชนและครอบครัว  ในการปฏิรูปประเทศสู่ไทยแลนด์ ๔.๐โดยให้มีการบูรณาการและนำข้อเสนอแนะจากระดับสากลสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง

๒. เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกันของเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนบูรณาการการทำงานเพื่อความมั่นคงของผู้หญิง เด็ก เยาวชนและครอบครัว ที่เท่าทันต่อสถานการณ์เศรษฐกิจสังคมในปัจจุบัน

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net