ทีดีอาร์ไอชวนฟังสัมมนา “เชื่อมโยงประกันสังคมอาเซียน เพื่อเข้าถึงการคุ้มครองที่มั่นคง” 29 เม.ย.นี้ (ฟรี)

Event Date: 
Monday, 29 April, 2019 - 09:00
ตามที่ สำนักงานประกันสังคมได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำการเคลื่อนย้ายและคงสิทธิประโยชน์ประกันสังคมในอาเซียน  และกำหนดจัดเวทีสัมมนา “เชื่อมโยงประกันสังคมอาเซียน เพื่อเข้าถึงการคุ้มครองที่มั่นคง” เพื่อนำเสนอกรอบนโยบายและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการเชื่อมโยงระบบประกันสังคมในประเทศสมาชิกอาเซียน และให้ภาคส่วนต่างๆได้ให้ข้อคิดเห็น ข้อมูล และอภิปราย โดยกำหนดจัดขึ้นในวันวันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2562 เวลา 09.00 – 12.00 น.ณ ห้อง Ballroom 2 ชั้น 3  โรมแรม ดิ เอมเมอรัลด์ (The Emerald Hotel) รัชดาภิเษก  เชิยผู้สนใจลงทะเบียนร่วมงาน(ฟรี) ที่ https://bit.ly/2UtihL2  ตั้งแต่วันนี้ – ศุกร์ที่ 26 เมษายน 2562 (** ที่นั่งมีจำนวนจำกัด และสงวนสิทธิการเข้าร่วม เฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนล่วงหน้าเท่านั้น **)สอบถามเพิ่มเติมที่ 02-718-5460 ต่อ 380 หรือ 095-530-1441 (คุณ วิสาร์กร)
 
ข้อมูลเพิ่มเติม :

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (Associationof SoutheastAsianNations–ASEAN) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดยอาเซียนได้ร่วมกันจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนขึ้นในปลายปี 2558 เพื่อส่งเสริมการรวมตัวกันทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยในปี พ.ศ. 2560 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติประมาณ 9.8 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.5 ของจำนวนประชากรในภูมิภาคทั้งหมด การเคลื่อนย้ายแรงงานในอาเซียนถูกขับเคลื่อนโดยหลายปัจจัย เช่น ความแตกต่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โครงสร้างประชากร อัตราการว่างงาน และอัตราค่าจ้างในประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ

พิมพ์เขียวประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2025 กำหนดเป้าหมายการเป็นประชาคมที่มีความครอบคลุมประชาชนทุกคนรวมถึงแรงงานข้ามชาติ โดยหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การสนับสนุนประเทศสมาชิกให้ขยายบริการทางสังคมและความคุ้มครองทางสังคม โดยคำนึงถึงความคุ้มครอง (coverage) การเข้าถึงได้ (accessibility) ความพร้อมในการให้บริการ (availability) ความครอบคลุม (comprehensiveness) คุณภาพ (quality) ความเท่าเทียม (equality) ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจและความยั่งยืน (affordability and sustainability) เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและไปสู่เป้าหมายพิมพ์เขียว การเคลื่อนย้ายและคงสิทธิประโยชน์ประกันสังคม (portability of social security rights) หรือการสร้างกลไกเชื่อมประสานระบบประกันสังคมของแต่ละประเทศจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก

การเคลื่อนย้ายและคงสิทธิประโยชน์ประกันสังคม หมายถึง ความสามารถที่จะคงไว้ รักษา และเคลื่อนย้ายถ่ายโอนสิทธิประกันสังคมที่ต้องได้รับ หรือสิทธิที่อยู่ในกระบวนการที่จะต้องได้รับ โดยไม่ขึ้นอยู่กับสัญชาติ และประเทศที่มีถิ่นพำนัก ทำให้แรงงานข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเป็นผู้ประกันตน และสามารถเข้าถึงความคุ้มครองที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ สามารถได้รับบำนาญมากขึ้นด้วยการนับระยะเวลาประกันตนต่อเนื่องในหลายประเทศ และสามารถรับประโยชน์ทดแทนข้ามประเทศ เป็นต้น

การสร้างกลไกเชื่อมประสานระบบประกันสังคมเพื่อดำเนินการเคลื่อนย้ายและคงสิทธิประกันสังคม สามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่เป็นที่ยอมรับว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ ข้อตกลงว่าด้วยการประกันสังคม (SocialSecurity Agreement - SSA) ระหว่างประเทศต้นทางและประเทศปลายทาง อันเป็นความตกลงที่มีวัตถุประสงค์ในการลดหรือขจัดอุปสรรคที่ทำให้แรงงานข้ามชาติเข้าไม่ถึงสิทธิประโยชน์ประกันสังคม อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน ในบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ มีเพียงประเทศฟิลิปปินส์เท่านั้นที่มีข้อตกลงดังกล่าวกับประเทศอื่น ซึ่งมักเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่แรงงานฟิลิปปินส์เดินทางเข้าไปทำงานจำนวนมาก

สำหรับภูมิภาคที่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศภายในภูมิภาคที่สูงอย่างอาเซียน การจัดทำ SSA เพื่อเคลื่อนย้ายและคงสิทธิประกันสังคมภายในภูมิภาคอาเซียนน่าจะสามารถช่วยสนับสนุนการเป็นประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็งขึ้น สำนักงานประกันสังคมได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำการเคลื่อนย้ายและคงสิทธิประโยชน์ประกันสังคมในอาเซียน และจึงได้จัดเวทีสัมมนาวิพากษ์ผลงานเพื่อนำเสนอกรอบนโยบายและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการเชื่อมโยงระบบประกันสังคมในประเทศสมาชิกอาเซียน และให้ภาคส่วนต่างๆได้ให้ข้อคิดเห็น ข้อมูล และอภิปราย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท