พิธีรำลึกถึงบิลลี่ และเสวนาวิชาการ : การฆาตกรรมอำพรางศพนายพอละจี หรือบิลลี่ บุคคลใด ต้องรับผิดชอบ และเสวนาเรื่อง ปัญหาสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองกะเหรี่ยงแห่งบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน กับการขึ้นทะเบียน “ผืนป่าแก่งกระจาน” เป็นมรดกโลก

Event Date: 
Monday, 16 September, 2019 - 09:30

งานพิธีรำลึกถึงบิลลี่ และเสวนาวิชาการ วันจันทร์ที่ 16กันยายนที่ ม.รังสิต เรื่อง การฆาตกรรมอำพรางศพนายพอละจี หรือบิลลี่ บุคคลใด ต้องรับผิดชอบ และเสวนาเรื่อง ปัญหาสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองกะเหรี่ยงแห่งบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน กับการขึ้นทะเบียน “ผืนป่าแก่งกระจาน” เป็นมรดกโลก

วันจันทร์ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 09.30-16.30 น. ณ ห้องประชุม 6-200 ตึก 6 อาคาร Student Center มหาวิทยาลัยรังสิต

หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้ ขอให้ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก องค์การยูเนสโก (UNESCO) ครั้งที่ 43 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน พิจารณาขึ้นทะเบียนกลุ่มผืนป่าแก่งกระจาน เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ โดยให้เหตุผลว่ากลุ่มผืนป่าแก่งกระจาน ซึ่งประกอบไปด้วยวนอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและผืนป่าใกล้เคียง มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีความอุดมสมบูรณ์สูง ทั้งสัตว์ป่าและพรรณไม้นานาชนิด แต่คณะกรรมการมรดกโลก มีข้อท้วงติงรัฐไทย 3 ข้อ ดังนี้ ข้อ 1)รัฐดำเนินการเรื่องการปักปันเขตแดนระหว่างไทยและเมียนมา ข้อ 2) ให้ทำข้อศึกษาเปรียบเทียบเรื่องขอบเขตพื้นที่ที่ลดลงว่ายังอยู่ภายใต้ข้อกำหนดตามระเบียบข้อที่ 10 เรื่องความสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่หรือไม่ ข้อ 3) ให้ทำข้อห่วงกังวลเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนชุมชนรวมทั้งชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ซึ่งเท่ากับว่ามีมติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกว่ายังไม่รับรองการขึ้นทะเบียนกลุ่มผืนป่าแก่งกระจานของไทยเป็นมรดกโลกในปีนี้ และให้ไทยกลับไปทำเอกสารเพิ่มเติมและส่งกลับมาพิจารณาใหม่ภายในระยะเวลา 3 ปี อนึ่ง รัฐบาลไทย ได้เคยเสนอผืนป่าแก่งกระจานให้ UNESCO ขึ้นทะเบียนมรดกโลกไปแล้วหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ สาเหตุหนึ่งคือปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง แห่งบ้านบางกลอย-ใจแผ่นดิน ที่อยู่อาศัยในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานมาหลายชั่วอายุคน ยังไม่ได้รับการรับรองและแก้ไขโดยรัฐบาลไทย ทำให้ไม่สามารถขึ้นทะเบียนกลุ่มผืนป่าดังกล่าวเป็นมรดกโลกได้

อนึ่ง กรณีการบังคับให้สูญหายของ บิลลี่ หรือนายพอละจี รักจงเจริญ แกนนำชาวบ้านที่ต่อสู้เรียกร้องเพื่อสิทธิของชาวกะเหรี่ยง ที่หายตัวไปในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน หลังถูกเจ้าหน้าที่อุทยานฯ จับและควบคุมตัว ไปแล้วกว่า 5 ปีตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย.2557 และวันที่ 3 กันยายน 2562 กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้แถลงความคืบหน้าคดีนายพอละจี หรือบิลลี่ พบว่าเป็นศพถูกฆ่า เผา และถ่วงน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน แต่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุการเสียชีวิต และนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้

มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และองค์กรเครือข่ายทั่วประเทศ ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญในการดำเนินการให้รัฐไทยได้ตระหนักถึงพันธกรณีและหน้าที่ในการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองของชาวกะเหรี่ยงในผืนป่าแก่งกระจาน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดงานรำลึกถึงบิลลี่ และเสวนาวิชาการเรื่อง การฆาตกรรมอำพรางศพนายพอละจี หรือบิลลี่ บุคคลใด ต้องรับผิดชอบ และเสวนาวิชาการเรื่อง ปัญหาสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองชาวกะเหรี่ยงแห่งบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน กับการขึ้นทะเบียน “ผืนป่าแก่งกระจาน” เป็นมรดกโลก วันจันทร์ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุม 6-200 ตึก 6 อาคาร Student Center มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อเป็นเวทีในการรำลึก บอกเล่า ระดมความเห็น ตั้งข้อสังเกตจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ ที่จะนำมาสู่การทำความเข้าใจ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิของชาวกะเหรี่ยง. รวมทั้งการขึ้นทะเบียนผืนป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก

จุดประสงค์

1. เพื่อรำลึกถึงนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ และรับฟังความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาการบังคับบุคคลให้สูญหาย

2. เพื่อรับฟังปัญหาสิทธิมนุษยชนและสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองจากชาวกะเหรี่ยงแห่งบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน ตัวแทนชนเผ่าพื้นเมือง องค์กรสิทธิมนุษยชน นักวิชาการ สื่อมวลชน เจ้าหน้าที่รัฐ และองค์กรที่มีส่วนผลักดันให้ผืนป่าแก่งกระจานขึ้นทะเบียนมรดกโลก

3. เพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกฝ่ายในการแก้ปัญหาดังกล่าวตามข้อ 2

4. เพื่อรวบรวมข้อมูลและข้อคิดเห็นในการจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาให้แก่บุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วันเวลาและสถานที่

วันจันทร์ ที่ 16 กันยายน 2562 เวลา 09.30 – 16.30 น.

ณ ห้องประชุม 6-200 ตึก 6 อาคาร Student Center มหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้จัด

1. วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

2. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

4. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

5. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

6. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

7. เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี

8. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ

9. สมาคมปกาเกอญอเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

10. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ

11. เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ

12. มูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์

13. เครือข่ายชาติพันธุ์จังหวัดลำปาง

14. สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมชาวไทยภูเขาในประเทศไทย

15. มูลนิธิชุมชนไท

16. กลุ่มดินสอสี

17. ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove)

18. เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

19. ฝ่ายพัฒนาสังคม และสถาบันรัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยรังสิต

20. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน

กำหนดการ

วันจันทร์ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 09.00-16.00 น.

ณ ห้องประชุม 6-200 ตึก 6 อาคาร Student Center มหาวิทยาลัยรังสิต

ช่วงที่ 1 ดำเนินการโดย คุณพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ

09.00-09.45 น. ลงทะเบียน

09.45-10.00 น. เปิดงาน โดยดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต

10.00-10.20 น. กล่าวนำ ตัวแทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่ง สหประชาชาติ****

10.20-11.00 น. พิธีรำลึกถึงบิลลี่ ดำเนินการโดยคุณเกรียงไกร ชีช่วง

11.00-12.15 น. เสวนา การฆาตรกรรมอำพรางศพนายพอละจี หรือบิลลี่ บุคคลใด ต้องรับผิดชอบ ดำเนินรายการโดย คุณปรีดา นาคผิว มูลนิธิ ผสานวัฒนธรรม

1. อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)/ผู้แทน

2. เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.)

3. นางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ และตัวแทนญาติของบิลลี่

4. คุณแสงชัย รัตนเสรีวงษ์ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

5. คุณสัณหวรรณ ศรีสด คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล

12.15-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

ช่วงที่ 2 ดำเนินรายการโดย อาจารย์สุนี ไชยรส มหาวิทยาลัยรังสิต

13.00-16.00 น. เสวนา ปัญหาสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองกะเหรี่ยงแห่งบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน กับการขึ้นทะเบียน “ผืนป่าแก่งกระจาน” เป็นมรดกโลก

1. เสียงจากชาวบ้านกะเหรี่ยงบางกลอย-ใจแผ่นดิน และเสียงจากชาวบ้านทุ่งใหญ่นเรศวร

2. อาจารย์สาวิตรี สุวรรณสถิตย์ ผู้ทรงคุณวุฒิประจำคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก

3. ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ประจำประเทศไทย

4. เลขาธิการสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) หรือผู้แทน

5. อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช หรือผู้แทน

6. คุณเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

7. อาจารย์วุฒิ บุญเลิศเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี

8. อาจารย์เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

9. คุณกฤษฎา บุญชัย สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

10. อาจารย์ภัทรมน สุวพันธุ์ มหาวิทยาลัยรังสิต

16.00-16.30 น. สรุปงาน /กล่าวปิด โดยคุณสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสาน วัฒนธรรม

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท