Skip to main content
sharethis
Event Date

เสวนาทางวิชาการ “ไรเดอร์-ฮีโร่-โซ่ตรวน: สภาพการทำงานและหลักประกันทางสังคมของของแรงงานส่งอาหารบนเศรษฐกิจ แพลตฟอร์มในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19”

 

เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม (Platform Economy) เป็นปรากฏการณ์สำคัญในสังคมเศรษฐกิจปัจจุบัน ที่ได้ เปลี่ยนแปลงแบบแผนธุรกิจและเศรษฐกิจแบบเดิม สร้างความปั่นป่วน (disrupt) อย่างสำคัญต่อแบบแผนการผลิต และการบริการ สั่นคลอนสถานะของทั้งผู้ประกอบการและแรงงานในทุกภาคส่วนอุตสาหกรรม กระทบการนิยาม ความสัมพันธ์ในการจ้างงานและการผลิตและส่งผลต่อเนื่องถึงประเด็นอื่น เช่นการคุ้มครองทางสังคมที่จัดให้บน ฐานของการนิยามความสัมพันธ์การจ้างงานแบบเก่า ปัญหาที่แรงงานแพลตฟอร์มเผชิญ มีตั้งแต่การประสบกับ ความเสี่ยงที่เป็นรูปธรรมจากการคุ้มครองจากการทำงาน ค่าแรงขั้นต่ำ หลักประกันทางสังคม ประเด็นแรงงาน สัมพันธ์หรือการต่อรองของแรงงานกับแพลตฟอร์มที่มีลักษณะเป็นตัวกลางและมีสถานะที่ยังไม่มีนิยามที่ชัดเจน ทางกฎหมายแรงงาน นักวิชาการแรงงานมีความเห็นต่อเรื่องนี้ที่หลากหลาย ทั้งมองว่ามีสถานะเป็นลูกจ้าง-นายจ้าง ที่ชัดเจน มีสถานะเป็นผู้ว่าจ้าง-ผู้รับจ้าง และกึ่งนายจ้างหรือกึ่งคู่ค้า (Drahokoupil & Piasna, 2019, p. 5)

ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2010 เป็นต้นมา ธุรกิจบริการเรียกรถส่วนตัวตลอดจนธุรกิจบริการขนส่งอาหารและ สินค้า เป็นหนึ่งในธุรกิจภายใต้เศรษฐกิจแพลตฟอร์มที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งในระดับระดับประเทศ และ ระดับโลก ผู้ประกอบการเกือบทั้งหมดมีลักษณะการดำเนินธุรกิจที่คล้ายคลึงกันคือการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล (digital platform) ในฐานะตัวกลางในการเชื่อมอุปสงค์ของผู้ต้องการรับบริการ และอุปทานของผู้ให้บริการที่มี รูปแบบหลากหลายทั้งที่เป็นรถยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์รับจ้างหรือแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์ หรือพาหนะรูปแบบอื่นๆ โดยแพลตฟอร์มจะมีหน้าที่สำคัญในการจัดระบบด้านราคาและความต้องการของผู้ให้และผู้รับบริการ รวมถึงเป็น ตัวกลางในการรับข้อมูลการประเมินด้านคุณภาพจากผู้รับบริการต่อผู้ให้บริการ

ในประเทศไทย แพลตฟอร์มบริการเรียกรถส่วนตัวและบริการขนส่งอาหารและสินค้าได้รับความนิยม เพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 2010 ผ่านการนำเสนอบริการของแพลตฟอร์มระดับภูมิภาค 2 รายใหญ่ ที่ต่อมามีการควบรวมกิจการในปี 2018 ในปัจจุบันแพลตฟอร์มบริการเรียกรถส่วนตัวมีผู้ให้บริการ 3 รายหลัก มี การคาดการณ์ว่ามีเครือข่ายยานพาหนะที่ให้บริการผ่านแพลตฟอร์มบริการเรียกรถส่วนตัว และส่งอาหารหลาย แสนราย นอกจากนี้ มีการคาดการณ์ว่าแพลตฟอร์มบริการเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราก้าว กระโดด อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่ไม่ต้องการเดินทางฝ่าการจราจรออกไปซื้อ อาหารและสินค้าด้วยตนเอง ประกอบกับการมีเทคโนโลยีในมือคือสมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ต ที่อำนวยความ สะดวกให้การสั่งอาหารและสินค้ายิ่งสะดวกและรวดเร็วกว่าในอดีต องค์กรภาคธุรกิจมีการขยับขยายกิจการมาลงทุนในตลาดนี้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รัฐมีมาตรการห้ามการ รับประทานอาหารที่ร้านเพื่อเว้นระยะห่างทางกายภาพ ลดการแพร่ระบาดของโรค

การเติบโตของแพลตฟอร์มบริการเรียกรถส่วนตัวและบริการขนส่งอาหารและสินค้า ไม่เพียงแต่จะส่งผล กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงแบบแผนของภาคบริการหรือธุรกิจรถรับจ้างเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลอย่างสำคัญต่อ ความสัมพันธ์ในรูปแบบการจ้างงานและโจทย์ในการพัฒนาความคุ้มครองทางสังคมในอนาคตด้วยเช่นกัน กล่าวคือ 1) ผู้ให้บริการผ่าน “แพลตฟอร์มบริการเรียกรถส่วนตัวและบริการขนส่งอาหารและสินค้า” มีลักษณะการทำงาน แบบ “กึ่งทางการและมีความเปราะบาง” (Semi-Formal and Precarious Work) ผู้ให้บริการมีสถานะการ ทำงานและรายได้ที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความต้องการบริการในแต่ละวันหรือแต่ละช่วงเวลา และกลไกการทำงาน ของตัวแพลตฟอร์มหรืออัลกอริทึ่มซึ่งบริษัทเจ้าของแพลตฟอร์มไม่เปิดเผย 2) แม้แพลตฟอร์มหลายแห่งจะมีสิทธิ ประโยชน์ในการเข้าถึงเงื่อนไขพิเศษของประกันชีวิตและประกันสุขภาพให้ผู้ให้บริการ หากแต่สิทธิประโยชน์ ดังกล่าวก็มิได้เป็นความคุ้มครองทางสังคมพื้นฐานให้กับผู้ให้บริการ และ 3) อำนาจการต่อรองเงื่อนไขและลักษณะ การบริการกับแพลตฟอร์มของผู้ให้บริการอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ อันเนื่องมาจาก การสร้างสภาพควบคุมของ แพลตฟอร์มเหนือผู้ให้บริการ การทำงานผ่านแพลตฟอร์มที่ตัดขาดความเชื่อมโยงที่ส่งผลต่อการสร้างความรู้สึก ร่วมหรือเครือข่ายของผู้ให้บริการ

ทั้งนี้ในหลายประเทศของโลก ประเด็นด้านการสร้างความคุ้มครองทางสังคม รวมถึงแนวทางในการสร้าง ความคุ้มครองทางสังคมให้กับแรงงานในเศรษฐกิจแพลตฟอร์มเป็นโจทย์ที่ได้รับการกล่าวถึงและมีความสำคัญ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องจากการขยายตัวของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและแรงงานในเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม รวมถึง ความไม่เท่าทันของระบบความคุ้มครองทางสังคมแบบเดิมที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาแบบแผนให้เกิดความ ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงรองรับการมีชีวิตที่มีมาตรฐานในระยะยาว (European Parliament, 2017)

จากที่กล่าวมาข้างต้น การเสวนาทางวิชาการ “ไรเดอร์-ฮีโร่-โซ่ตรวน: สภาพการทำงานและหลักประกัน ทางสังคมของของแรงงานส่งอาหารบนเศรษฐกิจแพลตฟอร์มในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19” จะมีส่วน อย่างสำคัญในการช่วยทำความเข้าใจสภาพการทำงานและหลักประกันทางสังคมของของแรงงานส่งอาหารบน เศรษฐกิจแพลตฟอร์มในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงการแลกเปลี่ยนถึงการสร้างหลักประกันทาง สังคมที่เหมาะสมกับแรงงานส่งอาหารบนเศรษฐกิจแพลตฟอร์มทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net