กิจกรรม 3 ปี ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน: อยุติธรรม ความรุนแรง และการลอยนวล

Event Date: 
Saturday, 18 November, 2023 - 10:00

16 ต.ค. 2566 ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 3 ปีของการปฏิบัติงานของภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นภายหลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่แยกปทุมวันเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2563 โดยการรวมตัวกันระหว่างนักกฎหมาย ทนายความ นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อเรียกร้องให้รัฐอยู่ภายใต้กฎหมาย เคารพสิทธิเสรีภาพ หยุดการใช้ความรุนแรง สร้างวัฒนธรรมการแสวงหาความจริง ความรับผิดชอบ และการชดเชยเยียวยา ผ่านการรณรงค์และให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน

.

ตลอดการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ภาคีฯ ให้ความช่วยเหลือด้านคดีแก่ผู้เสียหาย อย่างน้อย 38 คดี และให้ความช่วยเหลือแจ้งความดำเนินคดีหรือร้องเรียนตามกลไกอื่นอีกอย่างน้อย 20 คดี โดยคดีจำนวนมากเกี่ยวพันกับการดำเนินคดีที่ไม่เป็นธรรม การจำกัดสิทธิเสรีภาพโดยเกินจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน การใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม การหน่วงเหนี่ยวกักขังโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย หรือแม้แต่การถูกยิงเสียชีวิตในพื้นที่ชุมนุมอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ

.

ในโอกาสครบรอบ 3 ปีของการดำเนินงานนี้ ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน โดยความร่วมมือกับองค์กรสิทธิมนุษยชน 9 องค์กร และสถาบันวิจัยทางสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนาและนิทรรศการภาพถ่าย “3 ปีภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน: อยุติธรรม ความรุนแรง และการลอยนวล” เพื่อเผยแพร่รายงานการปฏิบัติงานในภาพรวมและข้อเสนอต่อประชาชน ภาคประชาสังคมและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งเพื่อสร้างความตระหนักและร่วมรำลึกถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ไม่ให้ถูกลืมเลือน

“3 ปีภาคีนักกฎหมายมนุษยชน: อยุติธรรม ความรุนแรง และการลอยนวล”

18 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00 – 16.00 น. ห้องโถงชั้นล่าง อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

.

กำหนดการ

.

ตลอดทั้งงาน นิทรรศการภาพถ่ายครบรอบ 3 ปี ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

.

10.00 – 10.15 น. กล่าวเปิดงาน

ณัฐาศิริ เบิร์กแมน นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

.

10.15 – 10.15 น. นำเสนอรายงานปฏิบัติงานครบรอบ 3 ปี ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

ชล คีรีกูณฑ์ เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กรและงานข้อมูล สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

.

11.00 – 12.00 น. เสวนาในหัวข้อ “บทบาทหน้าที่พลเมืองและสื่อมวลชนกับการชุมนุมในสถานการณ์ฉุกเฉินไปสู่สถานการณ์ปกติ”

ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ผู้ฟ้องคดีเพิกถอนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงและคดีสลายการชุมนุมของกลุ่มราษฎรหยุดเอเปค 2022

พงษ์พิพัฒน์ บัญชานนท์ พยานคดีผู้สื่อข่าว

ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ผู้เสียหายจากการถูกเจ้าหน้าที่รัฐใช้ความรุนแรงในการเข้าจับกุมและสลายการชุมนุม

ทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ ผู้ฟ้องคดีเจ้าหน้าที่รัฐใช้กำลังจับกุมเกินกว่าเหตุ

เทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการบริหารสำนักข่าวประชาไท ผู้ดำเนินรายการ

.

13.00 – 15.00 น. เสวนาในหัวข้อ “น้ำ แก๊ส กระสุนยาง ประชาชนได้อะไร สู่ขอบเขตการตีความในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ จากการดำเนินคดีของภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน”

.

ดร.พัชร์ นิยมศิลป อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยทางสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สัญญา เอียดจงดี ทนายความ สำนักงานกฎหมาย ไรซิ่ง ซัน

ศุภมาศ กัญญาภัคโภคิน ทนายความสิทธิมนุษยชน

คุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ทนายความ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

สุทธิเกียรติ คชโส ทนายความ มูลนิธินิติธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม (EnLaw)

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ผู้ดำเนินรายการ

.

15.00 – 15.30 น. อภิปรายแลกเปลี่ยน

.

16.00 น. จบงาน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท