การปฏิรูปกองทัพ

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง ทัพภาค 2 แชร์คลิปเพลงแร็พ ‘ทหารมีไว้ทำไม’ พ้อคนบางกลุ่มไม่เห็นค่า ไล่กลับกรมกอง ยกพระราชดำรัส ร.9 ให้กำลังใจตัวเอง
2023-05-08 22:01
สรุปประเด็นสำคัญ “วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการเขียนกฎหมายป้องกันรัฐประหาร” จากที่ ศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับมติชน ผ่านรายการเอ็กซ์อ๊อกtalk ออกอากาศเมื่อวันที่ 22 เม.ย. ที่ผ่านมา ทางยูทูบมติชนทีวี - กฎหมายป้องกันรัฐประหาร: ถ้าหากมีการเสนอ ไม่ว่าฝ่ายไหนเป็นคนเสนอก็ควรสนับสนุน แม้ว่าจะค่อนข้างเป็นการแสดงจุดยืนเชิงสัญลักษณ์ ที่เล็งเห็นผลในทางปฏิบัติได้ยาก - วรเจตน์มองว่าการต่อสู้แบ่งได้เป็น 3 ส่วน อย่างแรกคือการที่ประชาชนออกมาสู้กับคณะรัฐประหาร การลบล้างผลพวงรัฐประหาร และการป้องกันรัฐประหาร - การต่อสู้กับรัฐประหารเป็นคนละเรื่องกับการล้มล้างผลพวงของรัฐประหารที่สำเร็จไปแล้ว ซึ่งไม่ควรมองปนกัน - ส่วนที่พอจะทำได้ คือ ออกกฎหมายล้มล้างผลพวงหลังรัฐประหาร ประกาศให้การนิรโทษกรรมคณะรัฐประหารโมฆะเสียเปล่าทางกฎหมาย เพื่อเปิดทางให้คนทำรัฐประหารเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม - การออกกฎหมายล้มล้างผลพวงหลังรัฐประหารต้องทำในระดับรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ใช่ว่าไม่เคยมีความพยายามทำมาก่อน ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความพยายามจะทำ แต่ถูกศาลปัดตกไป - ข้อสังเกตคือรัฐประหาร 2 ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในสภาวะหลังยุบสภา ไม่มีรัฐบาลตัวจริง อำนาจรัฐค่อนข้างอ่อนแอ ขณะที่ทหารมีทั้งอาวุธ และกลไกที่เอื้อให้ทำรัฐประหารได้ง่ายๆ และไม่ต้องรับผิด - การป้องกันรัฐประหารมันยาก จึงควรสร้างกลไกให้การทำรัฐประหารมันยากขึ้น สิ่งที่สำคัญคือเราต้องทำให้รัฐบาลพลเรือนมีอำนาจเหนือรัฐบาลทหาร รัฐบาลพลเรือนที่มีอำนาจเข้มแข็งและยาวนานมากพอ - ประเด็นการปฏิรูปศาล วรเจตน์มองว่าต้องทำให้ศาลมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย ที่ผ่านๆ มาศาลมักจะอ้างเรื่องความเป็นอิสระของตุลาการซึ่งนั่นทำให้ศาลหลุดจากความชอบธรรมทางประชาธิปไตย สิ่งสำคัญคือการปฏิรูปโครงสร้างศาลให้มีจุดยึดโยงเกาะเกี่ยวกับประชาชนเพื่อให้ใช้อำนาจในนามประชาชน - ข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปศาล ในทางหลักการควรทำแน่นอน แต่ในทางปฏิบัติมันไม่ง่าย เพราะโครงสร้างศาลก็มีบุคลากรที่เป็นมรดกมาจากยุค คสช. อยู่ไม่น้อย การเปลี่ยนให้ถึงโครงสร้างต้องอาศัยพรรคการเมืองที่มีอำนาจเข้มแข็งมากพอ ระยะเวลา 4 ปีก็คงไม่พอ ตนมองว่าควรใช้ถึง 8 ปีด้วยซ้ำถึงจะพอเห็นผลบ้าง - วรเจตน์ แสดงความคิดเห็นเรื่องความขัดแย้งของพรรคเพื่อไทยกับปิยบุตร แสงกนกกุล บอกว่าการเขียนกฎหมายป้องกันรัฐประหาร ใครเสนอขึ้นมาก็เป็นเรื่องที่ดีทั้งนั้น เป็นเรื่องที่ต้องการความร่วมมือกันในระนาบกว้าง ส่วนที่ร่วมมือกันได้ก็ควรช่วยกันดัน - สำหรับมาตรา 112 จุดยืนของวรเจตน์ยังคงเหมือนเดิม กล่าวว่า ม.112 มีปัญหาจริงทั้งในแง่การบังคับใช้ ตัวบทกฎหมาย รวมถึงอุดมการณ์กำกับการใช้การตีความ เป็นปัญหาหลายเลเยอร์ซ้อนกัน ข้อที่เห็นชัดที่สุดคืออัตราโทษในกฎหมายนี้ สูงไม่ได้สัดส่วนกับความผิด กม.นี้เป็นผลพวงจากรัฐประหาร 2519 ด้วย ตนเห็นว่าอย่างน้อยต้องมีการลดโทษ
2023-05-04 18:03