ฟุตบอลไทยลีก

ตอนจบของรายงานชุดพิเศษ “ฟุตบอลไทย: จาก ‘กีฬา’ สู่ “การเมืองระดับชาติ-ท้องถิ่น” พูดคุยกับคนทำทีมฟุตบอลท้องถิ่น "เขลางค์ ยูไนเต็ด" ทีม T3 จากลำปาง และ "ขุนหาญ ยูไนเต็ด" ทีมอเมเจอร์ลีกจากศรีสะเกษ สะท้อนโอกาสและอุปสรรคในการทำทีม ขณะเดียวกันยังมีความเหลื่อมล้ำที่สะท้อนออกมาเด่นชัดในวงการฟุตบอลไทย ที่ทีมสโมสรใหญ่ระดมได้ทั้งทรัพยากรและเครือข่ายนักการเมือง ทำให้ได้เปรียบทีมขนาดเล็กในท้องถิ่นที่ขาดทั้งสปอนเซอร์และเครือข่ายนักการเมืองอุปถัมภ์
2024-03-22 22:51
ศึกษาโมเดลฟุตบอลลีกอังกฤษ ส่งผลดีต่อชุมชนและเศรษฐกิจได้อย่างไร แล้วย้อนกลับมาดูวงการฟุตบอลไทยที่เริ่มระบบลีกอาชีพในทศวรรษ 2540 จนในปัจจุบันกลายเป็น 'ไทยลีก' ที่มีฐานแฟนบอลและสโมสรฟุตบอลประจำจังหวัด รวมไปถึง 'บุรีรัมย์โมเดล'  ที่ทำให้ท้องถิ่นตื่นตัวอยากสานฝันสร้างทีมฟุตบอลของตนเพิ่มมากขึ้น แต่จังหวัดอื่นไม่มีคนอย่างเนวิน แล้วพวกเขาจะไปถึงฝั่งฝันได้อย่างไร?
2024-03-07 16:47
‘การเมือง’ ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันวงการฟุตบอลไทยเฟื่องฟู โดยเฉพาะการรัฐประหาร ยุบพรรค และตัดสิทธิฯ ในปี 2550 และ 2551 ทำให้นักการเมืองติดโทษแบนจำนวนหนึ่งหันมาสร้างฐานสนับสนุนทางการเมืองผ่านกีฬาฟุตบอล และเมื่อฟุตบอลไทยลีกบูม เราจึงเห็นภาพนักการเมืองและเครือญาติเข้ามาทำสโมสรฟุตบอล ข้อมูลปี 2566 มีผู้บริหารสโมสรฟุตบอลที่ใกล้ชิดเครือญาตินักการเมือง พรรคการเมืองมากกว่า 16 ทีม ขณะเดียวกันยังมีการข้อสังเกตเรื่องการทุ่มทุนอุดหนุนสโมสรฟุตบอล ทั้งจากกลุ่มทุนการเมือง รวมไปถึงผู้มีฐานะดีที่มีความคลุมเครือเรื่องธุรกิจ ที่มีเคสถูกดำเนินคดีเพราะเกี่ยวพันกับธุรกิจสีเทา
2024-02-23 23:48
วงการฟุตบอลอาชีพไทยนั้นมีเม็ดเงินมหาศาลหมุนเวียนอยู่ก็จริง แต่กลับไม่สามารถสร้างธุรกิจที่ทำกำไรมากมายให้กับคนในวงการและนักลงทุนได้ ผลประกอบการของทีมฟุตบอลของไทยส่วนใหญ่อยู่ในภาวะที่ขาดทุน แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามก็ยังมีคนที่ยังอยู่ในวงการนี้ต่อไปหรือแม้แต่อาจจะมีหน้าใหม่เข้ามาอีกด้วย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
2024-02-13 22:59