รายการทีวี "มือถือ-เครื่องดื่มแอลกอฮอล์-ถึงลูกถึงคน" ติดโผผลลบเด็ก

กรุงเทพฯ-19 ธ.ค.47 น.ส.เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก เปิดเผยว่า โครงการส่งเสริมสื่อมวลชนเพื่อเด็กที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ทำโปสการ์ดรณรงค์สื่อและสำรวจกลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครอง และเด็ก ผ่าน 2 คำถามคือ โฆษณาโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็กคืออะไรและรายการที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กคืออะไรบ้าง

ในช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2547 ได้รับการตอบกลับมา 1,349 ราย จาก 17 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า โฆษณาสินค้าเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ คว้าแชมป์โฆษณาไม่เหมาะสม รองลงมาเป็นโฆษณาสินค้าประเภทเครื่องสำอางและแป้ง และโฆษณาระบบโทรศัพท์และเครื่องโทรศัพท์ ในระดับที่เท่ากันที่ กลุ่มตัวอย่างระบุว่า มีวิธีการหลอกล่อเด็ก เน้นมอมเมา ส่อนัยทางเพศ และโน้มน้าว ล่อลวงให้ใช้สินค้าบ่อยๆโดยเฉพาะโฆษณาโทรศัพท์มือถือ มีลักษณะ ชักจูง โน้มน้าว ล่อลวงด้วยการทำตัวเป็นแบบอย่าง นำเสนอภาพว่าใช้สินค้าแล้วทันสมัยจนกลายเป็นสัญลักษณ์

"สิ่งที่น่ากังวล เกี่ยวกับโฆษณาขณะนี้ คือ เด็กเกิดความต้องการบริโภคสินค้าที่ได้ชม และคล้อยตามความเชื่อที่สื่อปลุกฝัง เช่น ใช้สินค้าแล้วเก่งอย่างภราดร นักเทนนิสระดับโลก คนกินเหล้าเป็นคนดีเพราะบริจาคโลหิต
และโฆษณาสินค้าบางประเภททำให้เด็กคุ้นเคยกับเรื่องเพศหรือมีอคติทางเพศ เช่นโฆษณาก๊อกน้ำซันวา เครื่อง
สำอาง และถุงยางอนามัย" น.ส.เข็มพร กล่าวและว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า รายการจำลองจากเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งแนวสยองขวัญ เช่นชั่วโมงพิศวง, เรื่องจริงผ่านจอ, มิติพิศวง ฯลฯ คว้าแชมป์รายการที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก โดยมีละครน้ำเน่าหลังข่าวแนวชิงรักหักสวาทตามาเป็นที่สอง

น.ส.เข็มพร กล่าวอีกว่า รายการโทรทัศน์น่ากังวลไม่แพ้โฆษณาเนื่องจากรายการทุกวันนี้ขายเนื้อหารุนแรง สยองขวัญเสนอภาพการแสดงความรุนแรงทางอารมณ์ ตลอดจนเรื่องราวไสยศาสตร์และเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้เป็นหลักนอกจากนี้มีกลุ่มตัวอย่างจำนวนหนึ่ง เห็นว่า รายการประเภททอล์คโชว์ วาไรตี้ เช่นZทีวี, ชูรัก-ชูรส, ตีสิบ, ถึงลูกถึงคน, นั่งยางโชว์ ฯลฯเป็นรายการที่มีพฤติกรรมไม่สุภาพ ไม่เหมาะสม ไม่มีมารยาทเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ตลกหยาบคาย นินทาดารา ทำให้ผู้อื่นเสียหายและยังมีรายการที่เน้นนำเสนอเรื่องราวทางเพศ ลามกอนาจาร
พิธีกรแสดงออกทางเพศด้วยคำพูด และการกระทำ พิธีกรแต่งตัวไม่เหมาะสม(โป๊)ตลอดจนการนำเรื่องพฤติกรรมทางเพศที่ไม่จริงมาเผยแพร่

"รายการในลักษณะข้างต้นทำให้เด็กซึมซับ เคยชินกับความรุนแรงเร้าความกลัวอย่างไร้เหตุผล งมงายไสยศาสตร์ สร้างจินตนาการผิดๆ ให้เด็ก ซึมซับพฤติกรรมไม่สุภาพ เสียการเรียน เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กไทยทุกวันนี้ก้าวร้าว นิยม และตัดสินปัญหาด้วยความรุนแรงมองความรุนแรงเป็นเรื่องปรกติ , กลัวผี ความมืดและการอยู่คนเดียวความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างแม้จะไม่มากนัก แต่ก็เป็นเครือข่ายผู้บริโภคที่เฝ้าจับตามองสื่อโฆษราและรายการโทรทัศน์ จึงถือเป็นเสียงสะท้อนที่ผู้ผลิตไม่ควรมองข้าม" ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กกล่าว

ประชาไทรายงาน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท