Skip to main content
sharethis

ทำไมความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตจึงสำคัญ

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทางทะเลเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการด้วยกัน ประการแรกชีวิตของมนุษย์เองนั้นก็ขึ้นอยู่กับทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาหาร ยา เพื่อใช้ดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ ประการที่สองความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลนั้นเป็นตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ เป็นสิ่งที่สร้างรายได้อย่างมหาศาลให้กับประเทศและท้องที่นั้นๆ ประการที่สาม ระบบนิเวศทางทะเลเป็นสิ่งป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น อาทิเช่น ต้นโกงกางจะเป็นตัวป้องกันผลกระทบที่เกิดจากพายุได้ และประการสุดท้ายความหลากหลายและความน่าสนใจในความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์นั้นมีการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ เพราะมนุษย์เองชื่นชอบกับโลกที่เต็มไปด้วยความหลากหลายของสัตว์และพืช

อะไรจะเกิดขึ้นหากความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตถูกทำลาย

สัตว์น้ำในทะเลนั้นมีความสำคัญต่อกันและกันอย่างมาก การมีหรือการหายไปของสัตว์แต่ละชนิดล้วนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลทั้งหมด และการที่ระบบนิเวศถูกทำลายลงก็จะส่งผลกระทบถึงความหลากหลายของสิ่งมีชิตที่ดำรงชีวิตอยู่ในทะเลเช่นเดียวกัน และหากเมื่อระบบนิเวศทางทะเลถูกทำลายลงก็จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เนื่องจากทะเลเป็นแหล่งอาหารแหล่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์ และยังเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติในการสร้างอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นประมง หรือการท่องเที่ยวอีกด้วย

ความหลากหลายทางชีวภาพของทะเลอันดามัน

ชายฝั่งทะเลอันดามัน (จากจังหวัดระนองถึงจังหวัดสตูล ) มีความยาวถึง 937 กิโลเมตร และมีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบไปด้วยความหลากหลายของระบบนิเวศอาทิเช่น ระบบนิเวศชายฝั่งทะเล พื้นที่ป่าโกงกาง ระบบนิเวศหญ้าทะเล ระบบนิเวศแนวปะการัง และในระบบนิเวศป่าโกงกางเอง ก็ประกอบไปด้วยความหลากหลายขอต้นไม้และพืช รวมถึงสัตว์จำพวกปราสิตอีกด้วย และในอีกทางหนึ่งระบบนิเวศชายฝั่งก็ประกอบไปด้วยความหลากหลายของพันธุ์ปลา

สัตว์น้ำบางจำพวกอาทิเช่น พวกปลาตัวเล็ก (ปลาเก๋า ปลาทู )ซึ่งอาศัยอยู่ตามแนวสาหร่ายทะเล

ในขณะที่ยังเป็นตัวอ่อนอยู่ และสัตว์น้ำบางพวกก็อาศัยอยู่ตามแนวสาหร่ายทะเลตลอดชีวิตเลยก็มี ระบบนิเวศแนวปะการังและระบบนิเวศชายฝั่งทะเล ก็ประกอบด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเช่นเดียวกัน เพียงแต่อาจจะน้อยกว่าหากเปรียบเทียบกับระบบอื่นๆตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

อย่างไรก็ตามที่นี่ก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ แนวปะการังจำนวน 183 ชนิดถูกค้นพบที่เกาะภูเก็ต ซึ่งเป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำมากมาย อาทิเช่น ปลิงทะเล เม่นทะเล หอยกาบยักษ์ หอยนมสาว กุ้งมังกร

แนวปะการังนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของพันธุ์ปลากว่า 106 ชนิดที่ค้นพบได้ หินปะการังมากกว่า 210 สายพันธุ์ สัตว์เฉพาะถิ่นอันเหลือเชื่อ ปะการังอันแสนสวยงาม และสัตว์ทะเลอื่นๆกว่าหมื่นชนิด อาทิเช่นสัตว์ในตระกูลปู สัตว์จำพวกผิวหนาม ดาวทะเล เม่นทะเล และสัตว์จำพวกหนอน ซึ่งมีระบบการดำรงชีวิตของมันเองในแถบปะการังทั้งหมดด้วยกัน

ในผืนทะเลอันดามันยังประกอบไปด้วยปลาน้ำลึกกว่า 850 ชนิด ซึ่งก่อให้เกิดมูลค่าทางการค้า ทะเลอันดามันยังเป็นเส้นทางการอพยพของปลาสายพันธุ์ปลากัด อาทิเช่น ปลามาร์ลินสีน้ำเงิน และปลาที่เป็นที่นิยมกันมากอาทิเช่น ปลามาร์ลินสีดำ ปลากระโดงสูง ปลาบาราคูด้า และปลาฉลามชนิดต่างๆ

และยังมีเต่าทะเลอีก 5 ชนิด ที่วางไข่บนเกาะ ในเขตน่านน้ำไทย ไม่ว่าจะเป็น เต่า leatherback ซึ่งมีขนาดตัวที่ใหญ่มาก เต่าเขียว เต่าล็อกเกอร์เฮด เต่ากระ เต่าริดเล่ย์

นอกจากนี้ยังมีงูทะเลที่บันทึกไว้ว่ามีมากว่า 30 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานทางทะเลชนิดเดียวในภูมิภาคนี้คือ จระเข้น้ำกร่อย ซึ่งเป็นสัตว์ประจำถิ่นเกือบจะสูญพันธุ์แล้ว สายพันธุ์หนึ่งของมันอาศัยอยู่ในแถบบึงป่าโกงกาง และบริเวณปากน้ำกร่อยทางตอนใต้อ่าว
สิ่งมีชีวิตฝนทะเลอื่นๆ ที่มีคือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อย่างน้อยที่สุดคือโลมาสองสายพันธุ์ซึ่งพบได้ทั่วไปในทะเลไทย คือ พันธุ์โลมาอินเดีย และโลมาจมูกยาว ปลาวาฬก็สามารถพบได้บ่อยครั้งเช่นเดียวกัน พะยูนหรือวัวทะเล ซึ่งใกล้สูญพันธุ์ และทางกรมประมงก็พยายามที่จะอนุรักษ์ไว้

ข้อมูลจากเว็บไซต์ www.eseap.cipotato.org , www.merlin-divers.com , www.nhm.ac.uk

ประชาไทรายงาน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net