Skip to main content
sharethis

ผู้เผชิญกับเหตุการณ์หลายท่านที่ยังมีชีวิตอยู่จะประสบกับปัญหาสุขภาพจิตชนิดหนึ่งที่เรียกทางจิตวิทยาว่า "ความเครียดที่เกิดจากการสูญเสียหรือบาดแผลทางใจ: Post traumatic stress disorder (PTSD)" วันนี้กรมสุขภาพจิตขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาวะดังกล่าวนี้ เพื่อเป็นข้อมูลและเป็นแนวทางสำหรับญาติและผู้ใกล้ชิดในการดูแลข่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เผชิญกับเหตุการณ์และเกิดภาวะดังกล่าว ดังนี้
ความหมาย :
ความเครียดที่เกิดจากการสญเสียหรือบาดแผลทางใจ Post traumatic stress disorder (PTSD) หมายถึง ภาวะเครียดที่เกิดจากต้องเผชิญกับเหตุการณ์ใดๆก็ตามที่ทำให้เกิดการสูญเสียหรือการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย เช่นเหตุการณ์ภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิส์ ที่กล่าวตอนต้น และทำให้เกิดอาการแสดงทางร่างกายและจิตใจ มีอาการวิตกกังวลเป็นประจำ และจะหวนนึกถึงเหตุการณ์ซ้ำๆเกิดภาวะซึมเศร้า ร้ายแรงอาจถึงการหาทางออกด้วยการฆ่าตัวตาย อาการของโรคเครียดหลังได้รับบาดแผลทางใจ หรือที่เรียกว่า PTSD อันก่อให้เกิดอาการนึกเห็นภาพเหตุการณ์ซ้ำๆ วิตกจริต และฝันร้ายซ้ำซาก ในบางรายอาจมีอาการของโรคนี้เป็นเวลาหลายปี (อ้างอิง: พิเชฐ อุดมรัตน์. จิตเวชศาสตร์สำหรับประชาชน, 2542)
การตอบสนองทางอารมณ์ต่อความสูญเสียของแต่ละคนแตกต่างกันอย่างไร?
บางคนอาจจะตอบสนองอย่างทันทีและรุนแรงหลังจากนั้นก็เป็นปกติ แต่บางคนอาการอาจจะเกิดหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปเป็นเดือนหรือเป็นปี นอกจากนั้นอาการที่เกิดก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเครียด ได้แก่
1. ความรุนแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หากเหตุการณ์รุนแรงมาก็ต้องใช้เวลามาก
2. ความสามารถของแต่ละคนที่จะแก้ปัญหา
3. สภาพจิตใจและสุขภาพก่อนเหตุการณ์หากเช้นมีปัญหาเรื่องจิตใจหรือโรคทำให้ต้องใช้เวลานานในการฟื้นคืน
การช่วยตัวเองและครอบครัว หลังเหตุการณ์ผ่านไปท่านมีหลายวิธีที่จะทำให้ความเครียดลดน้อยลง ดังนี้

1. ให้เวลากับตัวเองในการปรับตัวและลืมเหตุการณ์ดังกล่าว
2. ท่านต้องหาคนที่เข้าใจและสามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับท่านได้แต่ต้องไม่ใช่คนที่สูญเสียเหมือนกับท่านเพราะอาจจะทำให้เหตุการณ์แย่ลงอีก ท่านอาจจะจดลงในสมุดบันทึกประจำวันหรือพูดกับเพื่อน
3. หากลุ่มที่มีประสบการณ์ช่วยเหลือ เช่น กลุ่มที่ช่วยผู้ประสบภัย กลุ่มช่วยหญิงที่ถูกข่มขืน กลุ่มเหล่านี้จะให้คำปรึกษาถึงการดำรงชีพ
4. ให้พักผ่อนให้พอเพียงหากนอนไม่หลับควรปรึกษาแพทย์ รับประทานอาหารที่มีคุณภาพหลีกเลี่ยงสุรา บุหรี่
5. รับประทานอาหารให้เป็นเวลา ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หางานอดิเรกที่ชอบทำ
6. หลีกเลี่ยงการตัดสินใจสำคัญหรือกิจการที่ทำให้เกิดความเครียดมาก
หากมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์

1. ฝันร้ายเกี่ยวกับเหตุการณ์
2. มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ หรือเบื่ออาหาร
3. มีความวิตกหรือกลัวโยเฉพาะเมื่อมีเหตุการณ์ชวนให้นึกถึงอดีต
4. หงุดหงิดและตื่นเต้นง่าย โกรธง่าย
5. มักจะเกิดความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นบ่อยๆ
6. มักจะฝันร้ายเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น
7. มักจะเกิดอาการกลัวหรือตกใจเหมือนเหตุการณ์เพิ่งจะเกิดขึ้น
8. ผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการหวาดกลัวเกิดขึ้นเหมือนตอนเกิดเหตุการณ์หากมีสิ่งที่คล้ายเคียงกันกระตุ้น เช่น เสียงรถพยาบาล เห็นรถตำรวจ ฯลฯ
9. ผู้ป่วยอาจจะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย โกรธง่าย หงุดหงิด
10. ผู้ป่วยบางคนจะจำเหตุการณ์นั้นฝังใจทำให้ใจสั่นเหงื่อออก ผู้ป่วยอาจจะมีปัญหาเรื่องการรับประทานอาหารหรือนอนหลับ
11. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอาการของโรคอาจจะแย่ลงเมื่อมีภาวะเครียดกระตุ้น

ผู้ป่วยมักจะหลีกเลี่ยงความทรงจำที่ทำร้ายจิตใจผู้ป่วย โยมีพฤติกรรมที่แสดงออกดังนี้
1. พยายามหลีกเลี่ยงความคิดหรือความรู้สึกเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น
2. พยายามหลักเลี่ยงของหรือสถานที่เกิดเหตุ
3. จำเหตุการณ์ที่สำคัญในขณะเกิดเหตุไม่ได้
4. มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เช่น คนในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยอาจะชอบเก็บตัว
แนวทางการช่วยเหลือ

1. เภสัชบำบัด หรือการใช้ยา
จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เราเข้าใจการทำงานของสมองมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันเราทราบแล้วว่าในเซลประสาทของทุกคนมีการที่เรียกว่า "สารสื่อนำประสาท" อยู่หลายชนิด แต่ละชนิดจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวชต่างๆ ออกไป ยาที่สามารถออกฤทธิ์คลายกังวลหรือลดเครียดได้ก็เพราะไปจับที่บริเวณตัวรับของเซลส์ประสาทเหล่านี้ แล้วไปช่วยเสริมการทำงานของเซลประสาทลดลง ส่งผลให้ความวิตกกังวลหรือลดภาวะเครียดลดลงได้
คำถาม ที่คนทั่วไปถามกันมากก็คือ "แล้วกินยานี้นานๆ จะติดหรือเปล่า
คำตอบ หากผู้ป่วยกินยาตรงตามขนาด และเวลาที่แพทย์สั่งจะไม่มีปัญหาเรื่องติดยา
2. จิตบำบัด โดยทั่วไปผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้สึกคลายกังวลหรือลดเครียดไปได้มาก ถ้าหากแพทย์เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เล่าระบายปัญหา และความยุ่งยากต่างๆ ที่เกิดขึ้น

3. พฤติกรรมบำบัด การรักษาโดยวิธีนี้จะเน้นพฤติกรรมผู้ป่วยเป็นหลัก เช่น ผู้ป่วยที่กลัวฝูงชน อาจค่อยๆ ให้เผชิญทีละน้อย เช่น ลองยืนอยู่หน้าศูนย์การค้าก่อน นอกจากนั้นอาจสอนให้ผู้ป่วยรู้จักเทคนิคการฝึกฝนคลายกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการปวดหัวเครียดจากกล้ามเนื้อ

4. วิธีรักษาโดยเปลี่ยนความนึกคิดและเข้าใจ (cognitvie therapy) หลักของการรักษาด้วยวิธีนี้ก็คือ การเปลี่ยนความรู้ ความนึกคิด และความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ให้กลายเป็นความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องแทน เช่น ในผู้ป่วยโรคแพนิคนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ใจสั่นขึ้นผู้ป่วยอาจแปลความหมายไปว่า ตัวเองกำลังเริ่มมีอาการของโรคหัวใจ และอาจทำให้ช็อคหรือตายได้ เรียกว่าผู้ป่วยแปลความหมายความรู้สึกทางร่างกายที่เกิดขึ้นผิดไปว่า ความหายนะหรืออันตรายร้ายแรงกำลังเกิดขึ้นกับตน การรักษาด้วยวิธีนี้จะสอนให้ผู้ป่วยแปลความหมาย ความรู้สึกทางร่างกายที่เกิดขึ้นเสียใหม่ว่า อาการใจสั่นนั้นเกิดขึ้นจริง แต่เกิดจากการทำงานเพิ่มขึ้นของระบบประสาทออโตโนมิคที่ไปที่หัวใจ เกิดขึ้นเพียงชั่งขณะ และจำไม่ทำให้เป็นอันตรายถึงกับชีวิต จิตแพทย์บางคนถือว่าการรักษาวิธีนี้จัดเป็นชนิดหนึ่งของจิตบำบัด แต่จิตแพทย์บางคน ก็จัดรวมการรักษาวิธีนี้เข้ากับการรักษาด้วยวิธี "การให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบำบัด" (Cognitive Behavior Therapy)

กรมสุขภาพจิต
ข้อมูลจากhttp://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=914

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net