Skip to main content
sharethis

ประชาไท -- กรุงเทพมหานคร มีรายงานระบุพบตึกดัดแปลงต่อเติมกว่า 30,000 แห่ง ทั่วกรุงเทพฯ และพบตึกกว่า 2,000 แห่ง อยู่ในระดับเสี่ยงอันตราย ด้านมท. 3 และผู้ว่ากทม. ต่างลงพื้นที่ตรวจตราอาคารต่อเติมทั่วกรุงเทพฯ

ทั้งนี้นายนายสุธรรม แสงประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะกำกับดูแลกรมโยธาธิการ และผังเมือง กล่าวหลังการประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาตึกถล่ม และอาคารที่ต่อเติมดัดแปลง สาเหตุของปัญหาอาคารในกรุงเทพฯ มี 2 ประการคือ การต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งกรมโยธาฯ รายงานว่ามีถึง 30,000 แห่ง และยู่ในระดับล่อแหลม 2,000 แห่งและสาเหตุอีกประการคือการใช้อาคารผิดประเภท เช่น ใช้พื้นที่ชั้นบนของอาคารเป็นที่เก็บสินค้า

สำหรับอาคารต่อเติมผิดแบบที่อยู่ในระดับเสี่ยงอันตรายนั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 จุด คือ 1.อาคารพาณิชย์ และตึกต่าง ๆ ที่ดัดแปลงใช้เป็นห้องเรียนกวดวิชา ซึ่งเป็นจุดที่มีอันตราย เพราะมีเด็กเข้าไปเรียนเป็นจำนวนมาก 2. สถานบันเทิง ที่ดัดแปลงตัวอาคารอย่างไม่ถูกต้อง และ 3. โกดังเก็บของ ที่ดัดแปลงมาจากที่พักอาศัย

นายสุธรรมกล่าวด้วยว่า ในวันที่ 14 ม.ค. ที่จะถึงนี้ได้ประสานกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อเข้าไปตรวจสอบอาคารในพื้นที่สยามสแควร์ นทบุรี ลาดพร้าว และจุดล่อแหลมอื่น ๆ

ด้านนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่าทั่วอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั่วกรุงเทพฯ จำนวน 30,000 อาคารนั้น จะต้องหน้าเจ้าหน้าที่ทำการตรวจอาคารอาคารเหล่านี้ให้ได้เขตละ 20 อาคาร/วัน เพื่อให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 30 วันและตนเองจะลงตรวจสอบพื้นที่อีกครั้งเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่เข้ามาใช้อาคาร

ผู้ว่าฯ กทม. ยังได้ขอความร่วมมือไปยังประชาชนให้แจ้งข้อมูลมายังหมายเลขโทรศัพท์ 1555 หากพบอาคารที่มีความเสี่ยงจะเกิดอันตราย

ทั้งนี้ สำหรับพื้นที่กทม.ชั้นในซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงทั้ง 22 เขต ได้แก่ เขตพระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ปทุมวัน ราชเทวี บางรัก ดุสิต พญาไท บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางคอแหลม บางซื่อ บางพลัด สาทร คลองสาน ธนบุรี ห้วยขวาง ดินแดง วัฒนา คลองเตย ยานนาวา และจตุจักรหากประชาชนไม่ให้ความร่วมมือเมื่อตรวจสอบพบและแจ้งให้แก้ไขแล้วแต่ยังเพิกเฉยกทม.จะอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.2542 เข้ารื้อถอนอาคารที่ผิดระเบียบทันที และจะมีโทษทั้งจำทั้งปรับ

ประชาไทรายงาน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net