Skip to main content
sharethis

ธนาคารโลก
สำนักงานประเทศไทย
ติดต่อ: Kimberly Versak; kversak@worldbank.org;
01-875-5064
ทินกร สารีนันท์; tsareenun@worldbank.org;
06-616-6931

ชี้แจงข้อเท็จจริงโครงการน้ำเทิน 2

กรุงเทพฯ, 15 มี.ค. 2005 มีการแถลงข่าวเรื่อง "น้ำเทิน 2 สิ่งเลวร้ายสำหรับคนจนและประเทศลาวเป็นสิ่งที่ทำกำไรมหาศาลให้กับธนาคารโลก" ธนาคารโลกในฐานะที่เป็นผู้ที่กำลังพิจารณาให้การสนับสนุนการประกันความเสี่ยงของโครงการบางส่วนขอชี้แจงว่า อันที่จริงธนาคารให้ความสนใจเรื่องศักยภาพของโครงการซึ่งจะนำประโยชน์มาสู่ประชาชนลาวซึ่งเป็นประชากรที่ยากจนที่สุดในเอเชีย ธนาคารเล็งเห็นว่ารายได้ระยะยาวจากโครงการนี้จะช่วยลดภาวะความยากจนและโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนี้ธนาคารเชื่อว่าการพัฒนาโครงการนี้เป็นโอกาสที่ดีที่สุดในการลดความยากจนสำหรับประเทศลาวซึ่งมีทางเลือกอื่นไม่มากในการหารายได้เข้าประเทศ อีกทั้งโครงการนี้ได้ทำการศึกษามานานกว่าทศวรรษ และยังได้นำบทเรียนที่ทางธนาคารเคยได้รับจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานในอดีตรวมทั้งเขื่อนปากมูลมาใช้อย่างระมัดระวังอีกด้วย

เนื่องจากโครงการน้ำเทิน2 มีประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนเกี่ยวข้องหลายเรื่อง ธนาคารเห็นว่าควรมีการอภิปรายและนำเสนอโครงการโดยที่ทุกฝ่ายมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็น, การถาม และอภิปรายอย่างเปิดเผยเท่าเทียมกันธนาคารโลกจึงให้ความสำคัญกับการนำเสนอความคิดเห็นและมีความคิดเห็นว่าการอภิปรายที่จัดขึ้นในวันนี้ว่าไม่ได้แสดงข้อคิดเห็นของโครงการโดยครบถ้วนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการน้ำเทิน2 มีบางส่วนที่ไม่ถูกต้อง ธนาคารอยากให้ท่านได้ให้ความสนใจในประเด็นที่มักมีการเข้าใจผิด และต้องการอธิบายข้อเท็จจริงอย่างชัดเจน หากว่าโครงการน้ำเทิน 2 เป็นโครงการที่ไม่สร้างสรรค์ ดังที่ International River Networks ได้กล่าวไว้ ธนาคารจะพิจารณาไม่นำเสนอโครงการนี้ต่อคณะกรรมการบริหารธนาคารโลก

ผลกระทบด้านสังคมและการโยกย้ายถิ่น จากที่ได้ทำการศึกษาผลกระทบโครงการในเรื่องและหัวข้อดังกล่าวมานานกว่า 10 ปีทำให้รับรองได้ว่าชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการนี้จะได้รับการช่วยเหลือจากโครงการ ประชาชนประมาณ 6,000 คนในชุมชนนี้ซึ่งเป็นกลุ่มคนยากจ ที่สุดในประเทศ (80% ของครอบครัวในที่ราบสูงนาไกไม่สามารถปลูกข้าวเลี้ยงชีพได้อย่างเพียงพอในแต่ละปี) จุดมุ่งหมายของผลกระทบ ด้านสังคมและการโยกย้ายถิ่นนั้นนอกจากช่วยให้เกิดรายได้แล้วยังเพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่และช่วยยกระดับรายได้ให้อยู่เหนือเส้นความยา จนของประชาชนลาวผ่านทางโครงการป่าชุมชน, การประมงในอ่างเก็บน้ำ พืชผักสวนครัว การทำนาในพื้นที่ชลประทาน และปศุสัตว์ นักพัฒนาโครงการซึ่งมีข้อตกลงร่วมกับรัฐบาลลาวจะจัดให้มีแผนการการพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและให้ชาวบ้านได้มีรายได้มากขึ้นพ้นเส้นความยากจน

การประชุมปรึกษาหารือกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ. รัฐบาลลาวเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำ การประชุมปรึกษาหารือของโครงการในประเทศลาว ธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียเป็นผู้สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเพื่อให้แน่ใจว่าการ การประชุมปรึกษาหารือจัดทำด้วยความโปร่งใส เสมอภาค และเกิดประโยชน์ ต่อการประชุมปรึกษาหารือ ในครั้งต่อไปที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2547 เอกสาร Safeguard ได้ถูกนำมาสรุป แปล และถ่ายทอดโดยคนกลางไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ (Independent Facilitator) ให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ ผู้แทนของโครงการในระดับอำเภอและระดับหมู่บ้านซึ่งได้ถูกคัดเลือกอย่างเท่าเทียมกันทั้งในเรื่องเชื้อชาติและเพศ ได้ถูกฝึกอบรมให้ถ่ายทอดเนื้อหาจากเอกสารของโครงการอย่างถูกต้องและเป็นกลาง รวมทั้งจัดอภิปรายโดยให้ครัวเรือนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในแต่ละหมู่บ้านมีส่วนร่วม รวมทั้งจัดทำกิจกรรมติดตามผลและเตรียมรายงานของแต่ละหมู่บ้านสำหรับการนำเสนอสู่สาธารณชน การประชุมปรึกษาหารือ ในขั้นสุดท้ายได้จัดขึ้นเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันโดยทบทวนในสิ่งที่ชาวบ้านให้ความสำคัญและ นำเสนอ จนได้ข้อตกลงร่วมกันในการเปลี่ยนแปลงการออกแบบโครงการในส่วนที่สำคัญ

ผู้ตรวจสอบอิสระได้ทำหน้าที่สังเกตุการณ์และประเมินคุณภาพของ การประชุมปรึกษาหารือและให้คำแนะนำในการปรับปรุงขบวนการให้ข้อมูลย้อนกลับ ในรายงานของกระบวนการนี้ซึ่งสามารถอ่านได้จากเว็บไซต์ ผู้ตรวจสอบอิสระให้หมายเหตุไว้ว่าต้องมีการทำกระบวนการนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความมีส่วนร่วมและกระบวนการประชุมปรึกษาหารือ เพื่อรับประกันความต่อเนื่องของการติดตามและ ขบวนการให้ข้อมูลย้อนกลับจากชุมชนในท้องที่ รัฐบาลลาวและผู้พัฒนาได้จัดการประชุมปรึกษาหารือ เพิ่มเพื่อตอบสนองความต้องการและข้อเสนอของชาวบ้านโดยการซักถามในการจัดการประชุมปรึกษาหารือ ครั้งก่อนและอธิบาย รายละเอียดของกรอบการจัดทำมาตรการลดผลกระทบท้ายน้ำ และเงินชดเชยค่าเสียหาย
สิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ ธนาคารโลกได้ทำงานร่วมกับนักพัฒนาเพื่อให้แน่ใจว่าโครงการนี้ได้สอดคล้องกับ นโยบายปกป้องคุ้มครองด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Safeguard Policy) และ ผลประโยชน์จากการอนุรักษ์มีนัยยะสำคัญอย่างชัดเจน แม้ว่าที่ราบสูงนาไกบางส่วนจะถูกน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อน แต่ยังคงมีบริเวณที่เป็นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสัตว์ป่านอกเหนือบริเวณอ่างเก็บน้ำมีพื้นที่ขนาดใหญ่กว่าพื้นที่อ่างเก็บน้ำ 9 เท่าทดแทน โครงการนี้จะก่อให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่องระยะยาวประมาณ 30 ล้านเหรียญเพื่อนำมาใช้ในการจัดการและปกป้องป่าผืนนี้ซึ่งเป็นหนึ่งในป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในภูมิภาคนี้

โครงการน้ำเทิน 2 มีผลกระทบต่อช้างเอเชีย อย่างไรก็ตามบริเวณที่น้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนดังกล่าวได้เหลือพื้นที่รอบๆ อ่างเก็บน้ำสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของช้าง รัฐบาลและนักพัฒนาได้ทำงานร่วมกันกับ NGO ชั้นนำที่ทำงานด้านการอนุรักษ์นานาชาติในการศึกษาและพัฒนาแผนการบนพื้นฐานกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่จะจัดการกับผลกระทบของโครงการที่มีต่อประชากรช้างและเพื่อให้แน่ใจว่าชีวิตความเป็นอยู่ของช้างจะไม่ได้รับอันตรายหรือถูกคุกคาม

ความต้องการพลังงานไฟฟ้าของไทย The World Bank-Commission Economic Analysis สรุปว่า ระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าของประเทศไทยจะเป็นตลาดที่สำคัญของโครงการน้ำเทิน 2 เนื่องจากพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากโครงการน้ำเทิน 2 มีปริมาณเพียงครึ่งหนึ่งของการเติบโตด้านความต้องการพลังงานของไทยในปี ค.ศ. 2009 (คาดว่าตลาดจะมีการเติบโต 6.5% ต่อปี) และเป็นเพียง 6% ของการเติบโตระหว่างปี ค.ศ. 2009 และ ค.ศ. 2016 การศึกษานี้ยังระบุว่า ถึงแม้ว่าโครงการน้ำเทินดูเหมือนจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ แต่ยังถือว่าเล็กเมื่อเทียบกับความต้องการพลังงานของประเทศไทยซึ่งสามารถใช้พลังงานจากเขื่อนนี้ได้ในระยะเวลาอันสั้นเพียง 6 เดือนเท่านั้น

การวิเคราะห์ของธนาคารได้ใช้ข้อเท็จจริงจาก Demand Side Management (DSM) การคาดการณ์ความต้องการพลังงานและได้รวมโครงการ DSM ทั้งหมดซึ่ง Thailand Load Forecast Subcommittee คาดว่าจะถูกตระหนักถึงในการวางแผนการคาดการณ์ความต้องการในการใช้พลังงานซึ่งใช้ใน PROSCREEN ซึ่งจัดทำในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2002 ธนาคารจะเผยแพร่รายงาน DSM เร็วๆ นี้

ซึ่งเมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานอื่น ในขณะที่โครงการน้ำเทิน 2 เป็นทางเลือกที่มีต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ต่ำที่สุดสำหรับความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นของประเทศไทย อัตราค่าตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการ 16 % และผลตอบแทนด้านการเงินเป็นที่น่าพอใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศลาวซึ่งมีหุ้นส่วน 24% แต่ได้รับผลตอบแทนจากโครงการมากกว่ามาก (46%) นอกจากนี้หากว่าเขื่อนได้รับการดูแลและบำรุงรักษาอย่างดีตลอดช่วงการสัมปทาน เขื่อนนี้ จะยังคงมีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกกว่า 10 ปีซึ่งเขื่อนได้เป็นสมบัติของประเทศลาวแล้วในเวลานั้น และสามารถทำกำไรแก่รัฐบาลลาวได้อีก (หลังจากที่จะได้รับ 1.95 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 25 ปีแรกของโครงการ) หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องนี้ศึกษาได้จาก Economic Analysis of the Environmental and Social Impacts of NT2: NT2 Minutes of Hydroelectric of Follow up Meeting on Economic Analysis; Recent Statement and Responses - Letter on Economic Analysis

บทเรียนที่ได้รับจากโครงการสร้างเขื่อนในอดีต ธนาคารโลกได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา นับจากบทเรียนจากโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำในลาวและไทย, โครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากธนาคาร รวมทั้งโครงการท่อส่งก๊าซในประเทศชาด-แคมารูน, โครงการชลประทานบริเวณที่ราบสูง Lesotho, โครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำ Bujagali ในประเทศอูกันดา และรายงานของ World Commission on Dams, รายงานของ Extractive Industries Review และ การศึกษาของ WWF เรื่อง Rivers at risk: dams and future of freshwater ecosystems.

บทเรียนเหล่านี้ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการน้ำเทิน2 เป็นการยืนยันว่าธนาคารให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวมากจึงต้องการให้เกิดความแน่ใจได้ว่าโครงการจะนำประโยชน์ที่แท้จริงและถาวรแก่ประชาชนลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการนี้ได้นำบทเรียนจากอดีตและส่งผลให้เกิดความพยายามต่างๆ ในอันที่จะ

 ศึกษาทางเลือกและออกแบบโครงการอย่างรอบคอบในขณะเดียวที่มีการวิเคราะห์ผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมไปพร้อมๆ กัน
 รวบรวมข้อมูลพื้นฐานอย่างเพียงพอและกำหนดว่ามีความเกี่ยวข้องทางตรงและทางอ้อมกับ โครงการอย่างไร
 กำหนดแผนการลดผลกระทบและเงินชดเชยค่าเสียหายครอบคลุมพื้นที่ของโครงการทั้งหมด อย่างเพียงพอ รวมทั้งข้อตกลงทางการเงินที่เกี่ยวข้องและครอบคลุมรายละเอียดกระบวนการ การประชุมปรึกษาหารือ และการมีส่วนร่วม และ
 พัฒนากลไกที่เฉพาะเจาะจงลงเพื่อตั้งเป้าที่จะนำรายได้จากโครงการไปใช้ในการพัฒนาและสนับสนุนความพยายามที่จะเสริมสร้างระบบของรัฐที่ให้มีความเข้มแข็งหากระบบการจัดการด้าน การบริหารและการใช้จ่ายเงินของภาครัฐเกิดความอ่อนแอ

การจัดการรายได้ รายได้จากโครงการน้ำเทิน 2 คาดว่าจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น ในปีแรกอยู่ที่ 28 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 33 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (คิดตามมูลค่าปัจจุบัน) ระหว่างช่วง 10 ปีแรกที่มีการจ่ายค่า Commercial debt services หลังจากนั้นจะมีรายได้ในปี ค.ศ. 2020 ถึง 2034 เฉลี่ยประมาณ 73 ล้านเหรียญสหรัฐ รายได้นี้มีผลต่อค่าใช้จ่ายของภาครัฐอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างเช่น ประมาณว่ารายได้จากโครงการในปี ค.ศ. 2011 โดยใช้มูลค่าในปี ค.ศ. 2003 นั้น เทียบเท่ากับ 60 % ของค่าใช้จ่ายของรัฐที่ใช้ในด้านการศึกษาและสุขภาพในปี ค.ศ. 2003 รายได้จากโครงการจะถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดความยากจน ปรับปรุงการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลลาวได้ตกลงแผนการที่จะทำให้เกิดความมั่นใจว่ารายได้จากโครงการน้ำเทิน 2 จะนำไปจัดสรรให้กับแผนการที่เข้ากับหลักเกณฑ์ที่มีการตกลงร่วมกันไว้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กล่าวมาข้างต้น แผนการที่จะใช้รายได้จากโครงการนี้ จะต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าช่วยลดความยากจน ปรับปรุงผลกระทบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม มีการจัดการการเงินที่เหมาะสม มีระบบการตรวจสอบที่เพียงพอ รวมทั้งมีมาตรการในเรื่องความโปร่งใสและมีการประชุมปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้องที่ทำงานใกล้ชิดในพื้นที่ นอกจากนี้โครงการดังกล่าวต้องมีความต่อเนื่องจากโครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนมาก่อนหน้านี้ โครงการที่ริเริ่มโดยรัฐบาลลาวเหล่านี้ได้แก่ การศึกษาขั้นพื้นฐาน, สาธารณสุขพื้นฐาน, โครงสร้างพื้นฐานในชนบท, The Road Fund, The Poverty Reduction Fund ทั้งหมดนี้มาจากการจัดลำดับความสำคัญใน Government" s National Growth and Poverty Reduction Strategy (NGPES) แต่อย่างไรก็ดีสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับ NGPES ชุดต่อไป

การจัดการนี้ได้ถูกออกแบบภายใต้กรอบของกฎหมายการจัดทำงบประมาณซึ่งทำหน้าที่บริหารงบประมาณและได้รับการชี้แนะโดยหลักการจัดการค่าใช้จ่ายสาธารณะที่สมเหตุสมผล เนื่องจากรายได้จากโครงการนี้เป็นเพียง 5% ของงบประมาณทั้งหมด ธนาคารโลกได้ตกลงร่วมกับรัฐบาลลาวที่จะทำโครงการ Public Expenditure Management Strengthening Program (PEMSP) มีระยะเวลา 5 ปี ครอบคลุมประเด็นหลักในด้านการจัดการค่าใช้จ่าย, เสริมสร้างประสิทธิภาพให้เจ้าหน้าที่รวมถึงในระดับจังหวัดและมีการเทียบวัดผลการปฎิบัติงาน (Benchmarks) สำหรับกระบวนการติดตามตรวจสอบ การจัดการการบริหารรายได้จากโครงการน้ำเทิน 2 จะสร้างและกระตุ้นในระบบการปฎิรูปภายใต้โครงการ PEMSP โดยเฉพาะโครงการที่มีความเหมาะสมอ่านข้อเท็จจริงของโครงการนี้ได้ที่ www.worldbank.org/lao/nt2 หรือ www.poweringprogress.com และ www.namtheun2.com

ที่เว็บไซต์ www.worldbank.org/lao/nt2 ท่านสามารถอ่าน FAQ ที่ได้รับการปรับปรุงข้อมูล โครงการให้ทันสมัย หรือ ติดต่อเจ้าหน้าที่ดังนี้หากท่านมีข้อสงสัย

สิงคโปร์ Peter Stephens +65-9671-0424 pstephens1@worldbank.org
กรุงเทพฯ Kimberly Versak 0-2256-7792 ext. 322
0-1875-5064 kversak@worldbank.org
วอชิงตัน Cristina Mejia +33 662 702 608 cmejia@worldbank.org
วอชิงตัน Jill Wilkins +1 202 473 1792 jwilkins@worldbank.org
วอชิงตัน Melissa Fossberg +1 202 458 4145 mfossberg@worldbank.org

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net