Skip to main content
sharethis

1. คณะอนุกรรมการส่งเสริมความไว้วางใจ ความยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน
องค์ประกอบ
ประธาน : นายจาตุรนต์ ฉายแสง
รองประธาน : นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์
นายอนันต์ชัย ไทยประทาน
อนุกรรมการ : พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์
นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์
นายพงศ์เทพ เพทกาญจนา
น.ส.เพชรดาว โต๊ะมีนา
นายไพศาล พรหมยงค์
นายมูหัมมัด (มามะ) อาดำ
อนุกรรมการและเลขานุการ : นางจิราพร บุนนาค
อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ : นายอัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง

อำนาจหน้าที่
1) ส่งเสริม สนับสนุน เสนอแนะ และผลักดันให้การดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรมเป็นไปด้วย
ความโปร่งใสตรวจสอบได้ และอยู่ภายใต้กรอบแห่งหลักนิติธรรมอย่างเคร่งครัด ตลอดจนให้มี
การนำเอากระบวนการยุติธรรมทางเลือกที่คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน และการให้ความ
เคารพในวัฒนธรรมและจารีตประเพณีของท้องถิ่น ภายใต้หลักการกระบวนการยุติธรรมเชิง
สมานฉันท์มาปรับใช้

2) ส่งเสริม สนับสนุน เสนอแนะและผลักด้นให้เกิดความเคารพและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและ
เสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรณรงค์ให้ประชาชนได้ทราบ
ถึงสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย ตลอดจนให้เจ้าหน้าที่ของรัฐได้ตระหนัก เห็นความ
สำคัญและเคารพในสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลอย่างจริงจัง

3) เสนอแนะระบบการให้คำแนะนำและความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนที่มี
ประสิทธิภาพ รวดเร็วและทั่วถึง รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ต้องหาและจำเลยใน
คดีอาญาเกี่ยวกับการจัดหาทนาย การประกันตัวและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการต่อสู้คดีที่
เหมาะสม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความยุติธรรมอย่างเสมอภาคภายใต้กรอบของ
กฎหมาย

4) เสนอแนะระบบการเยียวยาที่ครอบคลุมผู้ได้รับภัยจากความรุนแรงทุกฝ่าย

5) ส่งเสริมให้ภาครัฐเห็นความสำคัญและความจำเป็นของการสื่อสารความจริงกับสาธารชน การ
รักษาสัจจะ การปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้

6) สื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความไว้วางใจ และความร่วมมือของทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและภาค
ประชาชน ในกระบวนการยุติธรรมบนพื้นฐานของการให้อภัย ความสมานฉันท์ และความ
เคารพในสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคน

7) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามภารกิจของคณะอนุกรรมการ

8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการฯ มอบหมาย

2. คณะอนุกรรมการจัดการความขัดแจ้งด้วยสันติวิธี
องค์ประกอบ
ประธาน : พระไพศาล วิสาโล
รองประธาน : นายอิสมาอีล ลุตฟี่ จะปะกียา
นายมารค ตามไท
อนุกรรมการ : นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์
น.ส.นารี เจริญผลพิริยะ
นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ
นายพิชัย รัตนพล
นายพิภพ ธงไชย
นางเสาวนีย์ จิตต์หมวด
นายอัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง
อนุกรรมการและเลขานุการ : นางจิราพร บุนนาค
อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ : พล.ต.ท.สมศักดิ์ แขวงโสภา

อำนาจหน้าที่
1) สนับสนุนให้เกิดพลังขับเคลื่อนคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 187/2546 ว่าด้วย "นโยบายการ
จัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี" เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติขององค์กรรัฐ

2) จัดทำแผนและหลักสูตรส่งเสริมการเรียนรู้สันติวิธีและเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่
ของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง

3) พัฒนาการใช้สันติวิธีในการต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีและความเป็นธรรมบนพื้นฐานของศาสนา และ
วัฒนธรรม ด้วยการระดมความคิดจากประชาชนในพื้นที่

4) แสวงหาความร่วมมือจากผู้นำในทุกวงการ ที่พร้อมจะสนับสนุนสันติวิธี

5) ปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เอื้อต่อการใช้สันติวิธีในสังคมไทย ด้วยการรณรงค์ผ่านสื่อมวลชน

6) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามภารกิจของคณะอนุกรรมการ

7) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการฯ มอบหมาย

3. คณะอนุกรรมการศึกษาวิธีทางการพัฒนาเพื่อความมั่นคงของมนุษย์
องค์ประกอบ
ประธาน : นายอัมมาร สยามวาลา
รองประธาน : นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ
นายปิยะ กิจถาวร
อนุกรรมการ : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์
นายบัญชา พงษ์พานิช
นางพรนิภา ลิมปพยอม
นายพิภพ ธงไชย
นางรัตติยา สาและ
นายแวดือราแม มะมิงจิ
พล.ท.ไวพจน์ ศรีนวล
นายศรีศักร วัลลิโภดม
พล.ต.ท.สมศักดิ์ แขวงโสภา
นางเสาวนีย์ จิตต์หมวด
นายอับดุลเร๊าะห์มาน อับดุลสมัด
นายอิสมาอีล ลุตฟี่ จะปะกียา
เลขานุการ : น.ส.นภาพร เมฆดำรงค์รักษ์
ผู้ช่วยเลขานุการ : นายณัฐนันท์ วิจิตรอักษร
น.ส.ตูแวคอลีเย๊าะ กาแบ

อำนาจหน้าที่
1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาและแนวนโยบายสำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ในอนาคตที่รอบด้าน
ครอบคลุมทั้งการศึกษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และทรัพยากรธรรมชาติ โดยถือเอาความมั่นคง
ในชีวิตของผู้คนและศักดิ์ศรีของมนุษย์เป็นประเด็นใจกลาง

2) สร้างกระบวนการรับฟังความคิดเห็นโดยส่งเสริมการให้ทุกภาคส่วนใส่ใจกับกิจการของ
บ้านเมือง มีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย และการพัฒนา

3) ส่งเสริมให้สังคมไทยในวงกว้างเห็นความสำคัญของการพัฒนาที่ถือความมั่นคงของมนุษย์เป็น
เป้าหมาย

4) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามภารกิจของคณะอนุกรรมการ

5) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการฯ มอบหมาย

4. คณะอนุกรรมการส่งเสริมพลังความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมไทย
องค์ประกอบ
ประธาน : นายประเวศ วะสี
รองประธาน : น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา
นายวรวิทย์ บารู
อนุกรรมการ : นายบัญชา พงษ์พานิช
นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ
นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
นายพิชัย รัตนพล
น.ส.เพชรดาว โต๊ะมีนา
นายไพศาล พรหมยงค์
นายมูหัมมัด (มามะ) อาดำ
นางมัรยัม สาเม๊าะ
นายวิชัย เทียนถาวร
นายศรีศักร วัลลิโภดม
นายโสภณ สุภาพงษ์
เลขานุการ : นายสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
ผู้ช่วยเลขานุการ : น.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์

อำนาจหน้าที่
1) ส่งเสริมความสมานฉันท์ในชาติโดยเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์

2) เปิดพื้นที่ทางความคิดเกี่ยวกับจินตนาการใหม่ในเรื่องชาติและความเป็นไทย

3) สร้างความไว้วางใจในหมู่ผู้คนที่หลากหลายทางวัฒนธรรม ด้วยการเปิดพื้นที่ให้ประวัติศาสตร์
ท้องถิ่นทั้งที่เป็นประวัติศาสตร์บาดแผล และตำนานแห่งความภาคภูมิในอดีตให้กลายเป็นส่วน
หนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทย

4) ประสานงานกับหมู่มิตรทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อสร้างเครือข่ายสมานฉันท์ให้โยงใย ใส่ใจกัน
และกันทั่วทั้งสังคมไทย

5) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามภารกิจของคณะอนุกรรมการ

6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการฯ มอบหมาย

5. คณะอนุกรรมการเพื่อความปรองดองและความสมานฉันท์ในพื้นที่
องค์ประกอบ
ประธาน : พลเอก ณรงค์ เด่นอุดม
รองประธาน : พระครูธรรมธรนิพล โชตโก
นายวรวิทย์ บารู
อนุกรรมการ : น.ส.นารี เจริญผลพิริยะ
นายเนตร จันทรัศมี
นายบัญชา พงษ์พานิช
น.ส.เพชรดาว โต๊ะมีนา
นายมูหัมมัด (มามะ) อาดำ
นายมัรยัม สาเม๊าะ
นายรัตติยา สาและ
นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ
นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ
นายแวดือราแม มะมิงจิ
นายศิระชัย โชติรัตน์
นายสุจริต ปัจฉิมนันท์
นายอนันต์ชัย ไทยประทาน
นายอับดุลเราะแม เจะแช
นายอับดุลเร๊าะห์มาน อับดุลสมัด
นายอัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง
นายอิสมาอีล ลุตฟี่ จะปะกียา
อนุกรรมการและเลขานุการ : นายปิยะ กิจถาวร
ผู้ช่วยเลขานุการ : พันเอก โภชน์ นวลบุญ

อำนาจหน้าที่
1) ทำการสำรวจ รับฟัง ประมวล วิเคราะห์ข้อคิดเห็นของประชาชน ภาครัฐ องค์กรศาสนา เกี่ยวกับ
การสร้างความปรองดองและความร่วมมือในพื้นที่ เสนอ กอส. และสาธารณชน

2) เผยแพร่แนวคิด และข้อมูลเพื่อสร้างความสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมของทุกศาสนา การ
พบปะเยี่ยมเยือน ผู้สูญเสียทุกฝ่ายจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น การเผยแพร่แนวคิดและ
ข้อมูลสร้างความสมานฉันท์ผ่านสื่อมวลชนทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับประเทศ

3) สนับสนุนองค์กรศาสนา ภาครัฐและชุมชน ในการจัดกิจกรรมสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่
รวมทั้งการรับเรื่องราวร้องทุกข์

4) สนับสนุนงาน กอส. และคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ ในพื้นที่

5) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามภารกิจของคณะอนุกรรมการ

6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการฯ มอบหมาย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net