Skip to main content
sharethis

เมื่อ เวลา 17.00 น.วันที่ 23 พฤษภาคม 2548 ที่ห้องประชุมสภาเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการเยียผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมคณะ จำนวน 10 คน พร้อมคณะได้เดินทางมารับฟังความคิดเห็นกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในส่วนของจังหวัดสงขลา เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ โดยมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยข้าราชการ ตำรวจ ทหาร และประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนจากปัญหาความไม่สงบในจังหวัดสงขลา จำนวน 100 คน

นายจาตุรนต์ กล่าวก่อนเข้าประชุมว่า การช่วยเหลือเยี่ยวยาผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งได่วยเหลือไปแล้วพอสมควร สำหรับคนที่มีรายชื่ออยู้ ส่วนรายที่ตกหล่นทางจังหวัดจะเป็นผู้ดำเนินการสำรวมใจข้อมูลต่อไป จากการพบปะกับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนที่ผ่านมา พบปัญหาหลักๆ คือข้าราชการที่ได้รับความเดือดร้อนต้องการย้ายออกนอกพื้นที่ ส่วนรายที่บาดเจ็บสาหัสต้องการย้ายลูกกับเมียออกนอกพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจน เพราะการดูแลในเรื่องนี้งยังมีเจ้าภาพที่กระจัดกระจายอยู่ การช่วยเหลือจึงยังไม่ครอบคลุมส่วนรายที่ช่วยเหลือไปแล้ว ก็ยังน้อยเกินไป ไม่ว่าจะเป็นด้านเงิน หรือด้านต่างๆ

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามในวันเสาร์-อาทิตย์ ตนจะเดินทางมาที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคตอีกครั้ง เพื่อมารับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่ได้รับความเดือนร้อนอีกครั้ง โดยให้แต่ละจังหวัดตั้งโต๊ะรับเรื่องร้องเรียนต่างๆ และอะไรที่ช่วยได้ก็ให้ช่วยไปก่อน และในวันที่ 25 พฤษภาคม 2548 จะมีการประชุมเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการให้ความช่วยเหลือ คาดว่า ปลายเดือนพฤษภาคม จึงจะมีข้อมูลการให้ความช่วยเหลือที่ชัดเจนได้ สำหรับเด็กกำพร้าเนื่องจากบิดาเสียชีวิต คาดว่าภายใน 3-4 สัปดาห์ จึงจะสามารถให้ความช่วยเหลือเรื่องทุนการศึกษาได้

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ทั้งนี้ในการให้ความช่วยเหลือเยียวยา ทางกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้จะดูแลในภาพรวม ส่วนทางจังหวัดก็จะให้ลงไปดูแลบูรณาการการช่วยเหลือ หากพบปัญหาอยู่ที่หน่วยงานใด ทางคณะกรรมกมรเยียวก็จะไปผลักดัที่หน่วยงานนั้นต้นสังกัด การเยียวยาในระยะยาวกำลังพิจารณาเรื่องการตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือด้วย
ส่วนในที่ประชุม ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสามีของข้าราชการที่เสียชีวิตได้ร้องเรียนว่ายังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐเลย ซึ่งเวลาได้ล่วงเลยมานานแล้ว เช่น นางทิพย์นารถ แก้วศิริ ภรรยาของนายสว่าง แก้วศิริ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลธารคีรี อำเภสะบ้าย้อย กล่าวว่า สามีถูกยิงเสียชีวิต เมื่อันที่ 14 กรกฎาคม 2547 ซึ่งขณะนี้คดียังไม่มีความคืบหน้า ยังไม่ทราบสาเหตุการสังหาร ซึ่งขณะนี้ตนยังไม่ได้รับการดูแลใดๆจากภาครัฐเลย เช่นเดียวกับนางปรานี อินทร์จันทร์ ซึ่งสามีเป็นตำรวจถูกยิงเสียชีวิตเช่นกัน กล่าวว่า ตนได้รวบรวมข้อมูลส่งไปให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ เช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีญาติของตำรวจชุมชนในอำเภอจะนะ ซึ่งถูกยิงเสียชีวิต ได้ออกมาเรียกร้องความช่วยเหลือเช่นเดียวกับข้าราชการ เนื่องการสามีต้องฏิบัติหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางราชการไม่แตกต่างกัน แต่กลับไม่ได้รับความช่วยเหลือจากทางราชการมากนัก และขอให้รับภรรยาเข้าไปรับราชการด้วยเพราะจะเป็นหลักประกันให้ในเรื่องรายได้ของครอบครัวได้

ทางด้านนายจาตุรนต์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ การให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่เดืดร้อนจากความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลกำหนดให้ช่วยเหลือเฉพาะในพื้นที่จังหวัดปัตตาน ยะลาและนราธิวาส เท่านั้น จนเมื่อเกิดเหตุการณ์ลอบวางระเบิดที่อำเภอหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2548 ตนได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้มาดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนในจังหวัดสงขลาด้วย ซึ่งคณะนี้ได้มีมติคณะรัฐนตรีให้เยียวยาในส่วนของจังหวัดสงขลาให้เหมือนกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ซึ่งภายในเดือนพฤษภาคม 2548 นี้ แต่ละจังหวัดจะไปประชุมสรุปเกี่ยวข้อมูลผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งหมดและจะนำความคิดเห็นทั้งหมดมากำหนดเป็นหลักเกณฑ์ให้ความช่วยเหลือต่อไป

นายสมพร ใช้บางยาง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ขณะนี้ทางจังหวัดได้ตั้งคณะทำงานเยียวยาผุ้ที่ได้รับความเดือดร้อนในระดับอำเภอแล้ว โดยให้นายอำเภอเป็นประธาน เพื่อให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นไปก่อน จะรวบรวมข้อมูลในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาต่อไป

หลังจากนั้นนายจาตุรนต์ พร้อมคณะได้เดินทางไปที่โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ เพื่อเยี่ยมผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ลอบวางระเบิดที่สนาบินนาชาติหาดใหญ่และที่ห้างคาร์ฟูร์สาขาหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2548 ซึ่งขณะนี้ยังนอนพักรักษาตัวอยู่อีก 4 ราย

นายจาตุรนต์ เปิดเผยว่า สำหรับข้อเสนอของญาติผู้เสียชีวิตที่อำเภอสะบ้าย้อย ในเหตุการณ์วันที่ 28 เมษายน 2547 ให้ตั้งคณะกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์ณืที่เกิดขึ้นที่ ตลาดสะบ้าย้อยนั้น ตนได้ปรึกษากับ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว แต่ไม่มีข้อสรุปว่าจะตั้งกรรมการสอบหรือไม่ ซึ่งจะต้องกลับไปพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

ก่อนหน้านี้ เมื่อเวลา 10.45 น. วันเดียวกัน นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะเดินทางมาพบปะเยี่ยมเยียนคณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านลือมุ หมู่ที่ 8 ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ซึ่งถูกคนร้ายลอบวางเพลิงเมื่อกลางดึกวันที่ 15 พฤษภาคม 2548 ทำให้อาคาร 2 ชั้นเสียหายทั้งหลัง โดยได้มอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่แทนเครื่องที่ถูกไฟไหม้เสียหาย 1 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์การเรียนการสอนจำนวนหนึ่ง รวมทั้งไปพบปะและให้กำลังใจครูและนักเรียนของโรงเรียนบ้านหาดทราย ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ซึ่งถูกลอบวางเพลิงเช่นกัน

จากนั้นคณะของนายจาตุรนต์ได้เดินทางไปรับประทานอาหารร่วมกับนายบุณยสิทธิ์ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัด พล.ต.ต.ปริญญา ขวัญยืน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา และ พ.อ.กิตติ อินทรสร ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ 1 ยะลา ที่ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือที่เคยถูกลอบวางระเบิดจนเจ้าของร้านเสียชิวิตและมีผู้บาดเจ็บกว่า 40 คน เมื่อปลายปี 2547

ต่อมาได้เดินทางไปเยี่ยมปลอบขวัญ นายซาการียา แวบือซา สมาชิก ชุดรักษาควสามปลอดภัยหมู่บ้าน ดุซงตาวา ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหัดยะลา ซึ่งบาดเจ็บจากเหตุการณ์ตอบโต้คนร้ายที่เข้ามาลอบยิงจนคนร้ายเสียชีวิต 1 คน ซึ่งพักรักษาตัวที่ห้องพิเศษ ชั้น 2 ตึกยี่เกี่ยว โรงพยาบาลศูนย์ยะลา

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณเพื่อสร้างอาคารเรียนใหม่ให้โรงเรียนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ก่อความไม่สงบแล้ว เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้นักเรียนได้มีที่เรียนแล้ว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net