การอนุรักษ์ประชากรสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในเอเชีย

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

รายงานพิเศษ
จอห์น พาร์ : ผู้อำนวยการฝ่ายอนุรักษ์ WWFประเทศไทย

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา รายงานหลายฉบับได้แสดงให้เห็นถึงสถานภาพอันน่าวิตกของชนิดพันธุ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในบางประเทศของทวีปเอเชีย หนึ่งในรายงานดังกล่าวนี้ เป็นที่น่าตกใจอย่างมากจนทำให้นายกรัฐมนตรีของอินเดีย ต้องหันมาให้ความสนใจด้วยตนเอง กล่าว
คือ ที่อุทยานแห่งชาติ Sariska ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตสงวนพันธุ์เสือ 28 แห่งของอินเดียนั้น เสือทุกตัวที่มีอยู่ได้หายไป นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า เสืออีก 18 ตัว หายไปจากเขตสงวน Ramtha
mbhore

จากการสำรวจประชากรเสือของรัฐบาลอินเดียครั้งล่าสุดระหว่างปี 2544 -2545 พบว่ามีประชากรเสือในประเทศอินเดียรวม 3,600 ตัว แต่จากแหล่งข้อมูลของนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมกลับชี้ว่า ปัจจุบัน อินเดียเป็นที่อยู่ของเสือเพียง 1,800 ตัวเท่านั้น ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่มีความพยายามคุ้มครองเสือในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

ด้วยเหตุดังกล่าว คาดว่านายกรัฐมนตรีซิงค์ ของประเทศอินเดีย จะเดินทางไปเยี่ยมเขตสงวน Ramthambhore ในสัปดาห์นี้เพื่อยืนยันความสำคัญของการให้ความคุ้มครองสัตว์ดังกล่าว
ส่วนที่เนปาล ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของอินเดีย และเป็นที่อาศัยของแรดอินเดีย (Indian rhino)กว่า 1ใน 4 ของประชากรชนิดพันธุ์ดังกล่าวในภูมิภาคเอเชียใต้ การสำรวจของทางการซึ่งพบแรดอินเดียในประเทศเป็นจำนวน 2,000 ตัว ได้ถูกนำมาใช้อ้างความสำเร็จของการอนุรักษ์สัตว์ชนิดนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธ์ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก

แต่ผลการสำรวจจำนวนประชากรครั้งล่าสุดกลับพบว่า จำนวนแรดอินเดียในอุทยานแห่งชาติ 3 แห่งลดลงจากเดิมที่มีอยู่ 600 ตัวเมื่อปี พ.ศ. 2543 เหลือไม่ถึง 400 ตัวในช่วงต้นของปีนี้ ซึ่งเป็นผลจากการลักลอบล่าสัตว์ เพราะขาดมาตรการคุ้มครองที่ดีพอ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาขัดแย้งกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนคอมมิวนิสต์ที่มีมานานในประเทศเนปาล

ด้วยจำนวนช้าง 5,000 เชือก ในประเทศพม่า จึงจัดเป็นถิ่นที่อยู่ของช้างป่าจำนวนมากเป็นอันดับสองของทวีปเอเชีย รองจากประเทศอินเดีย แต่จากข้อมูลของ Ye Htut ซึ่งเป็นผู้เชี่ยว
ชาญด้านช้างของกรมป่าไม้พม่า กลับพบหลักฐานชัดเจนว่า ประชากรช้างป่าในพม่ากำลังลดลง ถึงแม้ว่าการลักลอบล่าช้างจะมีบทลงโทษปรับเงินเป็นจำนวนมากและจำคุกเป็นเวลาถึง 7 ปี แต่นายพรานก็ยังคงล่าช้างต่อไป

ส่วนในประเทศอินเดีย พื้นที่คุ้มครองหลายแห่งได้มีรายงานการพบสัดส่วนที่ผิดปกติระหว่างจำนวนช้างเพศผู้และเพศเมีย อันเป็นผลมาจากการล่าช้างเพศผู้เพื่อเอางา ตัวอย่างเช่น A.T. Pooviah ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนของอุทยานแห่งชาติ Bandipur ซึ่งนำทีมเจ้าหน้าที่ออกจับกุมผู้ลับลอบล่าสัตว์ป่ารายงานว่า พบช้างเพศผู้ 1 ตัว ทุกๆ ช้างเพศเมีย 15 ตัว ซึ่งเป็นแนวโน้มที่น่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง

ความเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ของประชากรสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ดูเหมือนจะได้รับความคุ้มครองอย่างดีในทวีปเอเชีย ได้ปรากฏเป็นที่ชัดเจนในปัจจุบัน ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้นำไปสู่คำถามที่ว่า มีสิ่งใดที่ทำได้ในการปกป้องสัตว์ป่าดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น จะมีกลยุทธ์การอนุรักษ์ใดที่ดีกว่า และสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มโอกาสการอยู่รอดของสัตว์

เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่งดงามเหล่านี้ในทวีปเอเชีย ทั้งนี้ เราจำเป็นต้องตระหนักว่า การอนุรักษ์ยังคงเป็นศาสตร์ที่อยู่ระหว่างการวิวัฒน์ไปสู่ความเป็นเลิศ และเรายังคงต้องเรียนรู้วิธีการแก้ไขแนวทางในการดำเนินการ

แนวทางจัดการพื้นที่คุ้มครองที่ยึดปฏิบัติกันในช่วง 100-150 ปีที่ผ่านมา มักมองประชาชนกับธรรมชาติเป็น 2 สิ่งที่แยกขาดจากกัน และบังคับให้กันชุมชนมนุษย์ออกจากพื้นที่คุ้มครอง ห้ามชุมชนเข้าไปหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และมองว่าข้อวิตกของชุมชนเป็นสิ่งที่ขัดต่อแนวทางการอนุรักษ์ แต่ในความเป็นจริง พื้นที่คุ้มครองส่วนใหญ่ทั่วโลก มักมีประชาชนอาศัยอยู่ในพื้น
ที่หรือพึ่งพาพื้นที่ดังกล่าวเพื่อการดำรงชีวิต แนวทางการกีดกันดังกล่าวจึงทำให้เกิดความสูญเสียทางสังคมที่รุนแรงจนนำไปสู่ความไม่ใส่ใจของท้องถิ่นต่อการอนุรักษ์

ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ในพื้นที่คุ้มครองกับชุมชนท้องถิ่น เป็นปัจจัยหลักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระยะยาวซึ่งรวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ อันเห็นได้อย่างชัดเจนในประเทศกำลังพัฒนา ที่ซึ่งการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นไปได้ยาก หากขาดการสนับสนุนของชุมชนท้องถิ่น ทั้งเสือ แรดอินเดีย และช้างเอเชีย ต่างจะได้รับประโยชน์

หากมีการสนับสนุนการอนุรักษ์สัตว์ป่าดังกล่าวจากชุมชนท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น โดยจัดตั้งกลุ่มปกป้องสัตว์ป่าท้องถิ่น และจัดการกับภัยคุกคามจากภายนอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลักลอบล่าสัตว์

ด้วยเหตุดังกล่าว จึงควรมีการพิจารณาถึงวิธีในการเปลี่ยนทัศนคติในระดับท้องถิ่น และตั้งคำถามว่าชุมชนท้องถิ่นในเอเชียควรมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติมากแค่ไหน

ทั้งนี้ ได้มีข้อคิดเห็นให้แบ่งปันอำนาจการจัดการระหว่างหน่วยงานรัฐ "ที่รับผิดชอบ" และชุมชนที่เกี่ยวข้อง แต่การบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองนั้นก็มีความซับซ้อนกว่าระบบแนวทางคู่แบบธรรมดา (มีส่วนร่วม/ไม่ให้มีส่วนร่วม) จะใช้ได้

ถึงกระนั้น แนวโน้มในระดับโลกได้ปรับจากระบบการกันชุมชนออกจากการบริหารจัดการ ไปสู่ระบบที่ชุมชนมีบทบาทในการมีส่วนร่วม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแนวทางนี้ ถูกเรียกว่า "การเปลี่ยน
แปลงแนวคิด" (paradigm shift)

หน่วยงานในพื้นที่คุ้มครองหลายแห่ง ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงแนวคิดดังกล่าว ทั้งนี้ ประเทศเคนย่า อูกันดา ทานซาเนียและซันซิบา ต่างได้ดำเนินการปรับปรุงองค์กรพื้นที่คุ้มครองของตนให้ทันสมัยขึ้น

โดยทุกประเทศได้พัฒนานโยบายและโครงการเพื่อการมีส่วนร่วมของและสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน ในแต่ละประเทศได้มีการจัดตั้งหน่วยบริการการอนุรักษ์โดยชุมชน เพื่อทำงานร่วมกับชุมชนโดยรอบพื้นที่คุ้มครองและประชาชนในพื้นที่ที่อุดมด้วยสัตว์ป่าอื่นๆ ในประเทศออสเตรเลีย ได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการในแต่ละวัน อันเป็นผลมาจากการเพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการอนุรักษ์ธรรมชาติ

ประเทศไทยเริ่มระบบการจัดการร่วมได้ไม่นานนัก โดยเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2544 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ริเริ่มโครงการนำร่องเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนในอุทยานแห่งชาติ อันเป็นผลโดยตรงของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 กอปรกับการสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้นต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าไม้ โครงการที่มีความสำคัญนี้ยังคงดำเนินการอยู่ในพื้นที่ 7 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติออบหลวง อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน อุทยานแห่งชาติแหลมสน และอุทยานแห่งชาติทะเลบัน

เมื่อไม่นานมานี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เริ่มดำเนินโครงการ "การจัดการพื้นที่คุ้มครองร่วม" ด้วยการสนับสนุนของรัฐบาลเดนมาร์ก (Danida) โดยโครงการดังกล่าวตั้งเป้าหมายไปสู่ "การจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพัฒนาแนวทางใหม่ๆขึ้นมาเช่น แนวทางเชิงระบบนิเวศ (ecosystem approach) และการจัดการร่วม โดยนำเอาการจัดการดังกล่าวไปใช้ในระบบพื้นที่คุ้มครอง ในฐานะกลยุทธ์หลักของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช"

ในระดับพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการในประเทศไทยจะบรรลุผลก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยน
แปลงทัศนคติของทั้งเจ้าหน้าที่พื้นคุ้มครองและชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้ การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่พื้นที่คุ้มครอง เพื่อพัฒนาหน่วยบริการการอนุรักษ์โดยชุมชน เป็นสิ่งที่จำเป็นในขั้นต้น

นอกจากนี้ การดึงเอาชุมชนท้องถิ่นมาเพื่อทำความเข้าใจถึงแนวโน้มและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง เมื่อได้มีการดำเนินการข้างต้นแล้ว จึงจะเกิดฉันทามติระหว่างทั้งสองฝ่ายในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสามารถเริ่มสร้างการสนับสนุนในระดับท้องถิ่นต่อการอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ซึ่งรวมถึงการมีเครือข่ายข้อมูลการลับลอบล่าสัตว์ป่าด้วย

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควรพิจารณาให้มีการพัฒนาการอนุรักษ์ประชากรสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ โดยขั้นแรกคือ การวิเคราะห์ภัยคุกคามจากการลักลอบล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ภายในระบบพื้นที่คุ้มครองโดยรวมในระดับชาติ

ในขั้นที่สอง กระทรวงฯ ควรส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถด้านการประชาสัมพันธ์ชุมชนในทุกพื้นที่คุ้มครองโดยอาศัยหน่วยงานพิเศษ ภายใต้การสนับสนุนของกองประชาสัมพันธ์ชุมชนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ภายใต้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ขั้นที่สาม คือการจัดตั้งคณะกรรมการระหว่างหน่วยงานเพื่อปราบปรามการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานด้านการจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย โดยคณะ
กรรมการจะทำหน้าที่ดูแลการพัฒนาความร่วมมือจากระดับชุมชนไปสู่ระดับอำเภอและระดับจังหวัด ในการปราบปรามการค้างาช้าง หนังสือ และอวัยวะสัตว์ป่าอื่นๆ

อีกประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องคือ ในระดับภูมิภาค จะมีการประชุมผู้นำประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ณ เมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 4 -5 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งการประชุมจะเน้นหนักในเรื่องการพัฒนาสาธารณูปโภคและโอกาสทางการค้า การลงทุน และการผลิตที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสาธารณูปโภคตามแนวถนนที่เชื่อมโยงประเทศต่างๆ จาก Mawlamyine (พม่า) ไปสู่เมืองดานัง (เวียดนาม) และจากคุนหมิง มายังกรุงเทพฯ ช่วงการติดต่อทางเศรษฐกิจเหล่านี้จะคุกคามการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชากรสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ซึ่งตกเป็นเป้าของการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายหากไม่มีมาตรการที่เพียงพอในการป้องกันหรือลดผลกระทบในทางลบและผลกระทบที่สะสมจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าว

จากการที่โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้ให้การรับรองกรอบการพัฒนาเชิงกลยุทธ์เพื่อเป็นแนวทางความร่วมมือในการพัฒนาในอีก 10 ปีข้างหน้า กรอบการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่ครบถ้วนสมบูรณ์และชัดเจนจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง และควรประกอบด้วยการกำหนด "ช่องทางการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างประเทศ" (biodiversity conservation corridor)

โดยภายใต้กรอบดังกล่าวสำหรับภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ควรมีการพิจารณาแผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยการค้าพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ (พ.ศ. 2548-2553) รวมถึงประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสนับสนุนเงินทุน หากมิฉะนั้นแล้ว โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจดังกล่าวอาจทำให้ช้าง เสือ และแรดสูญสิ้นไปจากภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงก็เป็นได้

ทุกวันนี้ ประเทศไทยสามารถภูมิใจกับความสำเร็จในการอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ทั้งนี้ เราจำเป็นต้องพัฒนาบนความสำเร็จดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของความรับผิดชอบระดับนานาชาติของประเทศ ในการดูแลความอยู่รอดของชนิดพันธุ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่ถูกคุกคามที่สุดในทวีปเอเชียที่ได้มีจำนวนลดลงในไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

-----------------

John Parr เป็นผู้อำนวยการฝ่ายอนุรักษ์ขององค์กร WWF ประเทศไทย เขาเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการด้านพื้นที่คุ้มครองและคณะกรรมาธิการอยู่รอดของชนิดพันธุ์ ของ IUCN ตลอดจนเป็นผู้เขียนหนังสือ "A Field Guide to the Large Mammals of Thailand"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท