Skip to main content
sharethis

บีเอ็มเจ เจอร์นัล/ประชาไท - ในที่สุดกลุ่มประเทศร่ำรวยก็ยอมยกเลิกหนี้ในประเทศที่ยากจนที่สุด 18 ประเทศ จำนวน 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯพร้อมทั้งประกาศตั้งเป้าการเข้าถึงการักษาเอดส์อย่างทั่วถึงภายในปี 2010

ผลจากจากประชุมระดับรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารของกกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นของโลก ( G8) ที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งเป็นการประชุมก่อนที่จะมีการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม G 8 ในวันที่ 6-8 กรกฎาคม ศกนี้ ที่สก็อตแลนด์ ปรากฏว่า ที่ประชุมสามารถบรรลุข้อตกลงที่จะยกเลิกหนี้สินให้กับกลุ่มประเทศที่ยากจนที่สุดของโลก 18 ประเทศโดยมีมูลค่าหนี้รวม 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยหนี้สินที่จะปลดให้นี้จะเป็นทั้งหนี้ที่มีอยู่กับประเทศในกลุ่ม G8 และ หนี้ที่มีกับธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาอัฟริกา และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

ทั้งนี้ ประเทศที่ได้รับการยกเลิกหนี้เป็นประเทศในทวีปอัฟริกา 14 ประเทศ ได้แก่ เบนิน, เบอรกินา ฟาโซ, เอธิโอเปีย, กานา, มาดากัสการ์, มาลี, มอริทาเนีย, โมแซมบิค, ไนเจอร์, รวันดา, เซเนกัล, แทนซาเนีย, อูกันดา, และแซมเบีย และอีก 4 ประเทศในลาติน อเมริกา ได้แก่ โบลิเวีย, กียานา, ฮอนดูรัส, และ นิคารากัว

นอกจากนั้นจะยังมีการเตรียมปลดหนี้กับอีก 9 ประเทศในช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า และจะช่วย เหลือแบบเดียวกันในอีก 11 ประเทศในอีก 2-3 ปีข้างหน้าโดยจะมีประเทศที่ได้รับการปลดหนี้รวมถึง 38 ประเทศและยอดการปลดหนี้จะอยู่ที่ 55,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นอกหเหนือจากปลดหนี้ให้แก่ประเทศยากจนแล้ว ที่ประชุมยังได้เห็นพ้องที่จะตั้งเป้าเอาไว้อีกอย่างหนึ่งคือ " การเข้าถึงการรักษาเอดส์อย่างทั่วถึงภายในปี 2010 และการพัฒนาวัคซีน เอดส์ และ มาเลเรีย "

การที่ผลประชุมสามารถสรุปออกมาได้เช่นนี้ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จองนาย โทนี แบรล์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษอีกครั้งหนึ่งที่ได้เดินทางไปเจรจาโน้มน้าวให้ประเทศในกลุ่มกลุ่ม G8 ได้ยกเลิกหนี้สินให้กับประเทศที่ยากจนในอัฟริกา และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านก็ได้ไปพบกับนายจอร์จ บุช ที่วอชิตัน ดี ซี ทว่าอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะถึงแม้ว่าอเมริกาจะเห็นด้วยกับการยกเลิกหนี้ให้กับประเทศยากจน แต่ก็ยังไม่ยอมที่ให้คำมั่นที่เป็นเช่นเดียวกับรัฐบาลในประเทศยุโรปที่รับปากแล้วว่าจะเพิ่มงบประมาณความช่วยเหลือขึ้นเป็น 0.7 % ของรายได้รวมของประเทศภายในปี 2015

นายกอร์ดอน บราวน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอังกฤษกล่าวว่า แต่ถึงกระนั้น ( แม้ว่าสหรัฐฯจะไม่ยอมเพิ่มงบช่วยเหลือ) จากการที่มีประเทศอื่นๆรับปากเรื่องงบช่วยเหลือเอาไว้นั้นก็เพียงพอที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่ทางคณะกรรมาธิการอัฟริกาของนายกรัฐมนตรีอังกฤษได้วางเอาไว้ว่า จะต้องเพิ่มความช่วยเหลือให้แก่อัฟริกาในทันทีเป็นมูลค่า 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ถึงแม้ว่า หลังประกาศแผนการดังกล่าวนี้ออกไป ก็ได้รับคำยกย่องชมเชยเป็นอันมากทั้งจากเหล่าชาติยากจน ตลอดจนกลุ่มเคลื่อนไหวภาคเอกชน แต่มีเสียงท้วงติงเช่นกันว่า หากจะช่วยประเทศยากจนให้พ้นทุกข์ได้จริงแล้ว จำเป็นต้องให้เงินช่วยเหลือก้อนใหม่ๆ เพื่อใช้ในการพัฒนาด้วย และที่สำคัญยิ่งคือประเทศร่ำรวยต้องเลิกอุดหนุนภาคเกษตร ชาติยากจนจะได้มีช่องทางทำมาหากินกับการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net