Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

1 ใน 3 ของคนวัย 35-50ปี ในอัฟริการใต้เป็นพวกที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง คนยุโรป 1 ใน 3 ของคนทำงานสำนักงานบ่นเรื่องการปวดหลัง หลายคนต้องขอลาออกจากงานก่อนกำหนดด้วยปัญหาสุขภาพครึ่งหนึ่งคือพวกที่มีปัญหาเรื่องหลัง แล้วคุณล่ะ ระวังหลังคุณไว้บ้างหรือยัง


 


ลองสำรวจดูซิว่า วันหนึ่งๆคุณนั่งอยู่หลังโต๊ะทำงานกี่ชั่วโมง  รู้หรือไม่ว่าร่างกายคนเรานั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาให้นั่งอยู่กับที่นานๆ  แต่หากใครก็ตามที่ต้องนั่งโต๊ะทำงานอยู่นานๆในท่าที่ไม่ถูกต้อง ต้องระวังให้ผลร้ายที่จะเกิดขึ้นทั้งกับร่างกายและจิตใจให้ดี  และที่ร้ายที่ที่สุดคือมีผลกระทบต่อท่าทางต่างๆของคุณด้วย


 


ที่อัฟริกาใต้คนทำงานสำนักงานครึ่งหนึ่งรู้สึกทรมานจากอาการปวดหลัง และ 1 ใน 3 ของคนอายุ 35- 50 ปีก็เป็นพวกที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังไปเรียบร้อยแล้ว


 


ที่ยุโรป 1 ใน 3 ของคนทำงานในสำนักงานบ่นเรื่องอาการเจ็บและปวดที่หลัง คอ แขน ไหล่ และหัว และเกือบครึ่งของการทำงานต้องขาดไปและมีการขอสมัครลาออกจากงานก่อนกำหนดเนื่องจากปัญหาสุขภาพเกือบครึ่งหนึ่งเป็นเพราะมีปัญหาเรื่องหลังโดยตรง


 


"คนไม่ได้ถูกออกแบบมาให้นั่งอยู่บนเก้าอี้นานๆ  จากการศึกษาเกี่ยวกับการจัดวางรูปแบบของที่ทำงานและอุปกรณ์สำนักงานที่เหมาะสม สะดวก ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพพบว่า การมีกิจ กรรมในจำนวนที่เหมาะสมสำหรับกล้ามเนื้อเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อช่วยเสริมกล้ามเนื้อในระหว่างที่กำลังนั่งอยู่ และการรู้ว่าจะนั่งอย่างไรนี่ก็สำคัญพอๆกับที่นั่งที่คุณนั่งอยู่เช่นกัน" แพทย์หญิงอิสลา แกลอเวย์ จากบริษัท ฮิวแมน ดีไซน์ ในอัฟริกาใต้ กล่าว


 


กล้ามเนื้อหลังยึดกล้ามเนื้อกระดูกสันหลังในแนวตั้ง และเมื่อมันเกิดความเครียดเนื่องจากการโค้งตัว(เนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแอ หรือ ท่าที่นั่งที่แย่) ก็อาจทำให้ข้อต่อของกระดูกสันหลังเสื่อมสภาพลง ผลก็คือเกิดอาการปวดอย่างเฉียบพลันและแม้กระทั่งเกิดเป็นความเจ็บป่วยได้


 


ความเครียดของกล้ามเนื้อหลังอย่างถาวรจะพัฒนาไปสู่สภาพกล้ามเนื้อแข็งตัวซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆได้ และสิ่งนี้ก็จะนำไปสู่การเสื่อมความสามารถของกล้ามเนื้อที่จะไปเสริมความแข็งแรงและสามารถนำไปสู่อาการหลังโกง


 


" เก้าที่เหมาะกับการนั่งทำงานนั้นจะต้องทำให้ท่านั่งที่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอัตโนมัติเพื่อช่วยให้มีท่านั่งที่ดีที่สุดที่ทำให้กระดูกสันหลังผ่อนคลายที่สุด ช่วยป้องกันการเสื่อมในระยะยาวและช่วยไม่ให้มีการเหนื่อยในระหว่างที่กำลังตั้งหน้าตั้งตาทำงานอยู่" แกโลเวย์อธิบาย


 


ทั้งนี้ แกโลเวย์ได้เสนอกลเม็ดเคล็ดลับในการดูแลหลังดังนี้:


 


* การปวดหลังส่วนใหญ่เกิดจากการนั่งที่ไม่มีอะไรรองหลังเลยหรือไม่มีผนังรองด้านหลังที่เหมาะสม  เวลานั่งควรใช้พื้นที่ในส่วนที่นั่งให้เต็มพื้นที่ หลีกเลี่ยงการนั่งเฉพาะส่วนหน้าของเก้าอี้  นั่งที่ส่วนหลังของเก้าอี้โดยให้หลังนั้นได้พิงกับพนักเก้าอี้อย่างเต็มที่


 


* มีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนท่านั่งบ่อยๆ เคลื่อนไหวร่างกายส่วนบนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอาการเกร็งหรือเป็นตะคริว  ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยปรับปรุงด้านความความรู้สึกและความสามารถในการมีสมาธิ


 


* ต้องแน่ใจว่าข้อเท้าอยู่ตรงกับเข่า ข้อศอกและสะโพกอย่างน้อยต้อง 90% หรือมากกว่า ถ้าเป็นไปได้เอียงที่นั่งไปข้างหน้าในขณะที่พิงกับโต๊ะ


 


* รู้ว่าจะจัดระดับการใช้งานและส่วนเสริมต่างๆของเก้าอี้ที่คุณใช้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเก้าอีกได้ถูกออกแบบไว้สำหรับผู้ใช้ในหลากหลายรูปแบบ คนแต่ละคนนั้นมีรูปร่างที่แตกต่างกันและเก้าอี้ตัวเดียวอาจจะไม่ได้เหมาะกับคนทุกคน


 


* ยืดเส้นยืดสายให้บ่อยหน่อย พักจากโต๊ะเป็นระยะเวลาสั้นๆบ่อยๆจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น


 


* อย่าละเลย หรือพยายามทำงานต่อทั้งๆที่รู้สึกปวดหรือไม่ค่อยสบายตัว ฟังเสียงร่างกายคุณบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังของคุณ มันกำลังบอกอะไรบางอย่างอยู่นะ


                       -------นั่งนานๆระวังหลังกันด้วยนะ----------


 


เรียบเรียงจาก เคปไทม์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net