ที่สุดแล้ว วาระเร่งด่วนของคนเชียงใหม่ คือความฝันจะเห็นรถเมล์ขาวมาบรรเทาทุกข์จากราคาน้ำมันพุ่ง ก็จบลงที่ต้องรอไปอีก
ทางออกที่ผู้เกี่ยวข้องเลือก คือล้มสัมปทานเดิม และจับมือกันให้รถสี่ล้อแดงเข้ามาร่วมดำเนินการ เหมือนจะเป็นภาพการเริ่มต้นที่ดีของความร่วมมือกัน ขอให้คนเชียงใหม่ใจเย็นและอดทนรอสักนิด
แต่หากเมื่อได้ลงลึกในรายละเอียดของระบบแล้ว เมื่อมี "การเมือง"เข้าแทรก เลยทำให้บทสรุปยกแรกของอนาคตรถเมล์ต้องเลือกใช้ทางออกแบบ "เตี้ยอุ้มค่อม"
การเมืองเรื่องรถเมล์พัวพันกันมาแต่แรกเริ่ม และปะทุฉาวโฉ่เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาจากเหตุการณ์รถสี่ล้อแดงยึดข่วงท่าแพเรียกร้องว่าได้รับความเดือดร้อนจากการเกิดขึ้นของรถเมล์ขวัญเวียงจำนวน 5 คัน
การประท้วงครั้งนั้นประกาศเผาบัตรสมาชิกพรรคไทยรักไทย และคนโตแห่งสหกรณ์นครลานนาเดินรถอย่าง สิงห์คำ นันติ ก็ประกาศลั่นว่า พรรคฯ เคยสัญญาก่อนการเลือกตั้งว่าจะไม่ให้กลุ่มรถแดงที่มีกว่า 3,000 คัน และครอบครัวรวมแล้วนับ 10,000 ชีวิตที่เป็นฐานเสียงอันแข็งแกร่งของเขต 1 ต้องได้รับผลกระทบ
การคลี่คลายครั้งนั้น นางเยาวภาต้องโทรทางไกลมาหาสยบสถานการณ์ด้วยซ้ำ แต่นับจากวันนั้น เชียงใหม่ต้องเดินหน้าการเตรียมตัวเองสู่ความเป็นฮับหรือศูนย์กลางด้านการบินในภูมิภาคนี้ สิ่งหนึ่งที่จะสนับสนุนความเป็นฮับคือการขนส่งมวลชนในตัวเมืองต้องตอบสนอง รถเมล์ขาว 26 คัน ด้วยงบประมาณ 60 กว่าล้านบาทจึงมาถึงเชียงใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายน 2548 เพื่อให้เทศบาลนครเชียงใหม่นำออกบริการชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยว
แม้จะได้รับสัมปทานเส้นทางแต่ผู้บริหารเทศบาลนครเชียงใหม่ก็ไม่สามารถนำรถออกมาให้บริการได้จนกระทั่งใกล้กำหนด 60 วันตามเงื่อนไขของกฎหมาย จึงได้มีการประชุมลับเกิดขึ้น
โดยต้องมีตัวแทนบิ๊กรัฐบาลมานั่งเป็นประธานฯ ด้วย
นาย
การหารือยึดหลักประนีประนอมแบบยุทธศาสตร์การเมือง เพื่อหวังยุติกรณีปัญหาที่กระทบกระทั่งกันมาอย่างยาวนาน ข้อสรุปที่ได้จึงเป็นว่า
1. ปรับปรุงเส้นทางสัมปทานรถเมล์ขาวใหม่ 2 เส้นทาง ให้ไปวิ่งเส้นอ้อมเมืองและหนองหอย - ศาลากลาง เพื่อไม่ทับสัมปทานรถแดง
2. รถสี่ล้อแดงนำรถเข้าร่วมบริการ 100 คันและปรับปรุงเส้นทางสัมปทาน 2 เส้นทางคือสาย สนามบิน - ศาลากลาง และคาร์ฟู-สนามบิน
3. เทศบาลนครเชียงใหม่อุดหนุนค่าน้ำมันในการเริ่มต้นทดลองเดินรถคันละ 100 บาทต่อวันเป็นเงิน 10,000 บาทต่อวัน
บนโต๊ะเจรจาที่ใช้การเมืองนำจบลงด้วยความพอใจ แต่การบริหารงานที่จะให้อยู่รอดหรือ
ไม่ยังเป็นปัญหา รวมทั้งข้อพิจารณาว่าได้ตอนสนองการใช้บริการหรือจูงใจให้คนเชียงใหม่เปลี่ยนพฤติกรรมทิ้งรถส่วนตัวมาใช้รถเมล์ได้จริงหรือ
เปลี่ยนเส้นทาง
เขี่ยรถเมล์ออกนอกเมือง
ในการแถลงของนาย
แต่ข้อตกลงในที่ประชุมลับเมื่อ 13-14 กรกฎาคม 2548 เพื่อหาข้อสรุปในการนำรถเมล์ขาวออกมาวิ่งโดยหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ตำรวจ สหกรณ์นครลานนาเดินรถ และตัวแทนจากภาคการเมืองระดับชาติ กลับกลายเป็น 1 ในเส้นทางดังกล่าว ตกไปอยู่ในการบริหารของรถแดง อีก 1 เส้นทางปรับเปลี่ยนการเดินรถ และมีเส้นทางอีก 2 เส้นทางที่รถแดงอีก 100 คันจะเข้าร่วมให้บริการ เหตุผลหนึ่งของการปรับเปลี่ยนนี้คือ ขนาดของรถเมล์ที่ใหญ่ ไม่เหมาะกับสภาพของถนนในเมือง
นาย
โดยสหกรณ์นครลานนาเดินรถ จะนำรถสี่ล้อแดงจำนวน 100 คัน เข้าร่วมวิ่งรับช่วงต่อผู้โดยสารจากรถเมล์เส้นภายในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ ใน 2 เส้นทาง ๆ ละ 50 คัน เนื่องจากที่ประชุมเห็นว่าหากรถเมล์ของเทศบาลฯ ตามสัมปทานเดิมเข้ามาวิ่งภายในเขตเมืองและเข้าตามซอกซอยต่าง ๆ อาจไม่สะดวกเพราะเป็นรถขนาดใหญ่ สภาพถนนไม่เอื้ออำนวย อาจทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดมากขึ้น และเป็นเส้นทางที่ทับซ้อนกับเส้นทางของรถสี่ล้อแดงในหลาย ๆ จุด
นายบุญเลิศ กล่าวด้วยว่า เป็นการพบกันครึ่งทาง อยากให้ระบบขนส่งมวลชนเกิดขึ้นมาได้จริง ๆ ไม่อยากให้มีการประท้วง การจัดเส้นทางสัมปทานใหม่ผมก็คิดว่าเป็นทางออกที่ดี ปัจจุบันเส้นทางเขตรอบนอกเมืองเชียงใหม่ยังไม่มีขนส่งมวลชนรองรับประชาชนที่ต้องการเดินทางเข้าสู่ภายในตัวเมือง ซึ่งการจัดเส้นทางใหม่ให้รถเมล์ของเทศบาฯ วิ่งรอบเมืองและให้รถสี่ล้อแดงมารับช่วงต่อตามจุดต่าง ๆ น่าจะเป็นความร่วมมือและทางออกที่ดีของทั้งเทศบาลฯและสหกรณ์นครลานนาเดินรถ ที่จะมีผลประโยชน์ร่วมกัน และผู้ได้รับประโยชน์ที่แท้จริงก็คือประชาชนที่จะสามารถใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นทางเลือกในการเดินทาง
ดังนั้นแนวการเดินรถของรถเมล์ขาวเบื้องต้นจึงอยู่ในสายอ้อมเมืองวานซ้าย ขวา และจากหนองหอย ไปยังศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ขณะที่เส้นทางของรถแดงอยู่ที่สนามบิน - ศาลากลาง และคาร์ฟู - สนามบิน
แต่ไม่มีคำอธิบายว่าเหตุใดจึงรถเมล์ต้องวิ่งในสายหนองหอย - ป.พันเจ็ด ที่ต้องผ่านย่านฟ้าฮ่ามที่เล็กและแคบ ซึ่งย่อมเกิดปัญหาในช่วงการจราจรคับคั่งเช้าและเย็นแน่
ทุ่มเงินล้าน อุ้มรถแดง
ก่อนหน้านี้นายบุญเลิศได้เคยให้สัมภาษณ์การบริหารรถเมล์ว่าเทศบาลฯ ได้กันเงินส่วนหนึ่งเพื่อบริหารจัดการที่คาดว่าเริ่มต้นอาจขาดทุนวันละ 20,000 บาท แต่หากมีผู้ใช้บริการมากเงินอุดหนุนก็จะลดลง และกำลังพิจารณาว่าจะต้องบริหารเองหรือว่าจ้างเอกชนจึงจะเหมาะสม พร้อมกันนี้อาจหารายได้จากการมีสปอนเซอร์สินค้าข้างรถ
อย่างไรก็ตามในการตกลงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่จะต้องอุดหนุนรถสี่ล้อแดงที่เข้าร่วมในโครงการนี้จำนวน 100 คันด้วย โดยเป็นการช่วยค่าน้ำมันวันละ 100 บาทต่อคันในระยะ 4 เดือน นั่นหมายถึงวันละ 10,000 บาท หรือเดือนละ 300,000 บาท หรือระยะทดลอง 4 เดือนเป็นเงินราว 1.2 ล้านบาท
ภาวะการณ์ที่นอกจากเส้นทางจะเสียเปรียบด้านผู้โดยสารแล้ว เทศบาลฯ ยังตกอยู่ในภาวะ "เตี้ยอุ้มค่อม" โดยไม่จำเป็น ทั้งที่ทั้ง 2 กลุ่มต่างดำรงสถานะเป็นผู้ประกอบการรถโดยสารเหมือนกัน แม้กิจการขนส่งมวลชนจะถือเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างหนึ่งที่รัฐต้องลงทุนโดยอาจจะไม่มีผลกำไร แต่การแบกรับภาระครั้งนี้มิใช่เรื่องเล็ก เพราะนั่นหมายถึงเม็ดเงินที่ต้องอุดหนุนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่บทเรียนการประกอบการจากรถเมล์ขวัญเวียงซึ่งขณะนี้ขาดทุนต่อเนื่องถึงเดือนละ 2 แสนบาทก็เป็นตัวอย่างให้เห็นถึงความยากลำบากเบื้องหน้า
ไม่รับประกันไม่วิ่งทับสัมปทาน
ขณะนี้ผู้เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการตั้งคณะกรรมการของแต่ละฝ่ายขึ้นมา เพื่อวางระบบการ
วิ่งเดินรถที่ชัดเจนให้เป็นไปตามเส้นทางที่กำหนด สำหรับรถสี่ล้อแดงที่เข้าร่วมโครงการจะมีสติ๊กเกอร์หรือป้ายติดหน้ารถ มีจุดจอดและรับส่งผู้โดยสารต่อจากรถเมล์ที่ชัดเจน และใช้อัตราค่าโดยสารที่กำหนดตามเส้นทางใหม่อย่างเคร่งครัด ซึ่งราคาค่าโดยสารสำหรับรถเมล์และรถสี่ล้อแดงจะอยู่ประมาณ 10 - 12 บาท โดยจะต้องเป็นอัตราที่เท่ากัน
นาย
จุดนี้คือสิ่งที่เป็นปัญหา เพราะบทเรียนจากรถขวัญเวียงซึ่งแม้ได้สัมปทานเส้นทางแล้ว แต่ที่ผ่านมารถแดงก็ยังคงวิ่งทับเส้นทางอยู่ และแม้จะจัดเส้นทางรถเมล์ขาวใหม่และรถแดงที่เข้าร่วมโครงการแล้วก็ตาม แต่ไม่มีหลักประกันใดยืนยันได้ว่า รถแดงที่เหลือจะไม่วิ่งเข้าไปทับสัมปทานนั้นโดยอ้างว่าเป็นความต้องการของผู้โดยสาร
อาจารย์บุญส่ง สัตโยภาส จากภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าเมื่อรถเมล์มาถึงแล้วอย่างไรก็จำเป็นจะต้องออกวิ่งให้บริการประชาชน ซึ่งเมื่อรถแดงมาร่วมก็ถือว่าเป็นทางออกหนึ่ง แต่ประเด็นอยู่ที่ว่ารถที่เหลือก็วิ่งปกติ ทับเส้นสัมปทานเดิมเหมือนเดิมหรือไม่ เพราะนั่นเท่ากับทำให้รถที่สัมปทาน 4 เส้นทางมีรายได้ที่น้อยลงไม่คุ้มค่า ทั้งนี้มีบทเรียนจากหลายจังหวัดแล้วว่า ปัญหาการวิ่งทับเส้นทาง ทำให้รถที่วิ่งตามเส้นทางและมีความถี่น้อยผลประกอบการแย่ลง เช่นที่จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเมื่อไม่มีวิธีการจัดการกับรถที่วิ่งทับสัมปทาน ความคุ้มทุนก็ต่ำลง การอุดหนุนก็จะต้องเพิ่มมากขึ้น
อาจารย์บุญส่งถือว่าสิ่งที่เป็นข้อตกลงออกมาคือความพยายามที่จะนำรถเมล์ที่มาจอดอยู่นานแล้วได้ออกมาใช้ ก็ควรจะได้ทดลองนำออกมาวิ่ง แต่เมื่อเริ่มวิ่งในเส้นสัมปทานใน 4 เส้นทาง ก็ควรจะให้อยู่ให้ได้ ที่สำคัญจะต้องทำให้เป็นระบบขนส่งสาธารณถที่เป็นประโยชน์แก่คนเชียงใหม่ ขณะเดียวกันเมื่อถึงจุดหนึ่งก็ต้องสามารถเลี้ยงตัวเองได้ด้วย
ทางออกของรถเมล์เชียงใหม่ในกำมือผู้รับผิดชอบ อาจเหมาว่าเป็นผลสำเร็จในมิติของการเมือง ที่ทำให้ได้ข้อยุติอย่างประสานผลประโยชน์ด้วยสูตรสำเร็จคือการรอมชอมและอุดหนุน แต่กลับสร้างคำถามที่ท้าทายต่อศรัทธาชาวเชียงใหม่ถึงเป้าหมายที่แท้จริงของการมีรถเมล์ ว่าได้ตอบสนองระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพให้กับคนเชียงใหม่ และการบริหารจัดการให้ยั่งยืนอยู่ได้จริงหรือ ?
ล้อมกรอบ
อย่าสักแค่มี !
แบบไหน รถเมล์ในฝัน ?
คงไม่ใช่แค่เพียงให้มี แต่มีแล้วต้องดีและถูกใจด้วย !
คนเชียงใหม่อยากได้รถเมล์แบบไหน ได้มีการสำรวจความต้องการออกมาล่าสุด
รายการวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน เชียงใหม่-ลำพูน ร่วมกับเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์อากาศเมืองเชียงใหม่และโครงการเมืองยั่งยืน โครงการศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศของประชาชนเมืองเชียงใหม่ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำรวจความคิดเห็นชาวเชียงใหม่จากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 2,784 คน โดยใช้ไปรษณียบัตรและแบบสอบถามระหว่างวันที่ 18 - 27 มิถุนายน 2548 เป็นเพศชาย 56 % เพศหญิง 44 % อายุ 19-35 ปี 43 % ต่ำกว่า 18 ปี 38 % 36- 60 ปีขึ้นไป 19 % ส่วนใหญ่มีการศึกษาปริญญาตรีและอนุปริญญา ถึงความเห็นต่อการใช้รถเมล์เมืองเชียงใหม่ โดยตอบแบบสอบถาม 94 % เห็นว่าเมืองเชียงใหม่ควรมีรถเมล์ แต่อีก 6 % เห็นว่าไม่ควรมี และแสดงความเห็นในประเด็นต่างๆ ดังนี้
รูปแบบ สภาพ คุณภาพรถ
เห็นว่า ควรตรวจสอบให้มีความปลอดภัย และพร้อมทุกด้านก่อนให้บริการ, มีการตรวจวัดปริมาณควันดำ และสมรรถภาพของรถสม่ำเสมอ ,ควรเป็นรถเมล์ปรับอากาศ ,ควรมีการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น,ควรใช้รถเมล์ขนาดเล็กมากกว่าขนาดใหญ่เพื่อไม่กีกขวางการจราจรในตัวเมืองซึ่งคับแคบ ,เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ,ไม่ควรนำรถที่มีอายุการใช้งานมากมาใช้ ,ควรใช้น้ำมันที่ปลอดสารหรือก๊าซธรรมชาติ ,ควรทำเป็นรถเมล์ไฟฟ้า
ความคาดหวังเกี่ยวกับเส้นทาง
เห็นว่าเส้นทางการเดินรถควรเพียงพอแก่ความต้องการของประชาชนทั้งในพื้นที่ในเมือง และเขตนอกเมือง ,ควรศึกษาเส้นทางให้เอื้อต่อสถานศึกษา ศูนย์การค้า สถานีขนส่ง (อาเขต) สถานที่ราชการ และสถานที่สำคัญต่าง ๆ ,ควรมีเส้นทางผ่านทุกโรงเรียนเพื่อช่วยลดปริมาณรถที่ไปส่งเด็กนักเรียน ,ควรทำป้ายรถเมล์ที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และที่จอดรถรับผู้โดยสารให้ปลอดภัย ป้องกันแดด และฝนตก มีหลายจุด แต่ไม่ก่อให้เกิดการจราจรติดขัด ,ไม่ควรจะวางผังทางเดินรถเมล์ให้ทับซ้อนกับรถสองแถว เพื่อป้องกันปัญหาการขัดแย้งผลประโยชน์,ควรมีการประชาสัมพันธ์เส้นทางการเดินรถให้แก่ประชาชน,ควรให้บริการ 24 ชั่วโมง และสม่ำเสมอ และมีมาตรฐานการออกรถที่ชัดเจน
ความคาดหวังเกี่ยวกับพนักงาน
พนักงานขับรถต้องได้รับการคัดเลือก และได้รับการอบรมในเรื่องของการขับขี่อย่างปลอดภัย และมีการปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ,พนักงานที่ให้บริการ/กระเป๋ารถเมล์ ควรต้องมีความสุภาพ มีมารยาท และมีจรรยาบรรณในการบริการ ,ควรสร้างความมั่นใจ และความปลอดภัยในการขับขี่,คนขับรถเมล์ควรเป็นคนที่ขับรถโดยสารประจำทาง หรือคนขับรถแดงเดิม
การดำเนินงานของรถเมล์
การดำเนินงานต้องโปร่งใส เป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ ,ควรให้องค์กรประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ หรือตรวจสอบได้ ,ค่าโดยสารไม่ควรจะแพงเกินไป
ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะอื่น ๆ
ก่อนที่จะนำรถเมล์มาใช้ ควรปรับปรุงสภาพถนนให้มีความเหมาะสม ,ควรมีกฎหมายรองรับอุบัติภัยที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้รถเมล์ในการเดินทาง ,ถ้าหากไม่มีรถเมล์บริการ ก็ควรให้รถแดงบริการเป็นเส้นทางประจำ และควรปรับปรุงการให้บริการของรถแดง ,ควรมีการขนส่งมวลชนจากชานเมืองโดยใช้รถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือรางคู่ ,ควรจัดระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัย เช่นรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน มาให้บริการแก่ประชาชนโดยกำหนดแผนอย่างชัดเจน ,ควรมีการรณรงค์ให้คนเชียงใหม่ลดพฤติกรรมรักสบาย ใช้รถส่วนตัว แล้วหันมาใช้รถเมล์ในการเดินทางแทน ,ถ้าอยากให้ระบบขนส่งมวลชนเกิดขึ้น คนเชียงใหม่ต้องแสดงพลัง อย่าปล่อยให้กฎหมู่ของกลุ่มคนบางกลุ่มมาอยู่เหนือกฎหมาย,การใช้รถเมล์ของเชียงใหม่ อย่าให้มีปัญหาเหมือนการให้บริการรถเมล์กรุงเทพ ,ควรมีรถเมล์ควบคู่กับรถแดง โดยมีการจัดการ และมาตรฐานที่ชัดเจนแน่นอน ,ควรงดใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือรถจักรยานยนต์วันศุกร์ แล้วหันมาใช้รถจักรยานแทน
แสดงความคิดเห็น