Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ประชาไท- แม้ว่านายกรัฐมนตรีมาเลเซียจะเคยบอกให้คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐว่าให้เคารพในเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อและให้ยอมรับว่า นี่เป็นเสียงสะท้อนที่จะต้องนำปรับปรุงการทำงาน ทว่า การโจมตีผู้สื่อข่าวทางอินเตอร์และผู้เป็นเจ้าของเว็บไซด์ก็ไม่มีท่าทีว่าจะลดลง


 


ล่าสุดเมื่อไม่กี่วันมานี้เจ้าของเว็บไซด์ "brandmalaysia.com ซึ่งเป็นเว็บที่นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องราวข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์มาเลเซียปัจจุบัน ก็ถูกบังคับให้ถอดลิงค์จากไซด์ของเขาออกไปจากเว็บไซด์ www.michaelsoosai.org หลังจากที่ได้รับอีเมล์เตือนในวันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจแผนกสืบสวนด้านมัลติมีเดียและอาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ต


 


แมค ซัลคิฟลิ บอกกับศูนย์เพื่อสื่อมวลชนอิสระ (Center for Independent Journalism-CIJว่าเขาถูกเตือนว่าเขาอาจจะถูกตรวจค้นและตั้งข้อกล่าวหาตามกฎหมายว่าด้วยความลับของทางราชการได้ เนื่องจากการเขาเปิดเผยความลับทางราชการ ทั้งนี้ คนที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาในกรณีดังกล่าวอาจจะถูกจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 7 หากพบว่ากระทำความผิดจริงตามกฎหมายดังกล่าวหมวดที่ 8


 


แม้ว่าขณะนี้ เว็บไซด์ michaelsoosai.org. จะไม่สามารถออนไลน์ได้แล้วในมาเลเซีย แต่เว็บดังกล่าวยังบรรจุข้อมูลรายงานของทางตำรวจและการสื่อสารกันภายในของตำรวจเอง ซึ่งไม่มีข้อมูลใดที่มีเครื่องหมายบอกว่าข้อมูลที่เป็นความลับเลย


 


ในปี 2005 เว็บดังกล่าวได้นำเสนอรายงานที่กล่าวหาว่า อาชญากรสร้างหลักฐานปลอมว่าตนเองตายด้วยความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงจำนวนหนึ่ง และได้เสนอเป็นข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์มาเลเซียหลายฉบับ


 


ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม เว็บไซด์ที่ลิงค์กับฝ่ายค้าน "Malaysia Today" ซึ่งบรรณาธิการ คือ ราช เพตรา กามารุดดิน ถูกยึดคอมพิวเตอร์ไป 2เครื่องจากบ้านของเขาในสุไหง บาลอห์ใกล้ๆ กับกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย จนกระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่ได้คอมพิวเตอร์คืน


 


ในวันที่ 8 กรกฎาคม เขาเคยถูกสืบสวนเป็นเวลา 2 ชั่วโมงภายใต้กฎหมายการปลุกระดมมวลชน ปี 1960 เนื่องจากนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราชวงศ์เนกรี เซบิลัน โดยกล่าวหาว่า คอรัปชั่นและแทรกแซงทางการเมือง


 


ข้อหาการปลุกระดมมวลชนเพื่อต่อต้านรัฐบาลในมาเลเซียนั้นเป็นประเด็นที่ให้คำจัดความไว้กว้างมาก แต่ได้มีบทที่ตั้งใจป้องกันการตั้งคำถามต่อตำแหน่งผู้ปกครองมาเลเซีย จำเลยอาจสามารถถูกตัดสินจำคุก 3-5 ปี


 


มีความคืบหน้าเกี่ยวกับประเด็นเดียวกันคือ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2005 ตำรวจได้ปิดสำนวนในการสืบสวนเว็บไซด์ข่าวอิสระ " Malaysiakini.com   ทั้งนี้ การสืบสวนภายใต้กฎหมายการปลุกระดมมวลชนปี 1960ถูกจุกประกายขึ้นมาโดยการกล่าวหาว่ามีการตีพิมพ์จดหมายที่เป็นการปลุกระดมในเว็บไซด์เกี่ยวกับนโยบายการเล่นพรรคเล่นพวกของรัฐบาลมาเลย์ และผลก็คือ การจับกุม คอมพิวเตอร์ 15 เครื่อง และ เซิร์ฟเวอร์ 4 เครื่องจากสำนักงาน malaysiakini ในกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2003


 


อย่างไรก็ตาม ทางเว็บไซด์ดังกล่าวรายงานว่า ตำรวจได้คืนเซิร์ฟเวอร์ 2 ตัวสุดท้ายคืนมาให้ด้วยซึ่งเดิมนั้นทางมาเลเซียกินีได้บริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง 17 เครื่องที่ได้คืนมาให้กับตำรวจไปแล้วตั้งแต่ปี  2003


 


พันธมิตรสื่อมวลชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Southeast Asia Press Alliance- SEAPA) ซึ่งเป็นองค์กรที่สนับสนุนการทำงานและพิทักษ์สิทธิของสื่ออิสระในกลุ่มประเทศอาเซียนตั้งข้อสังเกตว่า การตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ปิดการไต่สวนคดีของมาเลเซียกินีได้เลยกำหนดมาอย่างยาวนาน และเรื่องที่ได้ยึดเอาคอมพิวเตอร์ของมาเลเซียกินีไปไว้ถึง 2 ปี แสดงให้เห็นว่า มาตรการเหล่านั้นได้ถูกนำมาใช้เพื่อข่มขู่ สำนักพิมพ์ทางเว็บ


 


ทั้งนี้ทาง SEAPA ได้ออกแถลงข่าวที่แสดงถึงความกังวลใจอย่างยิ่งว่า รัฐบาลมาเลเซียจะยังคงใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยความลับของทางราชการและ พ.ร.บ.ปลุกระดมมวลชนเป็นเครื่องมือในการต่อต้านเว็บไซด์ข่าวอื่นๆอีก ทั้งๆที่รัฐบาลรับประกับว่าจะคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางสื่ออินเตอร์เน็ตก็ตาม


 


ที่มา: Southeast Asian Press Alliance (SEAPA)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net