Skip to main content
sharethis

เดอะ สก็อตแมน- การปลูกฝิ่นในประเทศลาวที่มีมานานกว่า 200 ปีถึงวันนี้ได้กลายเป็นตำนานไปแล้ว เมื่อรัฐบาลลาวได้ประกาศว่าขณะนี้ลาวเป็นประเทศที่ "ปลอดฝิ่น" แล้ว ซึ่งองค์การระหว่างประเทศด้านการปราบปรามยาเสพติดก็ได้ยกย่องว่าเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ในการทำสงครามกับยาเสพติดของลาว ทว่า บรรดาชนเผ่าที่อยู่ในพื้นที่เคยปลูกฝิ่นกับต้องเผชิญกับปัญหาตามมารอบด้าน

องค์การสหประชาติด้านยาเสพติดและอาชญากรรม (UNODC) ยืนยันว่าจากการสำรวจล่าสุดพบว่าได้มีการทำลายไร่ฝิ่นลงไปอย่างมากถึงร้อยละ 73 ภายในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา และถือเป็นการยุติชื่อเสียงของลาวในฐานะประเทศที่ผลิตฝิ่นมากเป็นอันดับสามของโลกลงไปได้

ทว่า การต่อสู้กับปัญหาการยาเสพติดผิดกฎหมายอาจเกิดประโยชน์ในหลายด้าน อย่างก็ในเรื่องของความสัมพันธ์กับตะวันตกของลาว กระนั้นในอีกด้านหนึ่งก็พบว่า การขจัดฝิ่นให้หมดไปนั้นกลับนำปัญหาใหม่เข้าสู่ต่อประชากรอีกกลุ่มอย่างมากมายเช่นกัน

นักวิชาการ นักวิจัย และ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) กล่าวว่า การขจัดฝิ่นอย่างรวดเร็วสร้างได้หายนะให้กับชุมชนชาวเขาและการขาดแคลนฝิ่นก็เป็นสาเหตุให้ยาเสพติดชนิดอื่นที่เลวร้ายกว่าได้แพร่ระบาดขึ้น

การเร่งรีบกวาดล้างพื้นที่ปลูกฝิ่นนั้นเป็นกระทำเพื่อสนองรับกับเส้นตายที่ทางสหรัฐฯและยุโรปได้วางเอาไว้ว่าเป็นในปี 2005

ประมาณการว่ามีชาวเขา 65,000 คนต้องกลายย้ายถิ่นจากภูเขาทางตอนเหนือของลาวซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกฝิ่น เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ขจัดฝิ่น

ดร. ชาร์ลส์ อัลตัน ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาของสหประชาชาติ กล่าวว่า การอพยพผู้คนจำนวนมาก จะส่งผลให้เกิดคความเปราะบางของชุมชน

" ชาวเขาที่ถูกย้ายไปอยู่ในหมู่บ้านใหม่นั้น ไม่เพียงไม่มีข้าวจะกินเท่านั้น แต่ยังต้องพบกับโรคเพิ่มขึ้นอีกด้วย เช่น มาเลเรีย ปัญหาลำไส้และกระเพาะอาหาร รวมทั้งพยาธิด้วย" อัลตันกล่าว

กลุ่มคนทำงานระหว่างประเทศได้บันทึกสภาพของกลุ่ม อาข่า ม้ง และ ชนเผ่าอื่นๆพบว่า สมาชิกหลายคนจากแต่ละเผ่าในทุกช่วงวัยกำลังจะตายด้วยมาเลเรียและโรคบิด

นอกจากนั้นยังมีการบันทึกด้วยว่าอัตราการตายเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 4 ซึ่งคิดเป็นสองเท่าของช่วงเวลาที่อยู่ในหมู่ที่บ้านเดินบนภูเขา และเป็น 4 เท่าของอัตราเฉลี่ยของประเทศ

รัฐบาลลาวยอมให้มีการปลูกฝิ่นมาเป็นเวลายาวนานในหมู่ชาวเขาที่มีอยู่ถึงประมาณ ร้อยละ 45 ของประชากรทั้งหมด ในปี 1999 รัฐบาลลาวได้แย้งว่าจะยังไม่สามารถขจัดฝิ่นออกไปได้จนกว่าจะมีพืชชนิดอื่นมาปลูกทดแทนและมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจในพื้นที่นั้นเสียก่อน

อย่างไรก็ตามรัฐบาลสหรัฐฯและหน่วยงานด้านยาเสพติดก็ได้เพิ่มแรงกดดันลงไปอีกในปี 2000 การให้คำมั่นว่าจะให้งบช่วยเหลือ 45 ล้านปอนด์ ( 3,247 ล้านบาท)โดยหน่วยงานด้านยาเสพติดของสหประชาชาติทำให้รัฐบาลลาวต้องยอมทำตาม ในปี 2001 ก็ได้ละเลยที่จะใช้วิธีที่สมดุลในการขจัดฝิ่น และพุ่งเป้าไปข้างหน้าอย่างผลีผลามตามหลักการอันแข็งกร้าวของตะวันตกที่จะทำสงครามกับยาเสพติด

นักการทูตตะวันตกยอมรับว่านโยบายต่อต้านยาเสพติดของพวกเขาอาจจะถูกเจ้าหน้าที่แปลความหมายเป็นความกระตือรือร้นจนเกินไปในการที่จะลดจำนวนของยาเสพติด

"การปฏิบัติการเพื่อขจัดฝิ่นนั้นอาจจะเป็นการกระทำด้วยความรวดเร็วจนเกินไปและขาดข้อมูล" แซนโดร เซอราโต หัวหน้าคณะผู้แทนของสหภาพยุโรป ( อียู)ในลาวกล่าว

เซอราโตกล่าว่า อียูเข้าใจข้อโต้แย้งในยุทธศาสตร์การตั้งถิ่นฐานใหม่ของรัฐบาลลาว การที่มีประชากรกระจัดกระจายกันอยู่อย่างนั้น รัฐบาลรู้สึกเพียงว่า หากนำคนมาจากพื้นที่ห่างไกลบนภูเขาแล้วมารวมๆกันก็จะสามารถในพื้นที่ลุ่มแล้วก็จะทำให้สามารถพัฒนาและให้บริการสวัสดิการสังคมต่างๆได้

การเปลี่ยนแปลงนโยบายของอียูทำให้บรรดา NGOs และนักวิชาการรู้สึกแปลกใจ นักวิจัยและนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับอย่างมากคนหนึ่งของลาว หุมพัน รัตนะยง กล่าวว่า การตั้งถิ่นฐานใหม่ทำให้เกิดการเสียกระบวนในวิถีชีวิตของชาวเขา ฝิ่นนั้น ถูกนำไปใช้ในหลายสถานะเป็นพืชเศรษฐกิจ เป็นยา และใช้ในพิธีกรรมและเหตุการณ์สำคัญๆและประเพณีพื้นบ้าน

"การที่ไม่มีฝิ่นในขณะนี้ ยิ่งจะเป็นอันตรายมากขึ้น"

คนลาวทั้งลาวลุ่มและที่อยู่บนภูเขาได้ตกเป็นเหยื่อของยาบ้า และเฮโรอีนที่ข้ามฝั่งมาจากห้องทดลองในประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า

"สิ่งที่เรียกว่า ความสำเร็จในการขจัดฝิ่นนั้น กลายเป็นเหตุที่จะทำให้มียาเสพติดที่ร้ายแรงกว่า และปัญหาสังคมและเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเท่านั้น" เดวิด ไฟน์โกลด์ นักมานุษยวิทยากล่าว

" โครงการขจัดฝิ่นที่มีอยู่ขณะนี้นั้น ถือเป็นการป่วยทางความคิด และ การจัดการที่แย่มาก แนวโน้มในอนาคตของเรื่องนี้ก็คือการเพิ่มขึ้นของเฮโรอีน และความเสี่ยงของผู้หญิงและเด็กชาวเขาที่จะต้องเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์เพิ่มขึ้น รวมทั้งการย้ายถิ่นที่ไม่ปลอดภัย ผลที่เกิดขึ้นจากทั้งสองส่วนนี้ก็ส่งผลให้สถานการณ์เอดส์ในประเทศก็ยิ่งเลวร้ายลง"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net