Skip to main content
sharethis

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
เดชอุดม ไกรฤทธิ์นายกสภาทนายความ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประชาไท - 21 ก.ค.48      สภาทนายความ โดยนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ออกแถลงการณ์คัดค้าน พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยระบุว่า พระราชกำหนดดังกล่าว เป็นกฎหมายที่ส่งผลกระทบ และลิดรอนสิทธิของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 เป็นอย่างยิ่ง

 

 

 

 

 

โดยหลักการ เหตุผลและขบวนการในการออกกฎหมายฉบับนี้ มีเงื่อนงำ ซ่อนเร้น ที่จะรวบอำนาจอธิป

 

 

ไตย ซึ่งควรจะต้องมีการตรวจสอบ และถ่วงดุลการใช้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ได้อย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

 

 

 

 

 

สภาทนายความเป็นองค์กรวิชาชีพอิสระมหาชน มีหน้าที่สำคัญในการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือทางกฎ

 

 

หมายแก่ประชาชน สภาทนายความจึงออกแถลงการณ์ เพื่อให้ประชาชนรับทราบ และเตรียมพร้อมต่อการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของผู้บริหารฉบับนี้

 

 

 

 

 

1.สภาทนายความเห็นว่า รัฐบาลขาดความชอบธรรมในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ เพราะไม่เคารพต่อความเสมอภาคของชนชาติ เชื้อชาติ ศาสนา ที่ออกพระราชกำหนดใช้เฉพาะพื้นที่ที่รัฐบาลจงใจสร้างสถานการณ์โดยไม่คิดจะปรองดอง สมัครสมาน กับประชาชนโดยสันติวิธี ไม่สอดคล้องกับปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกและให้สัตยาบัน โดยเฉพาะรัฐบาลไม่ได้ดำเนินการตามข้อ 6 ของพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 6 ก.ค.2466 ที่ว่า

 

 

 

 

 

"เจ้ากระทรวงทั้งหลาย จะจัดการวางระเบียบการอย่างใดขึ้นใหม่ หรือบังคับการอย่างใดในมณฑลปัตตานี อันจะเป็นทางพากพาน ถึงสุขทุกข์ราษฎร ก็ควรพิจารณาเหตุผลแก้ไขหรือยับยั้ง ถ้าไม่เห็นด้วยว่า มีมูลขัดข้อง ก็ควรหารือกระทรวงมหาดไทย แม้ยังไม่ตกลงกันได้ระหว่างกระทรวง ก็พึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลฝ่าละอองธุลีพระบาท ขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย"

 

 

 

 

 

ความข้อนี้ไม่อาจจะแปลเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อเทียบกับสมัยประชาธิปไตยในปัจจุบัน การอ้างสถาน การณ์ฉุกเฉินในเขตใดเขตหนึ่งในประเทศไทยนั้น ต้องกลับไปใช้กฎหมายพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2541 เพราะเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศ ชาติหรือประชาชนโดยตรง รัฐบาลควรให้โอกาสประชาชนในเขตที่จะประกาศเป็นเขตสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้มีสิทธิออกเสียงอย่างถูกต้อง ไม่ใช่อาศัยการประเมินสถานการณ์จากรายงานของคนในรัฐบาลแต่เพียงอย่างเดียว

 

 

 

 

 

2. สภาทนายความขอตำหนิวิธีการออกกฎหมาย โดยใช้ข้อยกเว้นของรัฐธรรมนูญ มาเป็นหลักในการยกเป็นเหตุผลของความชอบธรรมในกฎหมาย โดยเฉพาะไม่มีเหตุการณ์เป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบ

 

 

ด่วน อันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ตามอ้าง ในทางตรงกันข้าม เหตุการณ์ความไม่สงบที่มีอยู่บ่อยครั้งทุกวันนี้ ในเขต 3 จังหวัดภาคใต้ เป็นสิ่งซึ่งพิสูจน์ความบกพร่องและการไร้ประสิทธิ ภาพของหน่วยงานของรัฐ ในการบริหารกฎหมายและสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในชุมชนของ 3 จังหวัดดังกล่าว และความขัดแย้งก็สืบเนื่องมาจากแนวนโยบายของรัฐบาลที่ผิดพลาดมาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา

 

 

 

 

 

3.สภาทนายความขอตำหนิการออกและใช้กฎหมาย โดยมอบให้นายกรัฐมนตรี ผู้ใช้อำนาจบริหาร มีอำนาจเหนือกฎหมายอื่นๆ ทุกฉบับ ในท้องที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามมาตรา 17 และการให้นายกรัฐมนตรี เป็นผู้แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชกำหนด เท่ากับมีกองกำลังเจ้าหน้าที่ขยาดย่อมของตนเอง ที่จะดำเนินการได้อย่างกว้างขวาง ในเขตสถานการณ์ฉุกเฉิน

 

 

 

 

 

โดยเฉพาะการเชิญบุคคลหนึ่งบุคคลใด มาสอบถามตามมาตรา 11 (2) ได้ โดยไม่มีการตรวจสอบ และคัดคานอำนาจได้เลย แม้การขออำนาจศาลตามมาตรา 11 (1) ก็สามารถทำได้โดยง่าย เพราะการแจ้งข้อหาและฐานความผิด จะเพิ่มมากเพิ่มน้อย ขึ้นอยู่กับความยุติธรรมในใจของเจ้าหน้าที่ ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรี

 

 

 

 

 

4.สภาทนายความขอตำหนิการออกและใช้กฎหมายที่ให้นายกรัฐมนตรี มีอำนาจในการออกข้อ กำหนดห้ามการชุมนุมของประชาชน รวมทั้งการห้ามการเสนอข่าว จำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายสิ่งพิมพ์ ทั้งในพื้นที่สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือทั่วราชอาณาจักร เพราะเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชน ในการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐตามรัฐธรรมนูญ

 

 

 

 

 

อนึ่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ยื่นขอต่อศาลเพื่อให้มีการควบคุมตัวผู้ต้องหา ตามพระราชกำหนดฉบับดังกล่าว และควบคุมไว้ในสถานการณ์ที่ที่ไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน จะเป็นช่องว่างที่จะก่อให้เกิดการควบคุมตัว ณ ที่ใดที่หนึ่งได้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับการตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ เพราะไม่มีใครทราบได้ว่า คำร้องขอในสถานที่ที่กำหนดของพนักงานเจ้าหน้าที่นั้นจะเป็นที่ใด และญาติพี่น้องของบุคคลดังกล่าว จะสามารถเข้าพบผู้ถูกควบคุมตัวไว้ได้เมื่อใด

 

 

 

 

 

5.สภาทนายความขอเสนอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พิจารณาดำเนินการเสนอปัญหาเกี่ยวด้วยความชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญของพระราชกำหนดฉบับนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 198 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย โดยเฉพาะการยกเว้นให้ประกาศ และการดำเนินการตามพระราชกำหนดฉบับนี้ ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองและศาลยุติธรรมรวมทั้งศาลทหาร

 

 

 

 

 

ทั้งนี้ สภาทนายความได้ให้คำแนะนำเสนอต่อประชาชน ที่อาจถูกเชิญตัว หรือออกหมายเรียก หมายจับ ตาม พ.ร.กฉบับนี้ ขอให้ประชาชนติดต่อกับญาติพี่น้อง หรือ ทนายความในท้องที่ เพื่อใช้สิทธิตามรัฐ ธรรมนูญ มาตรา 239 วรรค 3 และมาตรา 241 วรรค 2 เพื่อจะให้ได้รับความช่วยเหลือตามสิทธิของตน และขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานสอบสวน ตามกระบวนการยุติธรรมในทุกท้องที่ สนับสนุนให้มีกาเสริมสร้างความยุติธรรมแก่ประชาชนทุกฝ่าย โดยปราศจากอคติ

 

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net