Skip to main content
sharethis

"ทำไมชาวบ้านหรือแม้แต่ผู้นำ ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ถึงไม่มีใครรับทราบเรื่องดังกล่าวแล้วนำมาพูดคุยกับชาวบ้านบ้างเลย   พอมารับฟังและได้เห็นแผนผังที่อยู่ในพื้นที่สีม่วง ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมและคลัง สินค้า   ยิ่งทำให้งงว่า หน่วยงานราชการเอาอะไรมาชี้วัดว่า พื้นที่ใดควรเป็นสีใด อีกทั้งเมื่อเห็นว่าสีม่วงอยู่ในเขตของโครงการเหมืองแร่โปแตชแล้ว ทำให้เชื่อว่าภาคราชการได้เข้าข้างนายทุนโดยไม่ยอมศึกษาข้อมูลจากพื้นที่เสียก่อนว่า ชาวบ้านเขาต้องการอย่างไร ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดแต่อย่างใดเลย" นายปัญญา โคตรเพชร รองประธานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดร


ธานี ราษฎรหมู่บ้านสะอาดนามูล  ม.10  ต.ห้วยสามพาด กิ่ง อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี  ระบุ


 


เวลา 10.00 น.วานนี้ (27 ก.ค.) ที่ห้องแกรนด์รอยัลบอลรูม 2 โรงแรมเจริญศรีแกรนด์ รอยัล อุดรธานี 


สำนักโยธาธิการและผังเมือง จ.อุดรธานี จัดให้มีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผังเมืองรวมของจังหวัดอุดรธานี โดยมีประชาชนเข้าร่วมเวทีค่อนข้างบางตาประมาณ 30 คน


ทั้งนี้ ข้อมูลการจำแนกพื้นที่ตามผังเมืองรวมของจังหวัดอุดรธานีที่นำมาแสดง โดยเฉพาะพื้นที่สีม่วงซึ่งเป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้านั้น ปรากฏว่า มีเนื้อที่ครอบคลุม  ต.โนนสูง ต.หนองไผ่  อ.เมือง  และต.ห้วยสามพาด  ต.นาม่วง  กิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กำลังมีการยื่นขออนุญาตประทานบัตรทำเหมืองแร่โปแตช บนเนื้อที่กว่า 2 ไร่ของบริษัทเอเชีย แปซิกฟิกโปแตช 


คอปอเรชั่น จำกัด  (เอพีพีซี)


นายปัญญากล่าวว่า พื้นที่ดังกล่าวชาวบ้านเคยประกาศร่วมกันว่า จะกำหนดให้เป็นพื้นที่สีเขียว โดยยึดหลักการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมถึง 90%  พร้อมทั้งห้ามให้มีอุตสาหกรรมต่อเนื่องเข้ามาในพื้นที่ แต่เมื่อผังเมืองเป็นเช่นนี้แล้ว ในเบื้องต้นชาวบ้านก็จะทำหนังสือคัดค้านถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป


  


ด้านนายสันติภาพ  ศิริวัฒนไพบูลย์  อาจารย์ประจำภาควิชาสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กล่าวว่า จากแผนที่ผังเมืองจะเห็นได้ว่า พื้นที่สีชมพูซึ่งเป็นเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี


อยู่ติดกันกับพื้นที่สีม่วงซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมและคลังสินค้า  และเชื่อว่า คงจะเป็นพื้นที่กันไว้เพื่อรองรับโครงการเหมืองโปแตช   โดยพื้นที่ทั้งสองนี้มีขนาดใหญ่พอๆ กัน 


 


"ทำให้ผมคิดว่าวิสัยทัศน์ของเมืองอุดรได้เปลี่ยนจากเมืองท่องเที่ยว  และบริการกลายไปเป็นเมืองอุตสาห


กรรมแล้วหรืออย่างไร เพราะดูขนาดแล้วพื้นที่ใหญ่กว่านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเสียอีก"  


 


นายสันติภาพได้เสนอให้สำนักโยธาฯ ทบทวนในประเด็นดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า โครงการเหมืองแร่โปแตซซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ประทานบัตร จะสร้างปัญหาความขัดแย้งขึ้นในพื้นที่อย่างมาก


 


นางสำรวย  โยธาวิจิตร เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีกล่าวว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำผังเมืองรวม ควรจะมีการสอบถามชาวบ้านเสียก่อนว่าใครจะเอาไม่เอา  ถามเขาว่า มีความต้องการจะให้หมู่บ้านของเขามีสีนั้นสีนี้หรือเปล่า  เพราะเขาคือ คนที่ต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ และจะต้องอยู่ตรงนี้ไปจนตาย   


"ยกตัวอย่าง เรื่องโครงการเหมืองแร่โปแตช หากว่า มาตั้งที่ตัวเมืองอุดรตัวดิฉันเองก็ไม่เอาเหมือนกัน  
ขณะที่ผลประโยชน์ก็เกิดขึ้นกับต่างชาติไม่ได้เกิดขึ้นกับพื้นที่ ทั้งนี้ก็ขอให้หน่วยงานมีการไตร่ตรอง


พิจารณาดีๆ  เสียก่อนก่อนตัดสินใจ"  นางสำรวยกล่าว

นางนฤมล  อัตนโถ เจ้าหน้าที่สำนักโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า  "เวทีครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่  4  แล้ว  ซึ่งจากเวที ครั้งที่ผ่านมาพบว่า ไม่ได้มีใครคัดค้านหรือมีความเห็นแย้งในเวที แต่พอมาวันนี้ทำให้เราเห็นว่ามีอยู่หลายประเด็นที่น่าสนใจ  


 


อย่างไรก็ตามทางสำนักฯ จะจัดให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นอีกในวันที่  9 สิงหาคมที่จะถึงนี้  หลังจากนั้นจึงจะมีการปิดประกาศภายใน  90 วัน  ศาลากลางจังหวัดที่ว่าการอำเภอ / กิ่งอำเภอ ที่ทำการบริหารส่วนจังหวัด สำนักงานที่ดิน สำนักงานเทศบาลรวมทั้งสถานที่ราชการอื่นๆ ด้วย เพื่อให้ประชาชนได้มีข้อเสนอแนะและคัดค้านตามขั้นตอน  โดยทางสำนักงานฯ ก็จะมีการรวบรวมข้อมูลจากทุกเวทีนำเสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการจังหวัด เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาต่อไป


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net