กก.สิทธิฯระบุ ยูเอ็นชมผู้แทนรัฐไทย กล้ารับผิดละเมิดสิทธิประชาชน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 

ประชาไท - 29 ก.ค.48      ศ.

เสน่ห์ จามริก ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมกับคุณหญิงอัมพร มีศุข กรรมการสิทธิฯ แถลงข่าวภายหลังเดินทางไปชี้แจงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ชุดกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ณ กรุงเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ว่า คณะกรรมการฯ ยูเอ็น ได้แสดงความเป็นห่วงภาพรวมสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยเฉพาะประเด็นปัญหาภาคใต้ ซึ่งคณะผู้ชี้แจงภาครัฐนำโดยนายสรจักร เกษมสุวรรณ รมช.การต่างประเทศ ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงอย่างโปร่งใส

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

"คณะผู้แทนภาคราชการชี้แจงได้โปร่งใสมาก และยอมรับว่าที่ผ่านมาในปัญหาภาคใต้มีการทำผิดพลาด แต่ก็พยายามแก้ไขแล้วดังต่อไปนี้ และจะไม่ให้เกิดขึ้นอีก โดยรวมแล้วคณะผู้แจงทุกชุดชี้แจงได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งทางยูเอ็นก็มีความเข้าใจ ส่วนจะพอใจการชี้แจงหรือไม่ ไม่สามารถตอบได้" คุณหญิงอัมพรกล่าวพร้อมระบุว่าอย่างน้อยที่สุดคณะผู้ชี้แจงก็ได้รับคำชมว่ามีการเตรียมความพร้อมในการชี้แจงดี

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนประเด็นเรื่องพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น คุณหญิงอัมพรกล่าวว่าคณะกรรม การฯ ได้แสดงความเป็นห่วงต่อเรื่องนี้มาก และสอบถามจากคณะผู้แทนฝ่ายรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าทั้ง 15 มาตราล้วนละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ก็เข้าใจความจำเป็นของรัฐบาล  ดังนั้นผู้ใช้กฎหมายต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนให้มาก และชี้แจงความจำเป็นให้แจ่มแจ้ง

 

 

 

 

 

เมื่อถามถึงกรณีที่รัฐบาลจะตั้งกรรมการขึ้นมารับเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิจากการใช้ พ.ร.ก. นายเสน่ห์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้รัฐบาลมีการหารือเป็นการภายในกับกสม. ซึ่งเราเห็นว่าเป็นเอกสิทธิ์ในการบริหารของรัฐบาล แต่อยากให้หน่วยงานใหม่เป็นตัวประสาน อย่าทำหน้าที่แทนหน่วยงานรัฐ เพราะจะไปตัดความรับ ผิดชอบของเจ้าหน้าที่ ส่วนการออกโทรทัศน์ร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์ (กอส.) นั้น เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น แต่อย่างน้อยก็เป็นการเปิดประตูเพื่อการหารือกันอีกในอนาคต

 

 

 

 

 

สำหรับแนวทางการดำเนินงานหลังจากนี้ คุณหญิงอัมพรระบุว่า กสม.จะนำรายงานที่ภาคประชาชนทั้ง หลายทำการชี้แจงในประเด็นต่างๆ กับยูเอ็นมาคลี่ดูว่าจะสามารถใช้ประโยชน์ใดได้บ้าง และในวันที่ 6 ส.ค.ที่รัฐบาลจะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ(เวิร์คชอป)ด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีนายก รัฐมนตรีร่วมด้วย 2 ช.ม. นั้น กสม.คงทำได้เพียงเตรียมข้อเสนอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาที่ยังติดขัดอยู่ เช่น การส่งข้อเสนอแนะหรือเรื่องร้องเรียนไปยังรัฐบาลแล้วไม่ได้รับคำตอบ โดยกสม.ส่งเรื่องสำคัญๆ ให้รัฐบาลราวปีละ 10 เรื่อง และมักไม่ได้รับคำตอบใดๆ มาโดยตลอด

 

 

 

 

 

อนึ่ง ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการทำรายงานและชี้แจงกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติชุด ICPPR ระหว่างวันที่ 18-20 ก.ค.ที่ผ่านมา หลังจากรัฐบาลได้เข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศดัง กล่าวตั้งแต่ปี 2540 และถือเป็นครั้งแรกเช่นกันที่สหประชาชาติเชิญคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติร่วมชี้แจงและตรวจสอบการปฏิบัติงาน โดยผู้ที่เข้าชี้แจงมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ รัฐบาล นำโดยดร.สรจักร เกษมสุวรรณ, กลุ่มองค์กรประชาสังคม, ผู้แทนคณะกรรมการสิทธิฯ และคณะกรรมการสิทธิฯ แห่งสหประชาชาติจะจัดทำข้อเสนอแนะมายังรัฐบาลไทยในวันที่ 29 ก.ค.นี้

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท