Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis


การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2548 เห็นชอบในหลักการข้อเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการใช้ทรัพยากรในพื้นที่  3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติเสนอ  โดยให้กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุข 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้รับผิดชอบงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านประชาชน  และให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการในรายละเอียดต่อไป 


 


ทั้งนี้คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ได้รับข้อมูลและข้อเสนอเกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวม 2กรณีได้แก่  กรณีชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาสได้รับความเดือดร้อนจากเรืออวนรุน  อวนลากและกรณีเขตอุทยานแห่งชาติ


บูโด-สุไหงปาดี ทับที่ทำกินชาวบ้าน  โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้


 


                        1. กรณีชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาสได้รับความเดือดร้อนจากเรืออวนรุนอวนลาก


                              1.1 สภาพปัญหา   ชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาสได้รับความเดือดร้อนจากการทำประมงผิดกฎหมายโดยเรืออวนรุน  อวนลาก  ซึ่งในเวลาที่ผ่านมาได้มีการแก้ไขปัญหาโดยชมรมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานีร่วมกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ได้ร่วมกันลาดตระเวน  ทำให้เรืออวนรุนไม่มีโอกาสทำประมงผิดกฎหมาย    การปฏิบัติดังกล่าวก่อให้เกิดผลดีทั้งด้านการแก้ไขปัญหาและการสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธามวลชน


                              1.2 ข้อเสนอ 


 


                                    พื้นที่จังหวัดปัตตานี


1)  ให้มีคำสั่งจัดตั้งชุดเฉพาะกิจของจังหวัดปัตตานี   ประกอบด้วย  เจ้าหน้าที่ประมง  ตำรวจตระเวนชายแดน  อาสาสมัครชาวบ้าน   มีภารกิจเฉพาะการลาดตระเวนป้องกันและปราบ


ปรามการทำประมงอวนรุน อวนลากมีผิดกฎหมายเท่านั้น  มีระยะเวลาปฏิบัติงาน 6 เดือน (กันยายน 2548-กุมภาพันธ์ 2549)  ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงฤดูมรสุม ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลจะมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์   ชาว


ประมงพื้นที่จะทำการประมงได้มาก มีโอกาสหารายได้เก็บสะสมไว้สำหรับเลี้ยงดูครอบครัวและประมาณเดือนตุลาคมจะเป็นช่วงถือศีลอดของชาวไทยมุสลิม(รอมฎอน)  ซึ่งทางราชการควรร่วมกับชาวบ้านปก


ป้องทรัพยากรสัตว์น้ำเป็นพิเศษ


                        2)  ให้สนับสนุนงบประมาณค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเรือตรวจลาดตระเวนยานพาหนะ  เจ้าหน้าที่และค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจดังกล่าว  ในการออกลาดตระเวนเป็นเงิน  50,000  บาท/เดือน


                                    3)  ให้จังหวัด อำเภอถือว่าภารกิจนี้ เป็นภารกิจหลักที่มีความสำคัญเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนของชาวประมงพื้นบ้าน และสร้างศรัทธามวลชนโดยเฉพาะกลุ่มชาวประมงพื้น


บ้าน ซึ่งมีประมาณ  83,000 คน  ผู้บังคับบัญชาทุกระดับควรติดตามสนับสนุนและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง


 


                                    พื้นที่จังหวัดนราธิวาส


                                    4) ให้กรมประมง  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  พิจารณาออกประกาศกระ


ทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง  ห้ามใช้เครื่องมืออวนลาก  ใช้ประกอบเรือยนต์ทำการประมงในพื้นที่ทะเลจังหวัดนราธิวาส  


 


                        2.  กรณีเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี  ทับที่ทำกินชาวบ้าน


                  2.1 สภาพปัญหา  ชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส  ร้องเรียนกรณีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเทือกเขารือเสาะ  ป่ายี่งอ  ป่าบาเจาะ  ป่ากะบุรี  ป่าจะกว๊ะ   ป่าบูเก๊ะตาแว ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ อำเภอบาเจาะ  อำเภอรือเสาะ  อำเภอยี่งอ  อำเภอเจาะไอร้อง  อำเภอสุไหงปาดี  และอำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส  อำเภอกะพ้อ  จังหวัดปัตตานี อำเภอรามัน  จังหวัดยะลา   ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ  เมื่อวันที่  8  มิถุนายน  2542  หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี  พื้นที่รวม 213,125  ไร่


                               ผลการสำรวจการถือครองที่ดินของชาวบ้านเมื่อปี 2544-2547 ตามโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ ในพื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมาย สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี   จังหวัดปัตตานี  ยะลา  นราธิวาส  พบว่าเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี   ได้ทับที่ทำกินของชาวบ้าน  สรุปได้ดังนี้


 
























 


จำนวนผู้ถือครอง (ราย)


พื้นที่


เฉลี่ยพื้นที่ถือครอง


จังหวัดปัตตานี


216


2,570ไร่ 2 งาน 24 ตารางวา


11.90 ไร่/ราย


จังหวัดยะลา


272


4,608 ไร่


16.94 ไร่/ราย


จังหวัดนราธิวาส


6,497


89,038 ไร่ 1 งาน 43 ตารางวา


13.70 ไร่/ราย


 


                              ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านตั้งแต่ปี  2542  ถึงปัจจุบันคือไม่สามารถตัดโค่นต้นยางพาราเพื่อปลูกทดแทนใหม่ได้ ก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและรายได้ของชาวบ้านในพื้นที่ข้อเสนอ


      1) ให้กรมป่าไม้  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   อนุญาตให้มีการ "เปลี่ยนต้นไม้"   โดยให้ชาวบ้านสามารถทำการตัดโค่นต้นยางพาราที่หมดอายุในที่ดินทำกินของตนเอง  ที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี


                                    2)  ให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ให้การสงเคราะห์แก่เกษตรกรในการปลูกยางทดแทนในที่ดินทำกินของตนเอง  ที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี 


                         


คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ  (กอส.)  ได้พิจารณาข้อมูลและข้อเสนอแนะทั้งสองกรณีแล้วเห็นว่า  กรณีทั้งสองน่าจะเป็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการสร้างโอกาสให้ประชาชนได้ใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่าและยั่งยืน ซึ่งจะมีผลต่อการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเป็นรูปธรรม เป็นการประ


หยัดงบประมาณของรัฐ  และสร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นของประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อรัฐบาลอีกด้วย  ซึ่งเห็นควรที่รัฐบาลจะพึงให้ความสำคัญและสั่งการ  เร่งรัดให้มีผลปฏิบัติโดยเร็ว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net