Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ยุค Pax Americana (ยุคที่สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าโลกทั้งทางทหารและเศรษฐกิจ) ได้เข้าแทนที่ Pax Britannica มาเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ และหลายคนกำลังเชื่อว่า โลกของเรากำลังก้าวสู่ยุคของ Pax China ซะแล้ว



หากพูดถึงประเทศสหรัฐอเมริกา เรามักเห็นหน้าบุช แมคโดนัลด์ กาแฟสตาร์บัคส์ ไก่เคเอฟซี รวมถึงสาวอวบบริทนีย์ สเปียร์ ซึ่งอวบได้ถึงขนาดนั้น ก็อาจเป็นเพราะไก่ที่โชกไปด้วยฮอร์โมนแบบเคเอฟซี
ไม่ว่าคุณจะชอบหรือ ไม่ก็ตาม ความเป็นอเมริกันแทรกซึมอยู่ในทุกย่างก้าวของชีวิตคนทั่วโลก เพราะกฎเกณฑ์ธุรกิจ การเงิน การตลาดของศตวรรษที่ผ่านมานั้น ถูกกำหนดด้วย Pax Americana (ยุคที่สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าโลกทั้งทางทหารและเศรษฐกิจ) ซึ่งเข้าแทนที่ Pax Britannica มากว่าครึ่งศตวรรษ และหลายคนกำลังเชื่อว่า โลกของเรากำลังก้าวสู่ยุคของ Pax China ซะแล้ว



ขั้วอำนาจของโลก กำลังหันเหมาทางตะวันออก สังเกตได้จาก หัวข้อข่าวที่พาดอยู่ตามหนังสือพิมพ์ และบทความในนิตยสารต่างๆ ในอเมริกา ที่แสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯ กำลังกังวลอย่างยิ่งกับขั้วอำนาจใหม่ที่โดดเด่นขึ้นมาอย่างรั้งไม่อยู่



"เราจะสู้จีนได้อย่างไร" --- นิตยสาร Atlantic Monthly (มิถุนายน 2548)
"ศตวรรษใหม่ของจีน" --- นิตยสาร Newsweek (9 พฤษภาคม 2548)
"ปรับค่าเงินหยวนช่วยเงินเยน" --- สำนักข่าว Bloomberg (6 พฤษภาคม 2548)
"จีนอาจไม่แกร่งอย่างที่คิด" --- MarketWatch.com (6 พฤษภาคม 2548)
"จีนกร่างบนเวทีโลก" --- BusinessWeek Online (12 เมษายน 2548)
"จีนท้าอำนาจสหรัฐฯ" --- The Washington Quarterly (Summer 2544)



ความโดดเด่นของจีนที่ปรากฏอยู่รอบกายในช่วงเวลานี้ อาจเป็นเรื่องใหม่สำหรับใครหลายคน ราวกับว่าได้ตื่นขึ้นมาในโลกใบใหม่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ประเทศจีนเริ่มเปิดประเทศมาเป็นเวลากว่ายี่สิบปี และมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าประทับใจมานับตั้งแต่วันที่เติ้ง เสี่ยวผิง ได้กล่าวคำคมในที่ประชุมพรรคคอม มิวนิสต์เมื่อเดือนธันวาคมของปี พ.ศ. 2521 ว่า



"มันจะเป็นแมวดำ หรือแมวขาว ก็ไม่สำคัญหรอก ตราบใดที่มันจับหนูได้"



เติ้ง เสี่ยวผิง กำลังพูดถึงนโยบายการเปิดประเทศของจีน ที่เน้นการปรับปรุงประเทศให้ก้าวหน้า และทันสมัย โดยเน้นวิธีการที่ยืดหยุ่นและมีประสิทธิผล มากกว่าที่จะให้อุดมการณ์แข็งทื่อเป็นตัวนำ ซึ่งถือเป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายครั้งประวัติศาสตร์ ที่ทำให้จีนได้ก้าวขึ้นมาสู่ความเป็นมหาอำนาจอย่างเงียบๆ จนกว่าที่สหรัฐ จะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว



ทั้งนี้ ต้องขอบคุณนโยบายการทูตของจีน ที่แยบยลราวกับถอดออกมาจากตำราซุนวู กล่าวคือ ทำตัวอ่อนน้อม ไม่แข็งกร้าว และรู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ด้วยการไม่ไปลงคะแนนเสียงในเหตุการณ์สำคัญๆ ที่สหประชาชาติ และปิดปากเงียบกริบ เรื่องสงครามในอิรัก



ในขณะเดียวกันก็เร่งพัฒนาเศรษฐกิจของตนอย่างเงียบๆ โดยไม่พยายาม "ฉายแสง" ออกมาให้เห็นจนเกินหน้าเกินตาใครนัก



อาจกล่าวสั้นๆ ได้ว่า "การเมืองฉันไม่ยุ่ง มุ่งแต่เรื่องเงิน"



แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ดูเหมือนว่าจีนจะปรับเปลี่ยนนโยบายทางการทูตไปในทิศทางที่กร้าวมากขึ้น ราวกับมังกรที่เติบโตเต็มที่ พร้อมที่จะออกมาสำแดงฤทธิ์เดช สังเกตได้จากจุดยืนที่จีนออกมาแสดงอย่างชัดเจน เริ่มจากการทดลองขีปนาวุธที่ช่องแคบไต้หวัน เมื่อปี 2539



เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จีนย้ำให้ประเทศออสเตรเลีย ทบทวนนโยบายพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ต่อมา ประเทศจีนก็สนับสนุนให้ประชาชนประท้วงตำราประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น (ที่บิดเบือนเสียจนเด็กนักเรียนไม่รู้ว่าทหารญี่ปุ่นไปกระทำปู้ยี่ปู้ยำอะไร กับหญิงจีนไว้บ้าง) และการไม่ยอมคว่ำบาตรซูดานตามที่สหรัฐฯ ต้องการ



สำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ดีของสหรัฐมาอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลากว่าสี่สิบปีนับตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ อาจตกอยู่ในที่นั่งที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกในอนาคตอันใกล้นี้ เพราะเรากำลังถูกแซนวิชอยู่ตรงกลาง ระหว่างสองขั้วมหาอำนาจ



ทั้งนี้ เรากำลังได้ประโยชน์มหาศาลจากตลาดขนาดใหญ่ของจีน ตลาดที่มีคนพันล้านกว่าคนเป็นผู้ซื้อ ซึ่งนับวันจะมีกำลังซื้อมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็อยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่เป็นเสมือนหน้าบ้านของจีน จึงเป็นไปได้อย่างยิ่งที่เราอาจถูกกดดันทางการทูต และการทหารโดยประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่เร็วก็ช้า



หรือจริงๆ แล้ว เราอาจตกอยู่ในสถานะที่ถูกกดดันแล้วโดยไม่รู้ตัวก็ได้ ดังที่ผู้เชี่ยวชาญและนักสังเกต


การณ์หลายท่านได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า สหรัฐฯ น่าจะเป็นหนึ่งในมือที่สาม (ที่มีหลายมือเหลือเกิน) ที่เข้ามาข้องเกี่ยวกับเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้ของไทย



ข้อสังเกตนี้ น่าเชื่อถือเพียงใด อาจสังเกตได้จากปฏิกิริยาของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ภายใต้รัฐบาลทักษิณ 1 ที่ออกมาโยนข้อกล่าวหาดังกล่าวให้กับรัฐบาลชวน โดยเน้นว่ารัฐบาลชวน เป็นผู้นำหน่วยงานลับ CTIC เข้ามายังประเทศไทย (หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ, 24 พฤษภาคม 2547) อย่างไรก็ตาม การจุดประเด็นในครั้งนั้น กลับกลายเป็นจุดตกอับให้กับท่านชวลิตเอง เพราะรัฐบาลทักษิณ ถ้าให้เลือกได้ ก็ไม่อยากให้เรื่องนี้เกิดเป็นประเด็นขึ้นมาในที่สาธารณะ หลังจากนั้นไม่นาน จึงเห็นได้ว่า ท่านชวลิตได้หายตัวไปจากวงการการเมืองและการทหารอย่างเงียบๆ จนประชาชนคิดถึง



ไม่ว่าสหรัฐฯ จะเป็นมือที่สาม ที่สี่ หรือที่ห้า ในความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของไทยก็ตาม ประชาชนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ อาจจะมีส่วนรับรู้ แต่ก็คงไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางด้านนโยบายทางการทหารของไทย เพราะหน่วยงานทหารไทยนั้น มีอิสระในการตัดสินใจสูง มีการเชื่อมโยงกับทหารสหรัฐฯ โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางประชาธิปไตยใดๆ ทั้งสิ้น



แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้ไทยได้ประโยชน์จากการอยู่ใกล้ประเทศจีน เราจึงมีโอกาสไปเที่ยว หรือไปเรียนได้ง่าย สมัยนี้ไฮโซของไทยไม่จำเป็นต้องส่งลูกไปเรียนไกลถึง Boston U. หรือไม่ต้องบินไปชอปปิ้งไกลถึง Fifth Avenue ที่นิวยอร์ค แค่บินสี่ชั่วโมง ก็ไปถึงเซี่ยงไฮ้ได้แล้ว ในที่สุด การเป็นสาวกกาแฟสตาร์บัคส์ จะไม่เท่เท่ากับการดื่มชาเขียวจีน และดาราลูกครึ่งอย่าง ริต้า เจนเซ่น ก็ต้องหลีกทางให้กับหนุ่มตี๋ สาว


หมวย ที่นับวันจะล้นจอแก้วจอเงินของไทย



หรือว่า...ความสวยงามนั้นขึ้นอยู่กับว่า ใครมี อำนาจ

ที่มา : http://thaifriendforum.blogspot.com/2005/05/blog-post.htm

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net