Skip to main content
sharethis

ความต้องการน้ำในภาคตะวันออก ทั้งการอุปโภค-บริโภค อุตสาหกรรม/ท่องเที่ยว การเกษตร และระบบนิเวศในปัจจุบันมีมากกว่า 5,200 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่มีน้ำที่สามารถควบคุมและจัดสรรให้ได้เพียง 2,581 ล้าน ลบ.ม. โดยเป็นความต้องการน้ำภาคการเกษตรมากกว่าร้อยละ 80


 


แต่จากสถิติการใช้น้ำ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดระยองและชลบุรีพบว่า มีความต้องการน้ำภาคอุปโภค/บริโภคและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ในช่วงระยะเวลา 5 ปีล่าสุด ประกอบกับการพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำในพื้นที่ทำได้ยากขึ้น และแม้ว่ามีอ่างเก็บน้ำแล้วก็จำเป็นต้องมีการจัดสรรน้ำให้กับประชาชนด้านอุปโภค/บริโภค และการ เกษตรเป็นอันดับแรกอีกด้วย ทำให้อัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำต้นทุนน้อยกว่าความต้องการน้ำ ซ้ำในปีนี้ยังเกิดภาวะฝนตกน้อยกว่าปกติ ทำให้ปริมาณน้ำน้อยลงกว่า 100 ล้าน ลบ.ม.ในช่วงเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา จึงเป็นข้อกังวลของผู้ใช้น้ำในทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการความมั่นใจในปริมาณน้ำล่วงหน้า และภาคการเกษตรที่ต้องการให้มีการจัดสรรน้ำอย่างชัดเจน


 


ยุทธศาสตร์


 


การแก้ไขปัญหาด้านน้ำจึงต้องดำเนินการทั้งใช้สิ่งก่อสร้างควบคู่กับการบริหารจัดการครอบคลุมในทุกพื้นที่ ดังนี้


         


ยุทธศาสตร์ที่ 1 การแก้ไขปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำ : ด้านอุปโภค/บริโภค การเกษตร อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว ระบบนิเวศด้วยการรักษาฟื้นฟูคุณภาพน้ำ


        


ยุทธศาสตร์ที่ 2 การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม : ในพื้นที่ชุมชนเมือง พื้นที่เศรษฐกิจ และพื้นที่เกษตรกรรม


        


ยุทธศาสตร์ที่ 3 การแก้ไขปัญหาน้ำเสีย : การแก้ไขและป้องกันรักษาคุณภาพน้ำโดยการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งกำเนิด และการนำน้ำที่บำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่


        


ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการน้ำ : เป็นการบริหารจัดการเพื่อลดการสูญเสียน้ำ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว และการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม


 


กลยุทธ์


        


เพื่อให้ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาน้ำในลุ่มน้ำภาคตะวันออกบรรลุวัตถุประสงค์ และมีแผนงานโครงการที่เป็นระบบ กระจายทั่วทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำด้วย วิธีการที่หลากหลายโดยมีกรอบเวลาและเป้าหมายร่วมกัน จึงได้กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินการเป็น 4 ด้าน เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการจัดทำแผนบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำในลุ่มน้ำมูล ดังนี้


       


 กลยุทธ์ที่ 1 การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน


          1.การทำฝนหลวง


          2.การขุดเจาะบ่อบาดาล


          3.การผันน้ำจากนอกลุ่มน้ำ


          4.การผันน้ำจากประเทศข้างเคียง


       


กลยุทธ์ที่ 2 การเพิ่มแหล่งเก็บกับน้ำ


          1.การปลูกป่าและฟื้นฟูป่าต้นน้ำ


          2.การพัฒนาฝายต้นน้ำลำธาร


          3.การพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ


          4.หนองน้ำธรรมชาติ


          5.การทำแก้มลิง


          6.การพัฒนาสระน้ำขนาดเล็กและในไร่นา


        


กลยุทธ์ที่ 3 การเติมและกระจายน้ำ


          1.การจัดการน้ำประปาให้ทุกหมู่บ้าน


          2.การพัฒนาระบบเชื่อมโยงแหล่งน้ำภายในลุ่มน้ำ


          3.การพัฒนาระบบเติมน้ำและลำเลียงน้ำ(จากแหล่งน้ำหลักไปยังแหล่งน้ำขนาดเล็กหรือสระน้ำในไร่นา)


          4.การพัฒนาระบบชลประทาน


        


กลยุทธ์ที่ 4 การบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ


          1.การปรับปรุงระบบชลประทาน


          2.การป้องกันอุทกภัยในพื้นที่เกษตรกรรม ชุมชน และพื้นที่เศรษฐกิจ


          3.การฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติและรักษาคุณภาพน้ำ


          4.ตรวจสอบ วิเคราะห์ ความปลอดภัยเขื่อน


          5.ระบบติดตาม คาดการณ์และเตือนภัยน้ำท่วม


 


แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาด้านน้ำ


        


1. เกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญโครงการ


        


เพื่อให้การพัฒนาโครงการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด จึงได้กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกโครงการ ดังนี้


          -สนองนโยบายของรัฐบาล(เช่น แก้ไขปัญหาภัยแล้ง และขจัดความยากจน)


          -มีความพร้อม สามารถศึกษา สำรวจ ออกแบบ และจัดหาที่ดินพร้อมก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2552


          -หน่วยงานที่เสนอสามารถดำเนินการได้


          -มีเป้าหมายชัดเจน และมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน


        


2. แผนงานและโครงการ


          แผนงานในส่วนของกรมชลประทาน ได้แก่ การสร้างอ่างเก็บน้ำ การขุดลอกอ่างเก็บน้ำ การเก็บน้ำในลำน้ำ การปรับปรุงระบบชลประทาน การป้องกันอุทกภัย รวมถึงการศึกษาเตรียมความพร้อมต่างๆ รวม 599 โครงการ วงเงิน 44,824.4 ล้านบาท(ไม่รวมกรมและกระทรวงอื่นๆ) สามารถส่งน้ำได้ประมาณ 1.6 ล้านไร่ มีปริมาณน้ำที่ใช้ประโยชน์ได้ 3,198 ล้าน ลบ.ม.(ที่ความจุ 1,979 ล้าน ลบ.ม.) ซึ่งได้จัดลำดับความจำเป็นของโครงการดังนี้


          -โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ที่แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2548


          2.1 ขุดเจาะบ่อบาดาล


          2.2 วางท่อจากแม่น้ำบางปะกงไปอ่างฯบางพระ ปีละ 50 ล้าน ลบ.ม.


          2.3 วางท่อจากอ่างเก็บน้ำบางพระไปการประปาชลบุรี/พัทยา วันละ 70,000 ลบ.ม.


          2.4 วางท่อสูบน้ำจากแม่น้ำระยอง และคลองทับมา วันละ 120,000 ลบ.ม.


          2.5 ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำคลองหลวง จ.ชลบุรี


          -โครงการเร่งด่วน


        


จังหวัดฉะเชิงเทรา


          2.1 โครงการขุดลอกคลองท่าลาด ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ ปรับปรุงเพื่อเก็บน้ำเพิ่มเติมและผันน้ำ จ.ฉะเชิงเทรา ปีละ 17.5 ล้าน ลบ.ม. รวมวงเงิน 204 ล้านบาท(ยังไม่ได้งบฯ)


          2.2 เสริมสันเขื่อนสียัดสามารถเพิ่มน้ำได้ 95 ล้าน ลบ.ม. วงเงินลงทุน 120 ล้านบาท(ยังไม่ได้งบฯ)


          2.3 โครงการปรับปรุงตลิ่งเพื่อป้องกันการพังทลายในแม่น้ำบางปะกง วงเงินลงทุน 364 ล้านบาท (ยังไม่ได้งบฯ)


       


 จังหวัดชลบุรี


          2.4 ศึกษาวางท่อผันน้ำจากแม่น้ำบางปะกง-อ่างเก็บน้ำบางพระ ปีละ 70 ล้าน ลบ.ม. วงเงินลงทุน 3,000 ล้านบาท(ยังไม่ได้งบฯ)


          2.5 ศึกษาสำรวจออกแบบอ่างเก็บน้ำมาบหวายโสมและห่วยไข่เน่า ความจุรวม 9.5 ล้าน ลบ.ม. วงเงินศึกษา 25 ล้านบาท(ยังไม่ได้งบฯ)


        


จังหวัดระยอง


          2.6 โครงการขุดลอกแม่น้ำระยอง พร้อมสร้างอาคารบังคับน้ำประกอบ และวางท่อผันน้ำจากคลองทับมา-น้ำหู-นิคมอุตสาหกรรม วันละ 100,000 ลบ.ม. วงเงินลงทุนวางท่อ 66 ล้านบาท ดำเนินการเสร็จวันที่ 22 สิงหาคม 2548 ผู้ว่าฯซีอีโอ จังหวัดระยอง เป็นผู้รับผิดชอบ


          2.7 โครงการเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำดอกกราย จ.ระยอง อีก 12 ล้าน ลบ.ม. และวางท่อจากอ่างฯดอกกราย-หนองปลาไหล อีกปีละ 40 ล้าน ลบ.ม. วงเงินรวม 700 ล้านบาท(ยังไม่ได้งบฯ)


          2.8 โครงการวางท่อจากอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่-หนองปลาไหล ส่งได้ปีละ 16 ล้าน ลบ.ม. วงเงินลงทุน 151 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 5 เดือน(1 ก.ย. 2548-31 ม.ค. 2549) กรมชลประทาน จังหวัดระยอง เป็นผู้รับผิดชอบ


          2.9 โครงการวางท่อผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์-อ่างฯคลองใหญ่ ส่งน้ำได้ปีละ 80 ล้าน ลบ.ม. วงเงินลงทุน 1,680 ล้านบาท(ยังไม่ได้งบฯ)


          2.10 ศึกษา สำรวจ ออกแบบ ผันน้ำจากจังหวัดจันทบุรี-ตราด มาพื้นที่จังหวัดระยอง วงเงินศึกษา 20 ล้านบาท(ยังไม่ได้งบฯ)


          2.11 ก่อสร้างอ่างฯคลองโพล้ อ.แกลง ความจุ 32 ล้าน ลบ.ม.(เป็นโครงการตามแผนการปรับโครงสร้างการผลิตการเกษตรในเขตลุ่มน้ำแบบบูรณาการ) วงเงินลงทุน 1,300 ล้านบาท (ยังไม่ได้งบฯ)


       


จังหวัดปราจีนบุรี


          2.12 ก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสม ความจุ 295 ล้าน ลบ.ม. วงเงินลงทุน 5478.7 ล้านบาท (ยังไม่ได้งบฯ)


          2.13 ศึกษาทบทวน โครงการอ่างเก็บน้ำใสน้อย-ใสใหญ่ ความจุ 335 ล้าน ลบ.ม. วงเงิน 20 ล้านบาท(ยังไม่ได้งบฯ)


          จังหวัดตราด(เป็นโครงการตามแผนการปรับโครงสร้างการผลิตการเกษตรในเขตลุ่มน้ำแบบบูรณาการ)


          2.14 ก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสะตอ ต.บ่อไร่ ความจุ 75 ล้าน ลบ.ม. วงเงินลงทุน 1,232 ล้านบาท(ยังไม่ได้งบฯ)


          2.15 ก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองแอ่ง อ.บ่อไร่ ความจุ 35 ล้าน ลบ.ม. วงเงินลงทุน 500 ล้านบาท (ยังไม่ได้งบฯ)


          2.16 ก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองเวฬุ เพื่อป้องกันน้ำเค็มและเก็บน้ำจืด 8 ล้าน ลบ.ม. วงเงินลงทุน 165 ล้านบาท(ยังไม่ได้งบฯ)


          จังหวัดจันทบุรี


          2.17 ก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด อ.แก่งหางแมว ความจุ 51 ล้าน ลบ.ม. วงเงินลงทุน 1,938 ล้านบาท (ยังไม่ได้งบฯ)


          2.18 ก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว อ.แก่งหางแมว ความจุด 81 ล้าน ลบ.ม. วงเงินลงทุน 1,911 ล้านบาท (ยังไม่ได้งบฯ)


          2.19 ก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่ อ.แก่งหางแมว ความจุ 68 ล้าน ลบ.ม. วงเงินลงทุน 1,567 ล้านบาท (ยังไม่ได้งบฯ)


 


จังหวัดสระแก้ว


          2.20 ก่อสร้างอ่างฯสะโตน อ.ตาพระยา ความจุ 22 ล้าน ลบ.ม. วงเงินลงทุน 900 ล้านบาท (ยังไม่ได้งบฯ)


        


จังหวัดนครนายก


          2.21 ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองมะเดื่อ ความจุ 94 ล้าน ลบ.ม. วงเงินลงทุน 3,750 ล้านบาท (ยังไม่ได้งบฯ)


 


 


ที่มา www.matichon.co.th/matichon

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net