Skip to main content
sharethis

 

 

 

 

 

"สิ่งที่เราน่าติดตามและเฝ้าระวังก็คือ  รอยเลื่อนแขนงต่างๆ ที่อยู่ในระนาบเดียวกัน  ตั้งแต่ชวา  เกาะสุมาตรา อันดามัน ไปจนถึงพม่า   ซึ่งล่าสุดแรงสั่นสะเทือนนั้นได้พาดผ่านตามแนวมุดยาวขึ้นมาทางเหนือ  เป็นไปได้ว่า  หากแนวมุดเกิดขยับขึ้นไปเชื่อมกับรอยเลื่อนสะแกงในพม่า  ก็จะมีแนวโน้มเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่  8  ตามมาตราริกเตอร์  ซึ่งมีพลังมหาศาลเทียบเท่าปรมาณูเป็นพันๆ ลูก" นายอดิศร  ฟุ้งขจร  หัวหน้าสถานีตรวจแผ่นดินไหวเชียงใหม่ กล่าว

 

 

 

 

 

หลังจากที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่  เมื่อเช้าวันที่ 26 ธ.ค.2547 บริเวณตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีขนาดถึง 9.0 ตามมาตราริกเตอร์และล่าสุด  เมื่อวันที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นที่หมู่เกาะนิโคบาร์  ในคาบสมุทรอินเดียอีกครั้ง ซึ่งวัดแรงสั้นสะเทือนได้ 7.2 ตามมาตราริกเตอร์   

 

 

 

 

 

นายอดิศร กล่าวว่า หลังเกิดแผ่นดินไหวที่หมู่เกาะนิโคบาร์พบว่า เพลทอินเดียได้เคลื่อนที่มาปะทะกับเพลทยูโรเซียที่อยู่แถบบ้านเรา ซึ่งจะทำให้รอยเลื่อนที่อยู่ในระนาบเดียวกันได้ปริแยกออกไปเชื่อมกับรอยเลื่อนแขนงที่แตกกระจายไปตามแนวมุด ตั้งแต่ชวา เกาะสุมาตรา  อันดามันยาวไปถึงพม่า ซึ่งอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวตามจุดใดจุดหนึ่งได้ ซึ่งแรงสั่นสะเทือนนั้นมากน้อยเท่าใดนั้น  ขึ้นอยู่กับว่าเส้นรอยเลื่อนนั้นมีระยะทางใกล้หรือไกลแค่ไหน หากเส้นรอยเลื่อนมีระยะทาง 5 กิโลเมตรขึ้นไป ก็สามารถสั่นสะเทือนได้ประมาณ 5 ตามมาตราริกเตอร์แต่ถ้ารอยเลื่อนมีความยาวถึง 1,000 กิโลเมตรขึ้นไป ก็มีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวสูงถึง 8 ตามมาตราริกเตอร์ได้   

 

 

 

 

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวกล่าวต่อว่า  ดังนั้นในอนาคตอาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทย  ตั้งแต่ฝั่งทะเลอันดามันทางตะวันตก ยาวไปจนถึงภาคเหนืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  โดยเฉพาะเขื่อนในประเทศที่สำคัญหลายแห่ง เนื่องจากต้องเข้าใจว่า โดยธรรมชาติแล้ว การสร้างเขื่อนนั้นหมายถึงการสร้างสิ่งก่อสร้างที่

 

 

ขวางทางน้ำ ซึ่งตั้งสมมติฐานได้เลยว่า  เส้นทางน้ำนั้นก็คือเป็นแนวที่วิ่งสอดคล้องกับรอยเลื่อนแผ่นดิน

 

 

ไหวทางเดียวกันมาก่อน

 

 

 

 

 

"ลำห้วยลำน้ำนั้น เกิดจากการเคลื่อนที่เป็นร่องเป็นหุบเขามาก่อน ที่จะเกิดลำน้ำและเขื่อนนั้นมาทีหลัง ดังนั้นผมเชื่อว่า ที่ผ่านมาโครงสร้างของเขื่อนในประเทศนั้นมีการคำนึงถึงเรื่องแผ่นดินไหวจริง แต่ว่าในปัจจุบันเมื่อเหตุการณ์และระยะเวลาผ่านไป อาจต้องมีการหามาตรการอื่นมาเสริม เราต้องยอมรับความจริง เอาข้อมูลต่างๆ มาศึกษาและหามาตรการในการวางแผนป้องกันร่วมกัน  ซึ่งจะเป็นการหาทางออกที่ดีที่สุด"

 

 

 

 

 

นายอดิศรยังเสนอทางออกอีกว่า วิธีการในขณะนี้ก็คือ  ทุกฝ่ายต้องมาคุยกัน ไม่ใช่มาพูดใส่ร้ายกันแต่ต้องเอาข้อมูลบนพื้นฐานความจริงมาวางแผนร่วมกัน โดยควรมีการเร่งตรวจสอบโครงสร้างของเขื่อนว่ามีมาตร

 

 

ฐานแข็งแรงหรือไม่  และควรมีการติดตั้งระบบเตือนภัยในพื้นที่บริเวณที่มีเขื่อนที่อยู่ในรอยเลื่อนทั้งหมด ไม่ใช่เพียงแค่เขื่อนศรีนครินทร์ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี  ซึ่งอาจต้องลงทุนสูงแต่ก็จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนไปได้และการเฝ้าระวังจะต้องมีอย่างต่อเนื่อง เพราะแผ่นดินไหวนั้นมีการเคลื่อนตัวเป็นพลวัตรต่อเนื่องอยู่แล้ว สุดท้ายที่สำคัญที่สุด จะต้องมีการวางมาตรการวางแผนเตรียมตัวอพยพประชาชนที่เสี่ยงภัยออกจากพื้นที่ให้ทัน หากเขื่อนร้าวหรือแตก

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net