Skip to main content
sharethis

 



 


ในสมัยที่มีการปิดกั้นทางการศึกษา กว่าผู้หญิงจะอ่านออกเขียนได้ก็แสนลำบาก ครั้นเขียนหนังสือได้แล้วจะเผยแพร่ไปก็ยิ่งยาก มีวรรณกรรมดังๆในยุโรปจำนวนไม่น้อยที่ผู้เขียนเป็นหญิงแต่ต้องใช้นามปากกาเป็นผู้ชาย แต่ถึงวันนี้เหตุการณ์กลับกันเสียแล้ว เพราะผู้ชายหลายต้องหันมาเปลี่ยนใช้นามปากกาเป็นหญิงเพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายกันแล้ว


 


ทุกวันนี้มีตัวเลขที่ชี้ชัดออกมาแล้วว่า ครึ่งหนึ่ง 50 อันดับหนังสือขายดีในอังกฤษ นั้นเขียนโดยผู้หญิง ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่แล้วที่มีเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น  ผลการศึกษาจากอเมริกาก็ออกมาคล้ายๆกันคือ นักเขียนหญิงมีส่วนแบ่งในชารต์ยอดจำหน่ายสูงสุดมากเป็นสองเท่าจากเดิมที่นิวยอร์ค ไทมส์ เคยจัดอับดับหนังสือขายดีเมื่อ 20 ปี ที่แล้วในปี  2527 มีหนังสือที่เขียนโดยผู้หญิงเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้กลายไป 1 ใน 2 ไปแล้ว ที่อังกฤษก็เช่นเดียวกัน


 


ยังไม่แค่นั้น ปัจจุบันนี้ทั่วเกาะอังกฤษนั้นมีชมรมหนังสือ(Book Club)อยู่ประมาณ 50,000 แห่งที่ส่วนใหญ่จะตั้งขึ้นมาโดยผู้หญิง ในการสำรวจคลับเหล่านี้ถึง 20 อันดับหนังสือขายดี พบว่ามี 11 อันดับเขียนโดยผู้หญิง


 


ข้อสรุปในเรื่องนี้ก็คงจะไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไร คงมีแค่ว่า นักเขียนสาวรุ่นใหม่ ทำให้ผู้ชายต้องหลุดวงจรธุรกิจไปเสียแล้ว


 


ในแวดวงวรรณคดีอังกฤษทั้งๆที่เป็นนักเขียนนวนิยายที่ยิ่งใหญ่ในรุ่น เจน ออสเต็น (Jane Austen) และ เอมิลี บร็อนเต้ (Emily Bronte) นักเขียนหญิงระดับนี้เคยถูกมองว่าเป็นรองนักเขียนชายในยุคเดียวกัน


 


ทว่า เพียงเมื่อประมาณทศวรรษกว่าๆมานี้เองเท่าที่มีการปฎิวัติที่พิเศษมากๆเกิดขึ้น


 


เรื่องจริงก็คือ ขณะนี้มีนักเขียนชายจำนวนไม่น้อยที่บอกว่าเขาไม่สามารถหาสำนักพิมพ์ที่จะมาพิมพ์หนังสือให้กับเขาได้เพียงเพราะว่าเขาเป็นผู้ชาย


 


เสียงสะท้อนนี้ปรากฏขึ้นมาเนื่องจากว่า ในธุรกิจสำนักพิมพ์ทุกวันนี้ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับนักเขียนสาวยุคใหม่ซึ่งมักจะสามารถทำยอดขายได้ดีใน ร้านวอเตอร์สโตน (Waterstone- ร้านหนังสือที่ตั้งขึ้นมาเมื่อปี 1982 ในปี 2003 ก็สามารถเปิดสาขาได้ถึง 200 แห่งทั่งอังกฤษ ไอร์แลนด์และยุโรป)


 


ถ้าคุณยังไม่แน่ใจเรื่องที่นักเขียนหญิงเข้ามาคุมตลาดหนังไปแล้วละก็ ขอให้ลองคิดถึงความสำเร็จของ เฮเลน ฟิลดิ้ง ( Helen  Fieldingในเรื่อง บริเจ็ท โจนส์ ( Briget Jones)  ซาดี สมิท (Zadie Smith) ที่เขียนเรื่องไวท์ ทีธ ( White Teeth) และแน่นอน เจ้าของหนังสือที่มียอดขายเป็นอันดับหนึ่งในโลก เจ. เค. โรลลิง ( J.K. Rowling) ที่เรื่อง แฮรี พ็อตเตอร์ ( Harry Potter) นั้น มียอดพิมพ์ถึง 250 ล้านเล่มทั่วโลก


 


สัปดาห์นี้หนังสือที่ขึ้นชาร์ตติดอันดับหนังสือขายดีของอังกฤษก็ มีหนังสือที่เขียนโดย เซเซเลีย อาเฮิร์น ( Cecelia Ahern) ลูกสาวของนายกรัฐมนตรีไอร์แลนด์ เบิอร์ตี้ อาเฮิน ออเดรย์ นิฟเฟนเนเกอ  (Audrey Niffeneger)  และ เอลิซาเบท คอสโทวา (Elizabeth Kostova)  รวมอยู่ด้วยเป็นสามคนเชียวนะ


 


อคติต่อผู้ชายที่มีต่อผู้ชายในทุกวันนี้ ว่ากันว่า มากเสียจนกระทั่งผู้ชายจำเป็นต้องยอมเขียนโดยใช้ชื่อผู้หญิงแทนแล้ว  เมื่อ 150 ปีก่อน แมรี แอน อีแวน ( Mary An Evans) ต้องเขียนในชื่อของ จอร์จ อีเลียท ( George Eliot) เพื่อว่าวรรณกรรมคลาสสิคของเธอ เรื่อง มิดเดิ้ลมาร์ช ( Middlemarch) นั้นจะได้รับการยอมรับจากผู้อ่านที่ขณะนั้นส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย


 


มาถึงวันนี้กงล้อก็หมุนกลับเป็นอีกด้านหนึ่ง กลายเป็นว่าผู้ชายต้องเปลี่ยนมาใช้ชื่อ จาก จอห์น (John) มาเป็น เจน ( Jane) แทนเสียแล้ว


 


เอ็มม่า แบลร์  ( Emma Blair) นักเขียนนิยายรักโรแมนติดติดอันดับหนังสือขายดี เรื่อง ฟลาวเวอร์ ออฟ สก็อตแลนด์ (flowers of Scotland) จริงๆแล้ว เธอ คือ ผู้ชาย ชื่อ เอียน (Iain)


 


นายแบรล์ กล่าวว่า "ผมกลายเป็นนักเขียนหญิง เพราะว่าผู้หญิงชอบอ่านงานของผู้หญิงด้วยกัน ดังนั้นในสถานะของผู้หญิงผมสามารถขายหนังสือได้มากขึ้น"


 


โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงจะซื้อหนังสือมากกว่าผู้ชาย และขณะนี้ผู้หญิงก็สามารถเขียนเรื่องราวได้ทุกประเภท ซึ่งเป็นสูตรแห่งความสำเร็จ ตราบเท่าที่ผู้หญิงและนวนิยายยังคงเกี่ยวพันกัน ผู้หญิงสามารถประสบความสำเร็จได้ในทุกอุตสาหกรรมแล้วในอังกฤษในขณะนี้ และนวนิยายก็ไม่แตกต่างไปจากความจริงที่ว่าผู้หญิงนั้นได้เข้ามายึดพื้นที่ที่ผู้ชายทำไว้ได้แล้ว


 


 เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงนี้ มีที่มาที่น่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่งว่าได้มีเรื่องราวของการเสริมศักยภาพของผู้หญิงเป็นพื้นอยู่ด้วย  และเป็นการตัดสินใจต่อสู้กลับกับการกดขีผู้หญิงก็เป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจเลือกอาชีพนี้


 


ในปี 2534 เมื่อ บุคเกอร์ ไฟรซ์  (Booker Prize) รางวัลด้านวรรณกรรมที่ที่มีชื่อเสียงที่สุดของอังกฤษ ได้ส่งรายชื่อผู้ติดอันดับเข้าชิงในรองสุดท้ายเป็นผู้ชายทั้งหมดโดยไม่ใส่ใจเสียงโห่ร้องต้อนรับ มากาเร็ต อัทวู้ด (Magaret Atwood) และ แองเจล่า คาร์เตอร์ ( Angela Carter) เลย


 


มีผู้หญิงกลุ่มหนึ่งไม่รู้ว่าอะไรจะแย่กว่ากัน ระหว่า ความจริงที่ว่าไม่มีผู้หญิงได้เข้าไปถึงรอบชิงเลย หรือความจริงที่ว่า ไม่มีใครทันสังเกตเห็นว่าไม่มีผู้หญิงได้เข้าชิงเลย


 


เคท มอสส์ ( Kate Mosse)นักเขียนติดอันดับหนังสือขายดีคนใหม่ เรื่อง ลาบีรินท์  (Labyrinth) กล่าวว่า " ผู้จัดงานไม่แม้กระทั่งจะเอะใจ  ลองจินตนาการสิว่า หากในทางกลับกันมีแต่รายชื่อผู้หญิงทั้งหมดอยู่ในรายการผู้เข้าชิง มันจะทำให้คนรู้สึกว่าคณะกรรมการจะทำประเด็นการเมืองอยู่แน่ๆ" สำหรับเคทและนักเขียนหญิงคนอื่นๆที่เป็นสมาชิกของอุตสาหกรรมนี้ เรื่องนี้ถือเป็นฟางเส้นสุดท้าย และในที่สุดพวกเธอก็หาทางออกโดยการตั้งรางวัลที่ให้นักเขียนหญิงโดยเฉพาะ


 


เคทกล่าวว่าในบางโอกาสซึ่งน้อยมากที่ผู้หญิงได้ข้าไปถึงรอบสุดท้าย พวกเธอก็มักถูกกล่าวถึงในฐานะของ " ตัวแทนจากฝ่ายหญิง" พวกเธอไม่เคยถูกตัดสินด้วยคุณภาพของงานขียนเพียวๆ เลย


 


เราถูกกล่าวหาว่าทำการ "แปลกแยก"นิยายผู้หญิงแต่ข้อโต้แย้งของฉันก็คือ มันก็ถูกแยกอยู่แล้ว ก็คงไม่มีอะไรจะแย่ไปกว่านี้อีกแล้วหรอก


 


"จริงๆแล้ว เราเพียงต้องการมีอะไรซักสักอย่างหนึ่งที่ง่ายๆ เพื่อจะทำให้หนังสือที่เขียนโดยผู้หญิงจะได้มีคนอ่านมากขึ้น" และสิ่งนี้ก็คือ การมีรางวัล ออเรนจ์ ไพรซ์ (Orange Prize) สำหรับนิยาย ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในเรื่องราวของความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์สำนักพิมพ์ในปัจจุบัน ปีนี้ก็ฉลองครบรอบ 10 ปีแล้วและมีชื่อเสียงไปในระดับนานาชาติที่ไปเข้ากันพอดีกับรางวัล บุคเกอร์  ( Booker )และ วิทเบรด ( Whitbread)ซึ่งมีมายาวนานกว่า 30 ปีแล้ว


 


เมื่อตอนที่เริ่มต้นรางวัลนี้ใหม่ๆนั้นก็ถูกตำหนิจากกลุ่มต่างๆมากมาย ออเบอรอน วาฟช์ ( Auberon Waugh)  มองอย่างไม่ให้ความสำคัญว่าเป็น เลมอน ไพรซ์ (Lemon Prize) ในขณะที่ เอ. เอส. ไบแอต (A.S. Byatt) บอกว่า เธอไม่สามารถจะสนับสนุนสิ่งที่เป็นการ แปลกแยก ผู้หญิงได้


 


ทว่า รางวัลนี้กลับสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางเอาไว้ที่ว่าเพื่อจะทำให้หนังสือที่เขียนโดยนักเขียนหญิงขายได้มากขึ้น โดยมีคนอ่านมีวงกว้างขึ้นทั้งสองเพศ  นักเขียนสามารถคาดหวังได้เลยว่าจะขายได้อย่างน้อย 10,000 ปก ใน 1 เดือนหลังจากได้รางวัล แอน ไมเคิล (Ann Micheal) เจ้าของรางวัลประจำปี 2540 ก้าวจากการขายเพียง 1,000  ยอดจำหน่ายในหนังสือเล่มอื่น ใน เรื่องฟูจิทีฟ ไพซิส  ( Fugitive Pieces) ของเธอขายได้ถึง 15 ล้านเล่มทั่วโลก  และเมื่อรางวัลยิ่งเติบโตและมีชื่อเสียงมากขึ้นเท่าไร นักเขียนหญิงก็ยิ่งมีความมั่นใจเพิ่มขึ้นเท่านั้น


 


ในขณะที่หากพวกเธอได้ลงตัวกับเนื้อหาที่เป็นไปตามแนวนิยายผู้หญิงแบบเดิมๆแล้ว เช่นเรื่องความ สัมพันธ์และเรื่องโรมานซ์  ตอนนี้พวกเธอก็เริ่มหันมาเขียนในแนวที่เคยเป็นแนวที่ผู้ชายคุมอยู่ เช่นงานเขียนประเภท สยองขวัญ แอคชั่น และผจญภัย บ้างแล้ว ตัวอย่างเช่น นิยายของ จิลเลียน สโลโว ( Gillian Slovo) เรื่อง  the Ice Road  ที่ได้เข้ารอบสุดท้าย Orange Prize เป็นเรื่องที่มีเนื้อหาถึงความโหดร้ายของสตาลินและการปิดล้อมโจมตีที่


เลนินกราด


 


อาลี กุนน ( Ali Gunn) เอเย่นต์วรรณกรรมที่ เคอร์ทิส บราวน์ ในลอนดอน กล่าวว่า โฉมหน้าแวดวงวรรณกรรมกำลังเปลี่ยนแปลงไป


 


นักเขียนหญิงนั้นได้มีการเพิ่มศักยภาพขึ้นมากทั้งในแง่ของการเขียนและการอ่านทั่วประเทศ ในขณะที่นิยายของผู้ชายนั้นอยู่ในกลุ่มที่ค่อนข้างจำกัด


 


"นักเขียนและนักอ่านชายนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขยายวงให้กว้างออกไป และ แซลลี ซิกมันด์ ( Sally Zigmund) บรรณาธิการคัดสรรนิยายผู้หญิงที่มีคุณภาพในกับนิตยสาร กล่าวว่า "ในเทศกาลงานเขียนแนวอาชญากรรม เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นั้น ฉันอึ้งไปกับความจริงที่พบว่า ทั้งคนฟัง และผู้อภิปรายที่อยู่เวทีล้วนแล้วแต่เป็นผู้หญิง"


 


"นี่เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งเมื่อคุณได้พิจารณาว่าจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้นี่เองที่ผู้ชายยังเป็นพวกยังคุมงานเขียนประเภทอาชญากรรมอยู่เลย


 


สมาคมวรรณศิลป์โดยธรรมเนียมแล้วมักจะเป็นพื้นที่สำรองไว้สำหรับผู้ชาย แต่เราก็เริ่มที่จะท้าทายเรื่องนี้แล้ว  โครงการทางวรรณกรรมทั้งปวงที่จัดขึ้นเพื่อช่วยผู้หญิงที่เขียนนิยายก็สามารถช่วยได้มากจริงๆ  มีองค์ประกอบที่น่าประหลาดใจในการเปลี่ยนแปลงสถานะของนักเขียนหญิงในช่วงไม่กี่ปีมานี้คือการได้ออกโทรทัศน์ช่อง 4 รายการ Richard Judy show หนังสือทุกประเภทที่อยู่ในชมรมของพวกเขาขายประมาณ 100,000 เล่มต่อสัปดาห์ และ หัวเรื่องต่างๆที่อยู่ในรายการขายได้ทั้งหมดถึง 4 ล้านยอดในกลุ่มสมาชิกด้วยกัน และผู้ที่ดูรายการทางช่อง 4 ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง


 


แคธี ไรช์ ( Kathy Reichs) ซึ่งเป็นเจ้าของนิยาย เรื่อง  Cross Bone  ตอนนี้ติดอันดับหนังสือปกแข็งที่ขายดีที่สุด กล่าวว่า เรามีนักเขียนหญิงที่แกร่งมากในอังกฤษในทุกวันนี้ และพวกเธอก็ได้ช่วยเหลือตัวเองเพื่อให้มีส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้นยิ่งๆขึ้น


 


"การมีชมรมรหนังสือริชาร์ด จูดี และโครงการอย่าง ออเร็นจ์ ไพรซ์  มีประสิทธิภาพมากในการกระตุ้นให้ผู้หญิงทุกวัยอ่านและเขียนนิยายมากขึ้น"  สำนักพิมพ์ของผู้หญิงใน 10 ปีมานี้ ประสบความสำเร็จมากจนกระทั่งอุตสาหกรรมบางอย่างเริ่มที่จะตั้งคำถามว่าเห็นทีจะต้องมี ออเร็นจ์ ไพรซ์ บ้างแล้ว  แต่เคท มอสส์ ไม่เห็นด้วย เธอกล่าวว่า "ตราบ เท่าที่รางวัลได้ทำหน้าที่อย่างที่มันถูกวางเอาไว้ มันถึงจะมีความจำเป็นที่จะต้องมีอยู่" บางที คำถามที่ดูว่าน่าจะเกี่ยวข้องกันมากกว่า น่าจะเป็นว่า " ตอนนี้มีความจำเป็นที่จะมีรางวัลสำหรับผู้ชายโดยเฉพาะแล้วหรือยัง"


 


ลองมาสำรวจตามแผงกันซิว่า ในเมืองไทยหนังสือที่ติด 20 อันดับหนังสือขายดีของแต่ละร้านมีหนังสือที่ผู้หญิงเขียนอยู่สักกี่เล่มกันนะ


 


------------------------------------------------------- 


เรียบเรียงจาก : earthlink. Net


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net