Skip to main content
sharethis

 








ประชาไท- เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงศรีลังกาจับตัวชาวทมิฬ 12 คน ต้องสงสัยโยงใยกับการลอบสังหารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ  ในขณะที่กลุ่มกบฏพยัคฆ์ทมิฬอีแลมยังคงออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารดังกล่าว

 


นายพลจัตวา ดาวา รัตนยาเค โฆษกประจำกระทรวงกลาโหมกล่าวว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ( 14 สิงหาคม) ทางฝ่ายทหารและตำรวจซึ่งได้ถูกมอบหมายให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ค้นหาผู้กระทำการลอบสังหารที่เกิดขึ้นในกรุงโคลัมโบเมืองหลวงของศรีลังกาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ได้มีการจับกุมผู้ต้องสงสัยซึ่งเป็นชายชาวทมิฬ 11 คน และหญิง 1 และในขณะนี้ผู้ต้องสงสัยทั้งหมดก็อยู่ระหว่างการสอบปากคำอยู่


 


ภายหลังจากที่มีการลอบสังหารนายลักษมัน คาดีร์กามาร์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทางการศรีลังกาก็ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินทันที และมีการกองกำลังด้านความมั่นคงที่ประกอบด้วยทั้งทหารและตำรวจให้ออกล่ามือสังหารทันที  ทางเจ้าหน้าที่ระดับสูงของศรีลังกาได้ออกมากล่าวเตือนว่าการสังหารในครั้งนี้จะเป็นเหตุใหญ่ที่ถอยกลับไปสู่จุดแตกหักในกระบวนการสันติภาพ  ซึ่งทางกลุ่มกบฏพยัคฆ์ทมิฬอีแลม นั้นก็ได้ออกมายืนยันว่าทางกลุ่มไม่ได้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารดังกล่าว


 


" การหยุดยิงเป็นเวลา 3 ปี กับกลุ่มกบฏนั้นก็ยังคงอยู่ จากด้านของเราไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เราเคารพข้อตกลงหยุดยิง" รัตนยาเคกล่าว


 


ทั้งนี้ กลุ่มกบฏเริ่มพยัคฆ์ทมิฬเริ่มต่อสู้มาตั้งแต่ปี 1983 เพื่อแบ่งแยกดินซึ่งเป็นส่วนที่เป็นที่อยู่ชนเผ่าทมิฬซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยโดยอ้างว่าได้รับการเลือกปฏิบัติจากชาวสิงหลซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ สงครามกลางเมืองในศรีลังกาได้คร่าชีวิตคนไปประมาณ 65,000 คน จากจำนวนประชากรของประเทศที่มี 19 ล้านคน ต่อจากนั้นประเทศนอรเวย์ก็เข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจาหยุดยิงในปี 2002


 


การเจรจาสันติภาพของทั้งสองฝ่ายต้องยุติลงเมื่อฝ่ายกบฏได้เรียกร้องที่จะปกครองตนเองในบริเวณที่เป็นเขตของตนในภาคตะวันออกและภาคเหนือของศรีลังกา


 


แม้ว่ารัฐบาลจะไม่มีความคืบหน้าในการที่จะทำให้มีการหยุดยิงกับกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลม แต่เจ้าหน้าที่จากทั่วโลกก็ได้สนับสนุนให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินการกระบวนการสันติภาพต่อไปและให้เคารพข้อตกลงที่จะสงบศึกชั่วคราว


 


นักกฎหมายจากพันธมิตรแห่งชาติทมิฬซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เป็นพันธมิตรกับกลุ่มกบฏกล่าวว่า การสังหารครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากกระบวนการสันติภาพนั้นนิ่งเกินไป ไม่มีความคืบหน้าใดๆ


 


"เรารู้สึกว่า ประเทศของเรากำลังเผชิญอยู่กับภาวะดึงเครียดที่จะเกิดสงครามมาสักระยะหนึ่งแล้ว และตอนนี้ การสังหารในคราวนี้มันจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายมากขึ้น" คานากาลิงกาม สิไวอิลิงกาม ฝ่ายนิติบัญญัติ กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับเอพี


 


"รัฐบาลควรจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อจะเริ่มการเจรจาสันติภาพอีกครั้งหนึ่งเพื่อที่จะนำสันติภาพกลับมาอย่างถาวรและยุติการฆ่าเหล่านี้เสียที"


 


การทำร้ายบุคคลระดับสูงได้ยุติลงหลังจากที่มีการหยุดยิงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2002 แต่ว่ากลับเริ่มมีความตึงเครียดขึ้นระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายกบฏเพิ่มขึ้นอีกเมื่อเร็วๆนี้  มีการโจมตีเกิดขึ้นและกระจายตัวอย่างเร็วจากพื้นที่ทางภาคตะวันออก และเป็นครั้งคราวก็ขยายเข้ามาสู่กรุงโคลัมโบ


 


คาดีร์กามาร์ วัย 73 ซึ่งเป็นชนชาวทมิฬซึ่งพยายามอย่างมากที่จะหยุดยั้งกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬในฐานะองค์กรก่อการร้าย และต่อมาได้เป็นผู้ที่พยายามอย่างมากในการสร้างสันติภาพ ได้ถูกยิงที่บ้านพักของตนเองถึง 4 นัด ศีรษะและน่าอก เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาและเสียชีวิตในที่สุด


 


เจ้าหน้าที่ศรีลังกา ยังคงไม่เชื่อคำปฎิเสธของกลุ่มกบฎว่าไม่มีส่วนกับการสังหารดังกล่าว"ยากที่จะเชื่อคำปฏิเสธของกลุ่มกบฏ" นิมาล สิริพาลา เดอ ซิลวาโฆษกรัฐบาลกล่าวกับผู้สื่อข่าว


 


การประกาศภาวะฉุกเฉินโดยประธานาธิบดีจันทริดา กุมาราตุงคะ  เป็นเสริมอำนาจให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะจับกุมคุมขังผู้ต้องสงสัยว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ก่อการร้ายได้ทันทีโดยไม่ต้องมีข้อกล่าวหาและสามารถเข้าไปค้นหาหรือรื้อถอนอาคารได้


 


ที่มา: เอพี


http://www.tri-cityherald.com/24hour/world/story/2631849p-11114993c.html

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net