Skip to main content
sharethis

 

เรียบเรียงจากการปาฐกถาเรื่อง "60 ปี  แห่งการเสริมสร้างสันติภาพไทย" โดยนายสุลักษณ์  ศิวรักษ์  เนื่องในงานฉลอง 60 ปี  วันสันติภาพไทย ณ หอประชุมใหญ่  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ท่าพระจันทร์  ทั้งนี้  รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 16 สิงหาคม เป็น "วันสันติภาพไทย" และเป็นวันที่รำลึกถึงวีรกรรมกู้ชาติของขบวนการเสรีไทย ซึ่งมีความสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทยอีกด้วย

 

 

 

 

ประชาไท—16  ส.ค. 48 วันนี้  นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์  ผู้ได้รับยกย่องเป็นปัญญาชนสยามได้กล่าวปาฐกถาเนื่องในโอกาสพิเศษนี้  ทั้งนี้  ถือเป็นการย้อนรำลึกถึงขบวนการเสรีไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยหยิบโยงประเด็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์และบูรณาการกับแนวคิดตามหลักพุทธศาสนาได้อย่างน่าสนใจ  ขณะเดียวกันก็วิพากษ์และเสนอทางออกที่กระตุกเตือนสังคมได้อย่างเฉียบคม

 

 

 

 

 

ทั้งนี้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่  2 หลังจากนายปรีดี  พนมยงค์  ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และหัวหน้าขบวนการเสรีไทยได้ประกาศสันติภาพเมื่อวันที่  16 ส.ค. 2488 เป็นพระบรมราชโองการในพระปรมาภิไธยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8  ภายหลังจากที่ญี่ปุ่นยอมจำนนโดยปราศจากเงื่อนไขต่อฝ่ายสัมพันธมิตรแล้ว นับเป็นการประกาศยืนยันเอกราชและอธิปไตยของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจากฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงคราม 

 

 

 

 

 

นับจากวันนั้นจนถึงวันนี้จึงครบรอบ 60 ปี ในการประการสันติภาพดังกล่าว โดยนายสุลักษณ์  มองว่า  "ในรอบ 6 ทศวรรษนี้ได้มีการเสริมสร้างความขัดแย้งและความรุนแรงทั้งในประเทศมากกว่าสันติ

 

 

ภาพเสียอีก"  โดยถ้าความเป็นไปในบ้านเมืองและโลกมีประชาธิปไตยที่เนื้อหาสาระก็เท่ากับว่าเป็นการสร้างสันติภาพแล้ว  แต่ถ้าเป็นยังคงเป็นเผด็จการมากเท่าไรนั่นคือการลิดรอนเสรีภาพ  ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งและรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก 

 

 

 

 

 

ย้อนรอยเสรีไทย

 

 

นายสุลักษณ์เล่าว่า  นายปรีดี พนมยงค์  ผู้สำเร็จราชการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  ประกาศสันติภาพขึ้นเมื่อวันที่ 16  ส.ค. 2488 นั้น การประกาศสันติภาพดังกล่าวถือเป็นการเสริมสร้างสันติภาพไทยโดยแท้  เพราะในทางนิตินัยประเทศไทยที่อยู่ภายใต้การนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม  ซึ่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาในวันที่ 25 ก.ค.2485 ไปแล้ว  ส่วนทางพฤตินัยญี่ปุ่นก็ได้ยึดครองประเทศไทยโดยอ้างว่าใช้ประเทศไทยเป็นเพียงทางผ่านไปพม่า  อินโดนีเซียและมาเลเซียเท่านั้น  โดยไม่ถือว่าเป็นอาณานิคม  ในกรณีนี้ไม่ถือว่าไทยเป็นเมืองขึ้นญี่ปุ่น  แต่ก็เท่ากับอธิปไตยของไทยขาดวิ่นลงอย่างเลวร้ายใน 8 ธ.ค. 2484  ขณะนั้นถ้าไม่มีศูนย์บัญชาการของนายปรีดี  พนมยงค์  อยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองแห่งนี้  สันติภาพย่อมคืนกลับมาไม่ได้แล้วเมื่อวันนั้น

 

 

 

 

 

หลักธรรมของสัตตบุรุษ:  สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ

 

 

คำๆ หนึ่งที่ต้องตราไว้คือ  นายปรีดี  พนมยงค์  หัวหน้าขบวนการเสรีไทยที่ติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตร  ใช้รหัสตนเองว่า "รูธ (ruth)" ซึ่งเชื่อว่าย่อมาจาก "ทรูธ(Truth)"  หรือแปลว่าสัจจะ  นับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับมนุษย์  เพราะถ้าปราศจากสัจจะหรือความจริงใจต่อกันเสียแล้ว   มนุษย์ย่อมจะงอกงามขึ้นไม่ได้ 

 

 

 

 

 

ทางพุทธศาสนาเปรียบมนุษย์เป็นดังต้นไม้หรือสัจจะ  คือถ้าพืชพันธุ์ที่ดีถ้าลงไปในดินแล้วเติบโตได้ดีก็คือมีทมะ  และหากว่าสามารถทนทานต่อดินลมฝนแม้แต่พายุได้ก็คือขันติ  จากนั้นจึงงอกงามเต็มที่จนแผ่กิ่งก้านให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์และสัตว์ได้อาศัยร่มใบเรียกว่าจาคะ  

 

 

 

 

 

ต้นไม้ฉันใดมนุษย์ก็ฉันนั้น  มนุษย์จึงควรมีความจริงใจโดยปรับตัวให้มีความอดทนเพื่อให้เกิดผลประโยชน์หรืออุดหนุนจุนเจือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้   ซึ่งนายปรีดี  พนมยงค์ได้ยึดหลักธรรมทั้ง 4 ประการนี้ไว้  โดยยิ่งในช่วงวิกฤติการสงครามนั้นแล้วความจริงใจและการปรับตัวอย่างรู้เท่าทันด้วยความอดทนมาโดยตลอด เพื่อให้บ้านเมืองและราษฎรเป็นปกติสุข  แต่ถ้าหากบ้านเมืองขาดความจริงจังและจริงใจแล้วสันติภาพย่อมดำรงอยู่ไม่ได้  อย่างที่พูดว่า  "สภาที่ปราศจากสัตตบุรุษหาใช่สภาไม่"

 

 

 

 

 

ทั้งนี้  นายสุลักษณ์  อธิบายต่อไปว่า  สัตตบุรุษก็คือคนที่พูดจริงทำจริง  ถ้าพูดหาสาระไม่ได้ก็เท่ากับขาดสัจจะ  ก็เท่ากับเป็นของปลอม  เป็นของกึ่งจริงกึ่งเท็จไปหมด  โดยจะหาสาระในชีวิตไม่ได้เลย  โดย

 

 

เฉพาะอย่างยิ่งหากว่าทางการเมืองมีสัจจะแล้ว  สันติภาพกับเอกราชก็จะต้องได้ไปด้วยกัน โดยจะต้องเป็นเสรีภาพที่เนื้อหาสาระไม่ใช่แบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา  สันติภาพก็จะนำไปสู่ภราดรภาพในที่สุด  โดยเริ่มจากทางพฤตินัยไปสู่เอกภาวะในสังคมวัฒนธรรมที่มีสุขภาวะ ในทางบ้านเมืองฉันใด 

 

 

 

 

 

ในทางพลเมืองนั้นแต่ละคนก็ต้องเคารพตนเอง  ตนเองต้องเป็นไท  ต้องเคารพตนเอง  และฝึกปรือสันติภาวะที่อยู่ในตัวตนและนำออกมาเกื้อกูลผู้คนอย่างสม่ำเสมอ   นั่นคือการเคารพตนเองและคนอื่นโดยไม่คำนึงว่าใครจะสูงต่ำดำขาว  มีชาติวุฒิหรืออำนาจ  ตามสถานภาพที่สังคมกำหนดให้ สิ่งนี้จึงเป็นแนวทางภราดรภาพและเสมอภาคอย่างแท้จริง

 

 

 

 

 

ขบวนการกู้ชาติ ปลูกเอกราชในเอเชียอาคเนย์

 

 

นับว่า 16 ส.ค. 2488 เป็นจุดเริ่มของการเสริมสร้างสันติภาพไทยในทางการเมือง แม้ว่าประชาธิปไตยจะกลับคืนมาไม่เต็มที่  แต่เอกราชก็ได้กลับคืนมาทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย  โดยมีสันติภาพมากขึ้นทั้งทางการเมืองและการศึกษา  โดยทางการเมืองและการปกครองมีสันติภาพไปพร้อมกันในขณะนั้น 

 

 

 

 

 

ขณะที่  ประเทศในเอเชียอาคเนย์ล้วนเสียอิสรภาพในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ญี่ปุ่นเข้ามายึดแทน  โดยใช้คำว่าเข้ามาปลดแอกจากชาติตะวันตก  แต่ก็เท่ากับญี่ปุ่นยึดเป็นอาณานิคมของตนเอง ซึ่งประเทศอื่นหาได้อิสรภาพไม่ 

 

 

 

 

 

เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามทุกประเทศที่เคยถูกญี่ปุ่นยึดครอง ก็ต้องต่อสู้กับความเป็นอิสระภายในอีก  ซึ่งความข้อนี้นายปรีดี  ถือว่ามีคุโณปการสำคัญโดยเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการกู้ชาติประเทศเพื่อนบ้าน  โดยเฉพาะเวียดนาม  กัมพูชา  ลาว  อินโดนีเซีย  เราต้องการเอกราชฉันใดเพื่อนบ้านก็ต้องการเอกราชฉันนั้น  โดยประเทศต่างๆได้ขอให้ทางเราช่วย  ในฐานะที่พอช่วยได้ ไม่ใช่เบียดเบียนบีฑาเพื่อนบ้านอย่างเลวร้ายดังในปัจจุบันนี้  โดยปรึกษาหารือการตั้งสหชาติเอเชียอาคเนย์  เพื่อรวมเอกราชเอาไว้ด้วยกันแม้ว่าประเทศเหล่านี้จะมีลัทธิการปกครองต่างกัน  แต่ก็มารวมกันอย่างสามัคคีธรรม ทำให้ย่อมมีพลังต่อรองกับอภิมหาอำนาจหรือประเทศอื่นๆ เพราะนายปรีดี  มองเห็นแล้วว่าเมื่ออินเดียมีอิสรภาพก็จะเป็นใหญ่ในเอเชีย

 

 

 

 

 

ในที่นี้เอกราชหมายถึงความเป็นหนึ่ง  เอกะคือการทำให้เกิดเป็นไททั้งประชาชาติและประชากร  ราชะคือก่อให้เกิดความยินดี  ประชาชนปราศจากความด้อยในความเป็นเมืองขึ้นอาณานิคมหรือเจ้าขุนมูลนาย  สมบูรณาญาสิทธิราชย์  หรือแม้แต่ทักษิณาธิปไตย

 

 

 

 

 

เอกราชหมายถึงประชาชาติและประชาชนเกิดความยินดีในการปกครองนั้นๆ เรียกว่าIndepen

 

 

dent  หมายถึง ประเทศชาติเอกราช ส่วนเอกราชของประชาชนให้คำว่า Free  ดังนั้นเอกราชและอิสรภาพจึงเป็นไวพจน์กัน  ราษฎรก็จะมีความเป็นไท  มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง  ประชาธิปไตยคือฟังเสียงคนส่วนใหญ่และส่วนน้อยด้วย  โดยแต่ละท้องถิ่นก็มีความเป็นไทเช่นเดียวกัน  เอกราชจึงหมายถึงแต่ละท้องถิ่นภูมิภาคมีความเป็นไทและพึ่งพาอาศัยกัน

 

 

 

 

 

อย่างไรก็ตาม  สหชาติเอเชียอาคเนย์ ได้กำหนดบริเวณหนึ่งๆย่อมเป็นไทยและมีอำนาจปกครองตนเอง    ที่น่าสังเกตคือได้เลือกนายเตียง ศิริขันธ์  ส.ส.สกลนครเป็นประธาน  โดยคนผู้นี้มีบทบาทในภาคอีสานและกระบวนการเสรีไทย ทั้งนี้หมายความว่า แนวโน้มนโยบายเมื่อ 60 ปีของไทยจึงเน้นให้แต่ละพื้นที่มีเอกราชในการปกครองตนเอง  โดยถ้านโยบายนี้ได้สัมฤทธิ์ผลจะส่งเสริมให้เกิดประชาธิปไตยคือเอกราช และจะดำเนินไปควบคู่กับสันติภาพอย่างแน่แท้ 

 

 

 

 

 

หากรัฐบาลไม่ดำเนินนโยบายผิดพลาดไปเสียก่อนในสงครามโลกครั้งที่ 2 การรวมชาตอทั้งลาว,ไทยใหญ่ก็มีแนวโน้มรวมกับประเทศไทยในเวลาต่อมา  โดยให้เอกราชในการปกครองตนเอง  สามารถดำรงอธิปไตย  เอกราชและสันติภาพไว้ได้   นั่นแสดงให้เห็นถึงการเสริมสร้างสันติภาพไทยตั้งแต่ปี 2488 กับภูมิภาคต่างๆ เป็นไปด้วยดี

 

 

 

 

 

เมื่อสัจจะปลาสนาการไปจากการเมืองไทย

 

 

การเสริมสร้างสันติภาพไทยทั้งภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านด้วยขบวนการประชาธิปไตย  มาสะดุดและยุติลงเมื่อ 8 พ.ย. 2490  ด้วยการยึดอำนาจรัฐประหารภายใต้จอมพล ป.พิบูล สงคราม  และพลโทผิน  ชุนหะวัณ  แม้รูปแบบประชาธิปไตยจะอยู่จนถึงปี 2551  แต่เนื้อหาประชาธิปไตยลดหายไปทุกที  รัฐบาลเผด็จการในการเมือง ถูกก้าวก่ายจนเกิดกบฏแยกดินแดน  มีการถูกประหารจองจำและถูกจองล้างจองผลาญด้วยประการต่างๆ  เป็นอันว่าสันติภาพได้ปลาสนาการไปแทบทุกส่วน  ที่สำคัญสัจจะก็ปลาสนาการไป 

 

 

 

 

 

ทั้งนี้  คนดีไม่สามารถดำรงอยู่ได้ทางการเมือง  มีแต่พวกปลิ้นปล้อนนักฉวยโอกาส  ผู้ขาดจุดยืนทางคุณธรรมใดๆ ทั้งสิ้นได้รับคำสรรเสริญเยินยออย่างปราศจากการวิพากษ์วิจารณ์อันชอบธรรม   คนดีๆ ก็ไม่ได้รับยอมรับ  นักการเมืองที่โกงกินมีอนุสาวรีย์ไว้ขายความอายอย่างกว้าง

 

 

ขวางทั้ง  จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์,  จอมพล ป. พิบูลสงคราม, พล.ตร.อ. เผ่า  ศรียานนท์  หรือดูชื่อของอนุสรณ์สถานของสถานที่ราชการต่างๆ เป็นตัวอย่างก็ได้ทุกแห่งหน 

 

 

 

 

 

ความกึ่งจริงกึ่งเท็จ เอามาแทนที่สัจจะ  การเรียนรู้เป็นไปอย่างมอมเมามีแต่ความกึ่งดิบกึ่งดี แม้แต่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองก็เปลี่ยนชื่อไป  สาระทางธรรมก็ขาดหายไปกับสถานบันการศึกษาแห่งนี้  รับใช้เงิน,อำนาจและวิทยาการฝรั่งทำให้ความรู้ทางธรรมขาดเป็นเสี่ยงๆ อย่างขาดองค์รวม โดยเน้นที่หัวสมองโดยขาดการโยงไปที่หัวใจ  เป้าหมายการศึกษาให้ผู้เรียนไต่บันไดทางสังคมไปเรื่อยๆ เมื่อสำเร็จการศึกษาก็จะมีอาชีพที่เหมาะสมกับชั่วโมงบิน  โดยที่นั่นจะเป็นมิจฉาชีพหรือสัมมาอาชีพไม่ใช่เป็นประเด็น  สถานศึกษาที่จะให้อิสระและเพื่อผู้ยากไร้จึงเป็นไปไม่ได้ 

 

 

 

 

 

ความวิกฤตวิปลาสของสังคมไทย

 

 

ชื่อของนายปรีดี  พนมยงค์กลายเป็นมารร้ายที่แย่งชิงประชาธิปไตยไปจากในหลวงรัชกาลที่7 โดยกล่าวหาว่าลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8  เมื่อเขาตายจาก ในปี 2525 สมาชิกรัฐสภาไทยที่เขาก่อตั้งขึ้นมาไม่ยืนไว้อาลัยให้เขาแม้แต่ 1 นาที  การนำเสนอชื่อไปยูเนสโกเพื่อให้เป็นคนสำคัญระดับโลกในงานฉลองชาติการก็เป็นไปอย่างกล้าๆกลัวๆ  เพราะชั้นปกครองยังกลัวสัจจะและกลัวคนดี โดย ไม่เข้าถึงคุณงามความดีของคนที่ปิดทองหลังพระ  อย่างนายดิเรก  ชัยนาม  ซึ่งตกไปชื่อทั้งๆที่ควรมีการให้เกียรติ  โชคดีที่นายกุหลาย  สายประดิษฐ์  ผ่านยูเนสโกไปได้ในฐานะคนสำคัญของโลก

 

 

 

 

 

วันนี้คำว่าสันติภาพกลายเป็นคำโสโครกไป  เมื่อเกิดกบฏสันติภาพในปี 2495 และในโลกเสรีนิยมที่ยอมรับการพัฒนา  ทำให้สันติภาพมีความหมายเลวร้าย  ทั้งในโลกเสรีประชาธิปไตย  ไทยก็เดินตามก้นสหรัฐมาตั้งแต่ปี 2495  นั่นคือการทำลายเสรีภาพของไทยไปอย่างไม่รู้ตัว

 

 

 

 

 

การทำลายล้างสันติภาพและความยากไร้ได้ขยายขอบเขตไปสู่ชนชั้นกลางมากขึ้น  รัฐเดินตามนโยบายสหรัฐอย่างเซื่องๆ   แม้ว่าจะไม่เป็นอาณานิคมของฝรั่งทางการเมือง  แต่ไทยก็อยู่ใต้อำนาจมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยเฉพาะที่ทุนขยายออกไป  โดยใช้ความรุนแรงเป็นฐานหลักแม้จะเป็นคนไทยอย่างเดียวกัน  และกำลังขยายความรุนแรงเพิ่มขึ้นระหว่างคนชั้นบนกับคนชั้นล่าง  คนกลุ่มน้อยรังแกคนกลุ่มใหญ่  การเอารัดเอาเปรียบนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความรุนแรง

 

 

 

 

 

ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงเกิดจากอีกฝ่ายที่สู้ด้วยกฎหมายไม่ได้ก็สู้โดยไม่ใช้กฎหมาย  เวรย่อมระงับไม่ได้ด้วยการจองเวร เพราะมัวมุ่งเสาะแสวงหาความร่ำรวยในระยะสั้น ดังนั้นการหาทางออกก็คืออหิงสา  การท้าทายแนวคิดกระแสหลัก  ต้องตั้งข้อกังขา โดยการทำให้โปร่งใส และนำความทุกข์โยงกับอกุศลทั้ง โลภ  โกรธ  หลง  จึงมีความสำคัญ

 

 

 

 

 

ขณะนี้คนถูกทำให้เคารพนับถือเงิน  เรานำภาระหนักมาให้ บัดนี้คนได้กลายเป็นหัวของทุนนิยมไปหมดแล้ว  ถ้าไม่ซื้อก็หมดค่าของคน  และนี่ก็คือที่มาของความรุนแรง

 

 

 

 

 

เข้าใจชีวิตด้วยวิถีพุทธ

 

 

ศาสนาพุทธสอนว่า  เพราะหายใจฉันจึงมีชีวิต  เราหายใจตลอดแต่เราไม่ให้ความสนใจ  เราไม่ให้ความสนใจกับลมหายใจเราเลย  จึงจำเป็นต้องฝึกอาณาปานสติกำหนดลมหายใจ

 

 

 

 

 

เราควรเข้าใจชีวิตของเรานั้นว่า  ไม่ใช่ความยิ่งใหญ่ของเรา แต่ก็สำคัญไม่น้อยกว่าเราและต้องแสวงหากัลยาณมิตร  หัวใจของพุทธศาสนาคืออริยสัจ 4  แต่ทุกวันนี้คนเราไม่ยอมเข้าถึงความทุกข์แต่หนีทุกข์  ขณะที่โลกาภิวัตน์ทำให้เราไม่คำนึงถึงสาระของชีวิตและปฏิเสธสันติภาวะ

 

 

 

 

 

ทั้งนี้  ชีวิตมนุษย์ในศาสนาพุทธ  ประกอบด้วย 3 ประการ  คือการดำรงชีวิตที่อิสระ  การไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งจะเกื้อกูลอิสรภาพทางปัญญาในประการสุดท้าย  ทั้งยังควรพอใจในความเรียบง่าย  ความเห็นแก่ตัวลดลง  มีความสงบ  นั่นคือหลักสำคัญของเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ  โดยจำเป็นต้องมองความหลงอย่างรู้เท่าทัน  มีจิตสิกขาโยงกับปัญญาสิกขา 

 

 

 

 

 

สู่สันติธรรมในอนาคต

 

 

การนำนโยบายแบบเดิมไม่อาจปรับวิกฤติให้เป็นโอกาสได้  หากยังยึดติดกับ  โลภ  โกรธ หลง  ซึ่งขณะนี้พลังนอกระบบกำลังก่อตัวขึ้น  ผู้บุกเบิกที่สำคัญคือเอ็นจีโอ  เนื่องจากเห็นแล้วว่าในระบบทุนนิยมปัจจัยต่างๆ ล้วนส่งมาข้างบนลงล่าง  ทำให้เกิดช่องว่างสูงขึ้น

 

 

 

 

 

อย่างไรก็ดี  เอ็นจีโอ  ชนชั้นกลาง  ได้ร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก  ทั้งยังเน้นชนกลุ่มน้อย  โดยปัจจุบันอาจถือได้ว่าสมัชชาคนจนยิ่งใหญ่ที่สุดในตอนนี้  ซึ่งยึดหลักพอเพียง  พอดี  และสมดุล โดยทำเพื่อสังคมส่วนรวม  โปร่งใส  เปิดเผย  ร่วมมือ  และเสริมสร้างจากบรรพชน   ซึ่งขณะนี้ผู้หญิงก็มีบทบาทมากขึ้น  จึงเป็นความหวังในการสร้างความเข้มแข็งที่กำลังเริ่มจากจุดเล็กๆ นี้ เพราะนี่คือฐานสำคัญในการสร้างสันติธรรม

 

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net