Skip to main content
sharethis

นายสุกรี หลังปูเตะ นักวิชาการวิทยาลัยอิสลามยะลา บรรยายในหัวข้อ ระบบสันติภาพในอิสลาม : เงาแห่งภาพ ในการสัมมนานานาชาติ เรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับสันติภาพ ที่โรงแรมซี.เอส.ปัตตานี เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2548



ทุกคนย่อมแสวงหาสันติภาพ แต่สำหรับอิสลามถือว่า สันติภาพในโลกนี้ เป็นเพียงสันติภาพชั่วคราวเท่านั้น สันติภาพที่แท้จริงคือวันอาคีเราะห์ หรือโลกหน้า อิสลามได้แบ่งช่วงชีวิตออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงคือ โลกแห่งวิญญาณ ต่อมาคือโลกมนุษย์ และสุดท้ายคือโลกหน้า หรือวันอาคีเราะห์ โดยทั้ง 3 ช่วงชีวิตตางมุ่งไปสู่สันติภาพอย่างถาวร จึงถือว่า อิสลามคือเส้นทางแห่งสันติภาพ



นั่นคือการอธิบายคำว่าสันติภาพในมุมมองของอิสลาม ส่วนศาสนาอื่นก็จะมีมุมมองต่อสันติภาพอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเราก็ต้องมาทำความเข้าใจกัน และมาดูว่ามีจุดไหนที่เหมือนกัน เพราะหากเราดูจุดที่แตกต่างกัน สมานฉันท์ก็อาจจะไม่เกิดขึ้น บางทีเราจะพบว่าจุดที่เหมือนกันของทุกศาสนาอาจจะมีมากกว่าจุดที่แตกต่างกันเสียอีก



สำหรับคนที่ต่อสู้เพื่อสันติภาพต้องเป็นคนเก่ง ต้องไม่อ่อนแอ จะทำอย่างไรที่จะให้ใน 3 จังหวัด มีนักสร้างสันติภาพขึ้นมา เพราะประชาชนก็ไม่เข้าใจเรื่องการสร้างสันติภาพมากนัก ในขณะที่ชาวบ้านต้องการเห็นกิจกรรมการเพื่อสันติภาพ แต่คนที่ทำงานเรื่องสันติภาพในพื้นที่ขณะนี้ก็ยังขาดทักษะอยู่มาก ประกอบกับนักกิจกรรมเพื่อสันติภาพทั้งขององค์กรพัฒนาเอกชนหรือของรัฐบาลกยังไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่มากนัก



แนวทางแก้ไขคือต้องเร่งให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องันติภาพแก่ประชาชนให้มาก สร้างกระบวนการเพิ่มทักษะให้กับนักกิจกรรมเพื่อสันติภาพที่มีอยู่ในพื้นที่ เนื่องจากนักกิจกรรมเพื่อสันติภาพที่มีอยู่ก็ทำงานอย่างไม่ต่อเนื่อง



หลังการบรรยาย ได้เปิดโอกาสให้มีการซักถาม โดยนางชิดชนก ราอิมมูลา อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีถามว่า จะทำอย่างไรที่จะให้แนวคิดสันติวิธีเข้าไปอยู่ในกลุ่มก่อความไม่สงบได้



นายสุกรี ตอบโดยยกตัวอย่าง เด็กนราธิวาสคนหนึ่ง ที่ออกจากโรงเรียนตั้งแต่อยู่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพราะมีความเชื่อว่าจะปฏิวัติรัฐปัตตานีได้สำเร็จ แล้วเข้าไปอยู่ในขบวนการแบ่งแยกดินแดน ต่อมา



นายสุกรี กล่าวว่า ขณะคำว่าสันติภาพหรือสันติวิธีได้แพร่หลายเข้าไปในพื้นที่มากแล้ว เป็นคำที่ชาวบ้าน ได้ยินหนาหูมากขึ้นแล้ว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net