Skip to main content
sharethis







 

 

"ทำการบ้านวิชาคณิตศาสตร์นี้ให้เสร็จแล้วเอามาส่งพรุ่งนี้นะ ถ้าใครไม่ส่งครูจะยิง!" ครูคนหนึ่งกรุงในกาฎมัณฑุ ประเทศเนปาลพูดกับเด็กในระหว่างที่กำลังเขียนโจทย์การบ้านบนกระดานดำ

 



คำพูดของครูทำให้ สุดาร์ชาน พันเดย์  ( นามสมมติ) นักเรียนชั้นป. 5 ของโรงเรียนแห่งนั้นช็อคมาก ทันใดนั้นเด็กชายคนนั้นก็เริ่มมองไม่เห็นอะไรในกระดานดำ และไม่เห็นตัวอักษรในหนังสือด้วย


 


เด็กถูกนำตัวไปหาจักษุแพทย์หลังจากที่เขาบ่นว่า เขามองอะไรไม่เห็นเลยแม้กระทั่งบ้านของเขาเอง  และเมื่อไปถึงที่ตรวจเขาก็บอกว่าเขามองไม่เห็นอะไรเลยด้วย เขาถูกตรวจเช็คในมุมมองทางจิตวิทยาและพบว่า ที่เขามองอะไรไม่เห็นนั้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากข้อบกพร่องทางสายตา แต่มาจากสาเหตุอื่นที่ไม่อาจหาเหตุผลได้


 


และเมื่อมีการตรวจเช็คโดยจิตแพทย์ก็พบว่า นี่เป็นปัญหาทางจิตใจ ผลกระทบทางลบต่อสมองเกิดจากที่ถูกครูขู่เอาไว้หากเขาไม่ทำการบ้าน  ขณะนี้เขากำลังอยู่ระหว่างการรักษาตัวเพื่อให้กลับคืนสู่สภาพปกติ เหตุการณ์แบบเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้นในโรงเรียนเอกชนชื่อดังของเนปาลอีกหลายแห่งด้วย


 


ราชัน บิสตา อายุ 7 ขวบ อยู่ๆก็ปฏิเสธการไปโรงเรียน  เขาจะเริ่มร้องไห้และพยายามหลบเลี่ยงทุกวิธีและแม้แต่ปฏิเสธที่จะทานอาหารหากเขาถูกบอกให้ไปโรงเรียน เขาจึงถูกนำตัวไปหาจิตแพทย์ แล้วสิ่งที่เขาพูดออกมาก็คือ "ครูหยิกผมทั่วตัวไปหมด" และก็มีหลักฐานจากรอยข่วนที่พบตามตัวของเขา เมื่อผู้ปกครองถามครูคณิตศาสตร์ในวันต่อมาเขาก็ยอมรับว่า ทำจริงแต่ก็เป็นแบบล้อเล่นเท่านั้นและไม่เคยคิดว่านั่นจะส่งผลกระทบต่อสมองได้ถึงขนาดนั้น


 


นี่เป็นตัวอย่างเพียงส่วนน้อยเท่านั้น แต่การทรมานทางร่างกายที่ร้ายแรงยังมีมากกว่านี้ ส่วนใหญ่จะทำโทษเด็กนักเรียนด้วยวิธีการต่างๆนานๆ  อย่างเช่น  การตีด้วยไม้เรียวหรือไม้อื่นๆ เตะ บีบคอ ดึงผม จิ้มด้วยเข็มหมุด  นาบด้วยของร้อนๆ ช็อตด้วยกระแสไฟฟ้า และห้ามไม่ให้เด็กไปเข้าห้องน้ำ


 


มีหลายเหตุการณ์ที่พบว่า ทำให้เด็กถึงกับพิการ สูญเสียความสมดุลทางจิตใจ และฆ่าตัวตาย


 


เมื่อ 2-3 ปีให้หลังมานี้ มีเด็กคนหนึ่งที่โรงเรียนในเมืองโภคราเสียชีวิตไปในเมื่อถูกขังไว้ในห้องส้วมแล้วลืมปล่อยออกมา เหตุการณ์คล้ายๆกันนี้ก็เกิดขึ้นในโรงเรียนในกาฎมัณฑุเช่นกัน เด็กคนนั้นต้องถูกนำส่งโรงพยาบาลในวันต่อมาหลังจากที่ถูกขังลืมเอาไว้หนึ่งคืน  และก็ไม่ใช่เรื่องเล็กๆเลยเมื่อเด็กหญิงคนหนึ่งจากโรงเรียนในกาฎมัณฑุกินยาฆ่าตัวตามเมื่อเดือนมิถุนายนปีนี้


 


เมื่อพบว่ามีเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นในโรงเรียนหลายๆแห่งตามเมืองใหญ่ต่างๆ เราก็คงจะจินตนาการได้เลยว่า ในพื้นที่ถิ่นห่างไกลหรือทุรกันดารสถานการณ์จะเป็นอย่างไร แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมากว่ายังไม่มีเรื่องแบบนี้ถูกนำขึ้นมาให้ความสนใจว่าเป็นประเด็นสำคัญ


 


จากที่มีการร้องเรียนเพื่อขอความช่วยเหลือมาที่องค์กรด้านแรงงานเด็กในเนปาล (CWIN) 999 กรณี เมื่อปีที่ผ่านมา ผู้ร้อง 394 รายบอกว่าถูกครูทำโทษโดยวิธีการต่างๆ


 


จากการสำรวจของ ฮาเตมาโล ซานชาร์ ที่ทำให้โรงเรียนรัฐบาลและเอกชน 10 แห่ง นักเรียนที่ตอบสำรวจร้อยละ 82 บอกว่าเคยถูกทำโทษจากครู  เขาบอกว่า รู้สึกมีปมด้อย ความมั่นใจในตนเองลดลง และความสัมพันธ์กับเพื่อนและความครัวแย่ลง


 


ในโรงเรียนเอกชนที่ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ดในเนปาลทุกวันนี้ บรรดาครูที่สอบผ่าน SLC มา(School Leaving Certificate- ประกาศนียบัตรจบการศึกษาเทียบเท่าระดับ ม.ปลาย) ก็ยังไม่มีวุฒิภาวะพอและไม่มีคุณสมบัติพอที่จะรู้จิตวิทยาเด็ก พวกนี้สอนเด็กโดยวิธีการขู่และการทรมาน ในโรงเรียนรัฐบาลเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วเรื่องนี้จะเกิดขึ้นน้อยกว่า เนื่องจากผู้ที่จะสอนได้นั้นต้องมีใบอนุญาตการสอน


 


ดร.นันทิดา ชาร์มา อาจารย์จากภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัย ตรีภูวรรณ ( มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของเนปาล) กล่าวว่า พวกครูมีนิสัยชอบทำโทษเด็กเพื่อฝึกวินัยในนามของการให้การศึกษา เนื่องจากจากไม่รู้ถึงผลกระทบทางลบอันจะเกิดขึ้นแก่เด็กในระยะยาว


 


"ช่วงเวลาในวัยเรียนนั้นเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดที่ควรจะสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจของเด็กเพื่อจะทำให้เขาเป็นพลเมืองที่มีอารยธรรม"


 


นูปูร์ พัตตะชรา ผู้ประสานงานองค์กร Save the Children (Norway) กล่าวว่า ครูส่วนใหญ่ชอบคิดว่าจะต้องสั่งสอนเด็กด้วยการทำโทษ และพ่อแม่ก็มีความเห็นอย่างนั้นด้วยเช่นกัน


 


เธอบอกว่า มีเด็กประมาณร้อยละ 14 ที่ต้องออกจากโรงเรียนเพราะว่าถูกทำโทษ และเธอยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า เธอกำลังเน้นในการเตรียมการทำคู่มือกระบวนการสอนแบบไม่ต้องทำโทษ และการสร้างความตระหนัก


 


รองผู้อำนวยศูนย์พัฒนาเจ้าหน้าที่ด้านการศึกษา สาโนธิมิ  อินทรา ภาหะดูร์ เศรษฐา กล่าวว่า มีครูประมาณ 40 คนจะไปฝึกอบรมในเรื่องนี้โดยใช้เวลา 1 เดือนครึ่ง และจะนำมาอบรมต่อให้กับครูอีก 800 คน


 


ผู้เชี่ยวชาญทางจิตใจกล่าวว่า การทรมานร่างกายและจิตใจนั้นจะทำให้การพัฒนาทางด้านบุคลิกภาพต้องหยุดชะงักลง ขาดความสนใจในการอ่าน ทำให้เป็นคนใจร้อน และเริ่มที่จะโกหก ต้องการการแก้แค้นและพัฒนานิสัยที่ไม่ดี


 


ตามมาตรที่ 19 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ปี 1989 ซึ่งได้รับการอนุมัติจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ระบุไว้ว่า เด็กควรได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการทำร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจ และในมาตรา 28 ได้รับการอบรมเรื่องวินัยตามบรรทัดฐานของความเป็นมนุษย์ ปัจจุบันนี้การลงโทษทางร่างกายถูกห้ามไปทั่วโลกแล้ว  ในปี 2003 มี 27 ประเทศรวมทั้งสหรัฐฯที่ห้ามการทำโทษทางร่างกาย ออสเตรเลีย โครเอเชีย ไซปรัส เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี แลตเวีย นอรเวย์ สวีเดน และ ซิมบับเว ล้วนแล้วแต่ห้ามการลงโทษทางร่างกายทั้งสิ้น มีคำสั่งห้ามโดยศาลในอิสราเอล อิตาลี แซมเบีย และเบงกอลตะวันตกของอินเดีย


 


ในเนปาลนั้น ศาลฎีกา เคยมีกล่าวว่า  พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว ผู้อุปถัมภ์ และครู ดุด่าหรือตีเพียงเบาๆ ไม่ถูกเป็นการละเมิดมาตรานี้ตามข้อห้ามในมาตรา 7 ของพ.ร.บ. สิทธิเด็กของเนปาล


 


 แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะละเลยความสมบูรณ์ไปเพราะว่ามันไม่ยอมรับว่า การทำร้ายทางร่างกายและจิตใจว่าเป็นการลงโทษ ผลกระทบของการลงโทษทางด้านจิตใจนั้น เมื่อเทียบกันแล้วคงอยู่นานกว่าการลงโทษทางกายเสียอีก


-----------------------------------------------


ที่มา: http://www.gorkhapatra.org.np/pageloader.php?file=2005/08/20/nation/nation2


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net