Skip to main content
sharethis

ประชาไท - 23 ส.ค. 48 "สำหรับสถานการณ์การใช้พลังงานประเทศไทย ถ้าผมเป็นอาจารย์ และประเทศไทยเป็นนักศึกษา ผมจะให้เกรด D หมายถึงสอบตก เพราะทุกตัวเลข 1% ของจีดีพีที่เพิ่มขึ้น เราใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 1.4% ถ้าเราพัฒนาอย่างนี้อีกประมาณ 10 ปี เจ๊งแน่นอน" ผศ.ดร.จำนง สรพิพัฒน์ ประธานสายวิชาพลังงาน บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม หรือ JGSEE กล่าวระหว่างการเสวนา เรื่อง "งานวิจัยพลังงานทดแทน เส้นทางสู่การแก้ปัญหาวิกฤติพลังงาน" ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (สจพ.)วานนี้(23 ส.ค.)


 


ผศ.ดร.จำนง กล่าวต่อไปว่า การเพิ่มระหว่างตัวเลขจีดีพี กับการใช้พลังงานอย่างน้อยที่สุดต้องทำให้ได้ 1% ต่อ 1% และหากถ้าประเทศไทยยังไม่ปรับวิธีคิดในการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ เราก็คงไม่สามารถปรับตัวให้อยู่ในยุคโลกาภิวัตน์ได้แน่นอน


 


นอกจากนี้ ผศ.ดร.จำนง ยังให้ความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำมันว่า หากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีนยังโตไม่หยุด ภายใน 3 ปีนี้ราคาน้ำมันโลกน่าจะพุ่งสูงขึ้นอีก 30%  สำหรับประเทศไทยราคาจะอยู่ที่ประมาณ 30-35 บาท ต่อลิตร แต่มีแนวโน้มว่าหลังจาก 3 ปีแล้ว ราคาน้ำมันน่าจะถูกลง เนื่องจากนักธุรกิจน้ำมันจะเริ่มลงทุนขุดเจาะน้ำมันขึ้นมามากขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นเศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัว


 


ส่วนในเรื่องแนวโน้มการใช้พลังงานในอนาคตนั้น ผศ.ดร.กล่าวว่า หลังจากลักษณะการผลิตพลัง


งานเดิม ที่มักจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ เป็นโครงการแบบรวมศูนย์ จากแหล่งพลังงานขนาดยักษ์ เช่น เขื่อนสู่บ้านเรือน แต่ในอีก 30 ปีข้างหน้า แหล่งผลิตพลังงานก็จะมีลักษณะย่อยๆ ที่ใดใช้ก็จะผลิตเอง แหล่งพลังงานก็จะกระจายอยู่ทุกพื้นที่


 


ทั้งนี้ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม JGSEE เป็นการผนึกกำลังกันระหว่าง 5 สถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.), สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (สจพ.), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยสงขลา


นครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร  

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net