เรื่องที่ไม่เป็นข่าว 2004-2005 เรื่องที่ 3 : สหรัฐฯฉวยโอกาสเหตุการณ์สึนามินำกำลังทหารเข้าเอเชีย

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

ในขณะที่สหรัฐฯได้ออกมาให้ความช่วยเหลือกับประเทศที่ประสบภัยในเหตุการณ์สึนามิขึ้นในเอเชียนั้น   สหรัฐฯไม่ได้ทำหน้าที่บรรเทาทุกข์เพียงอย่างเดียว ทว่า กลับเตรียมการเพื่อฟื้นกำลังทางการทหารของสหรัฐฯขึ้นมาใหม่โดยการเข้ามาทำข้อตกลงเป็นพันธมิตรกับกองกำลังในภูมิภาคและได้ขยายการตั้งฐานทัพออกไปทั่วภูมิภาคในมหาสมุทรอินเดีย ด้วยเล็งเห็นว่าในระยะยาวแล้วกลุ่มประเทศเหล่านี้จะสร้างประโยชน์ให้กับสหรัฐฯ


 

ความปรารถนาสูงสุดของสหรัฐฯก็คือลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความแข็งแกร่งของกำลังทหารจีนที่สามารถควบคุมภูมิภาคนี้ได้ลง ทั้งนี้ หนึ่งเดือนหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ณ์สึนามิสหรัฐฯก็เข้ามารื้อฟื้นการใช้อู่ตะเภาของไทยที่เคยใช้เป็นฐานทัพสมัยสงครามเวียดนามมาแล้วอีกครั้งหนึ่ง กองกำลัง 536 จะย้ายเข้าไปที่นั่นเพื่อจะเป็นแนวหน้าให้กับกองทัพอากาศสหรัฐฯ

 

สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาจากการปฎิบัติการบรรเทาทุกข์ในเหตุการณ์สึนามิก็คือสหรัฐฯ ได้ทำให้กองกำลังของตัวเองได้กลับมามีบทบาทในภูมิภาคอีกครั้งหนึ่ง โดยได้ทำข้อตกลงความร่วมมือทางการทหารกับ ไทย และข้อตกลงร่วมรบกับฟิลิปปินส์ กองทัพเรือของสหรัฐฯได้เคลื่อนขบวนเรือเข้าไปในสิงคโปร์ โดยเป็นไปตามสนธิสัญญาที่มีมาก่อนหน้านี้ นอกจากนั้น กองเรือดำน้ำและกองทัพเรือสหรัฐฯก็เคลื่อนเข้าไปยังศรีลังกาเพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ทั้งๆที่ทางศรีลังกาเองนั้นก็ไม่สบายใจนักที่จะอนุญาตให้กองทัพเรือเข้าไป

 

กองทัพสหรัฐฯได้มาจอดอยู่ที่ช่องแคบมะละกาอย่างมองข้ามจีนซึ่งเรียกได้ว่าจีนเป็นผู้ที่คุมแถบนี้อยู่ และเป็นที่ซึ่งร้อยละ 90 ของสินค้าประเภทน้ำมันจากญี่ปุ่นผ่าน  

 

สหรัฐฯยังมีปัญหาในการสร้างอิทธิพลของกองทัพต่อภูมิภาคนี้อยู่เนื่องจากมีข้อสงสัยจากมาเลเซียและอินโดนีเซียว่า จะเป็นเป้าหมายแฝงของจักรวรรดินิยมภายใต้เป้าหมายของการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ทั้งสองประเทศนั้นต่อต้านแผนการเข้ามารักษาความมั่นคงในเส้นทางการขนส่งสินค้าที่ช่องแคบมะละกาซึ่งอาจจะมีการตั้งกองกำลังทหารของสหรัฐฯอยู่ในบริเวณใกล้ๆกันนั้น

 

คอลิน เพาเวลล์ รัฐมนตรีต่างประเทศขณะนั้นได้ประกาศว่าการบรรเทาทุกข์ของสหรัฐฯต่อประเทศภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิจะเป็นการช่วยในการทำสงครามต้านการก่อการร้ายด้วย และได้นำเสนอ "คุณค่าของอเมริกาต่อภูมิภาคนี้" นอกจากนี้รัฐบาลบุชยังหวังที่จะรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางทหารกับอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก ที่มีเรื่องคลางแคลงใจกับจีนอยู่ในเรื่องหมู่เกาะสแปรตลีย์ ซึ่งทำให้อินโดนีเซียจะสามารถเป็นหุ้นส่วนในอุดมคติสำหรับสหรัฐฯในการควบคุมจีน

 

มีรายงานว่ากระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้ตัดสินใจทำหลักสูตรการอบรมและการศึกษา (IMET) ของกองทัพอินโดนีเซียใน 1 เดือนต่อมาหลังจากที่ พอล วูฟโฟวิทซ์ รัฐมนตรีช่วยกลาโหมไปเยือนอินโดนีเซีย ( เมื่อเดือน มกราคม 2005) ทั้งๆที่มีประเด็นสิทธิมนุษยชนหลายๆประเด็นยังต้องพิจารณาอยู่

 

ราหุล เบดี ผู้สื่อข่าวของ ไอริช ไทมส์ เขียนว่าสหรัฐฯนั้นต้องการที่จะให้หน่วยนาวิกโยธินเข้าตั้งฐานอยู่ที่ตรินโคมาลี ทางภาคตะวันออกของศรีลังกามานาน หรืออย่างน้อยหากไม่ได้ที่นั่นก็ขอให้เป็นที่ กาลเล ทางภาคใต้ เพื่อจะร่นระยะทางการสนับสนุนฐานทัพในภูมิภาคที่ที่ตั้งอยู่ที่ดิเอโก การ์เซีย ซึ่งอยู่ในมหาสมุทรในเขตแดนของอังกฤษซึ่งอังกฤษได้ให้สหรัฐฯเช่าตั้งแต่ปี 1966 โดยมีระยะเวลาการเช่า 50 ปี การใช้ฐานทัพเหล่านี้ก็จะเป็นการโอบล้อมจีนซึ่งจะทำให้สหรัฐฯสามารถควบคุมกิจกรรมต่างๆของจีนได้เพิ่มขึ้นอีก

 

ด้วยทำเลที่เป็นภูมิยุทธศาสตร์ของ ดีเอโก การ์เซีย ในมหาสมุทรอินเดียและการที่มีกำลังทหารและหน่วยนาวิกโยธินเต็มอัตราประกอบกับความพร้อมในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกในการสื่อสารยิ่งทำให้ดีเอโก การ์เซียมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้หน่วยนาวิกโยธินของสหรัฐฯมุ่งหน้าเข้ามาปรากฏตัวอยู่ในภูมิภาคแถบทะเลอาหรับเหนือและมหาสมุทรอินเดีย  อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ฐานทัพนี้ค่อนข้างจะอยู่ห่างไกลและความจริงที่ว่าสัญญาเช่าจากอังกฤษจะหมดลงในปี 2016นี้ สหรัฐฯจึงจำเป็นต้องหาทำเลใหม่ในภูมิภาคนี้

 

เป็นเวลานานแล้วก่อนหน้าที่จะเกิดสึนามิ คือเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2003 โจซี โจเซฟ ได้เขียนบทความหนึ่งใน Rediff.com ว่ามีรายงาการจัดหมวดหมู่ภารกิจของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่ได้แสดงความปรารภถนาที่จะเข้าถึงฐานทัพอินเดียและโครงสร้างพื้นฐานของกองทัพ กองทัพอากาศสหรัฐฯเจาะจงที่จะตั้งฐานทัพในอินเดีย  มีการแจกจ่ายรายงานชื่อว่า " ความสัมพันธ์ทางการทหารอินเดีย-สหรัฐฯ : ความคาดหวังและแนวคิด" ให้กับกลุ่มทหารในยศสูงๆของสหรัฐฯ และสมาชิกระดับอาวุโสอีกกลุ่มใหญ่ของรัฐบาลอินเดีย   โดยในรายงานดังกล่าวนี่จะพูดถึงความตั้งใจของสหรัฐฯที่จะเข้ามาตั้งฐานทัพในอินเดีย

 

หลังจากเหตุการณ์สึนามิปฎิบัติการของสหรัฐฯในมหาสมุทรอินเดียก็ได้แสดงให้เห็นถึงภาพความตั้งใจที่จะก้าวไปข้างหน้าตามวาระที่วางเอาไว้อย่างแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท