Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

สมาพันธ์สื่อมวลชนนานาชาติ ( IFJ) แถลงว่า ปี 2004 เป็นปีที่มีผู้สื่อข่าวเสียชีวิตมากที่สุด นับตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา จากข้อมูลที่เก็บมาเป็นเวลากว่า 12 เดือน พบว่ามีคนทำงานสื่อถูกฆ่าไปถึง 129 คน และ 49 คนในจำนวนนั้นตายสงครามอิรัก


 


ดาห์ร จาเมล ผู้สื่อข่าวอิสระกล่าวว่า ได้มีการจับกุมคุมขังและข่มขู่ผู้สื่อข่าวเพิ่มขึ้นในสมัยรัฐบาลรักษาการอิรักที่ตั้งขึ้นโดยสหรัฐฯ  เมื่อที่ที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับผู้สื่อข่าวก็คือการฝังตัวอยู่กับกองทัพสหรัฐฯ ดังนั้นรายงานข่าวที่ออกมาจึงหมุนให้เห็นเฉพาะด้านบวก แต่ผู้ที่ไม่ได้ไปฝังตัวเองอยู่กับกองทัพสหรัฐฯนั้นจะต้องพบกับความเสี่ยงอย่างมากเนื่องจากอาจถูกจัดให้ให้เป็นฝ่ายศัตรูของกองทัพ


 


การโจมตีตรงไปยังผู้สื่อข่าวอย่างโจ่งแจ้งเกิดขึ้นในเช้าวันที่ 8 เมษายน 2004 เมื่อกองกำลังทหารราบที่ 3 ระดมยิงไปยังโรงแรมปาเลสไตน์ในกรุงแบกแดด ทำให้ โฮเจ คูโซ และ ทาราส โปรสยุคเสียชีวิตและผู้สื่อข่าวคนอื่นๆอีก 3 คนได้รับบาดเจ็บ โรงแรมดังกล่าวนี้ถูกใช้เป็นเหมือนกับสำนักงานใหญ่ของผู้สื่อข่าวที่มีนักข่าวและคนทำงานสื่ออื่นๆประจำอยู่ประมาณ 100 คน ทางเจ้าหน้าที่ของเพนตากอนเองก็รู้ดีว่าที่โรงแรมปาเลสไตน์นั้นมีนักข่าวอยู่เต็มไปหมดและได้ให้ความเชื่อมั่นกับทางสำนักข่าวเอพีว่าจะไม่โจมตีอาคารดังกล่าว


 


เว็บไซด์ Truthout รายงานว่า ทางกองทัพปฎิเสธที่จะเปิดเผยบันทึกผลการสืบสวน  ดังนั้นทางคณะกรรมการเพื่อพิทักษ์สื่อมวลชน (the Committee to Projectect Journalist) จึงได้ฟ้องร้องภายใต้กฎหมายเสรีภาพของข่าวสารข้อมูล เพื่อบังคับให้ทางทหารเผยผลการสืบสวนออกมา  แต่สิ่งที่ปรากฏออกมาในสำเนาผลการสืบสวนนั้นไม่ได้บอกอะไรมากไปกว่า การไต่สวนของผู้บัญชาการกองทัพ อย่างหนึ่งเท่านั้น


 


เมื่อผลการสืบสวนของของทัพสหรัฐฯไม่เป็นที่น่าพอใจนัก องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ( Reporters Without Borders) ก็เลยได้ทำการสืบสวนด้วยตนเองอีกครั้งหนึ่ง โดยได้รวบรวมหลักฐานจากผู้สื่อข่าวที่พักอยู่ที่โรงแรมปาเลสไตน์ในระหว่างที่ถูกโจมตี ซึ่งกลุ่มนี้ล้วนเป็นพยานบุคคลที่เห็นเหตุการณ์ที่กองทัพสหรัฐฯละเลยที่จะนำไปรวมไว้ในรายงาน รายงานขององค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนได้ให้ข้อมูลที่เปิดเผยโดยผู้สื่อข่าวที่ฝังตัวอยู่กับกองทัพสหรัฐฯ รวมทั้งบรรดาทหารและเจ้าหน้าที่ของกองทัพสหรัฐฯที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการโจมตีด้วย  ในรายงานบอกว่า ตอนแรกนั้นเจ้าหน้าที่ของทางสหรัฐฯได้พูดโกหกถึงเรื่องว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในโรงแรมปาเลสไตน์ และในแถลงการณ์อย่างเป็นทางการในอีก 4 เดือนต่อมาได้ประกาศให้ทหารในกองทัพสหรัฐฯพ้นข้อกล่าวหาและความผิดตามในชั้นตัดสิต การสืบสวนพบว่า ทหารในพื้นที่ไม่รู้ว่าโรงแรมดังกล่าวเป็นโรงแรมที่มีผู้สื่อข่าวจำนวนมากอาศัยอยู่  แต่ โอลกา โรดริเกซ์ ผู้สื่อข่าวที่อยู่ในเหตุการณ์ที่โรงแรมปาเลสไตน์  บอกว่า ทหารพร้อมด้วยรถถังเข้าไปอยู่บริเวณนั้น 36 ชั่วโมงก่อนที่ระยิงถล่มและพวกเขาก็ได้มีการสื่อสารกับทางทหารแล้ว


 


นอกจากนั้นก็ยังมีการโจมตีผู้สื่อข่าวแบบผิดปกติอีกหลายครั้ง ได้แก่


เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2003 เทียรี ลอยด์ ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ ITN ของอังกฤษถูกฆ่าตายในขณะที่รถที่มีชุดคุ้มกันของเขาข้ามมาจากคูเวตเข้ามาสู่เขตอิรัก  ช่างภาพชาวฝรั่เศส เฟดเดอรติค เนรัค และ ฮุสเซน ออสมานล่ามชาวเลบานอน ซึ่งอยู่ในรถนี้ด้วยได้หายตัวไปในเวลาเดียวกัน


 


เดือนมิถุนายน 2003 ดาห์ร จามิล รายงานว่า ในช่วงเวลาการถ่ายโอนอำนาจไปให้รัฐบาลชั่วคราวอิรักในปี 2003 นั้น อัล-จาซีรา ถูกกล่าวหาว่ารายงานข่าวบิดเบือนไม่เป็นตรงจริง และถูกห้ามทำข่าวในอิรักเป็นเวลา 1 เดือน ต่อมาการห้ามนี้ถูกเปลี่ยนไปเป็นอย่างไม่มีกำหนด และรัฐบาลชั่วคราวก็ประกาศว่าหากพบว่านักข่าวอัล-จาซีราคนใดทำข่าวอยู่ในอิรักจะควบคุมตัวไว้  โครองติน เฟลอรี ช่างภาพอิสระชาวฝรั่งเศส และล่ามของของเขา ภาติยะ อับดุลลา ฮาดัด ถูกคุมตัวโดยทหารสหรัฐฯในขณะที่เดินทางออกจากฟัลลูจาห์ก่อนที่จะมีการเข้าไปปิดล้อมเมือง ทั้งคู่ถูกกักตัวไว้ที่หน่วยทหารนอกเมืองและถูกตั้งคำถามเรื่องภาพการระเบิดในฟัลลูจาห์ที่ถ่ายมา เฟลอรีถูกปล่อยตัวออกมาในอีก 5 วันต่อมาแต่ล่ามของเขายังคงถูกกักตัวต่อไป


 


8 เมษายน 2004 วันเดียวกับที่ถล่มโรงแรมปาเลสไตน์ เว็บไซด์ Truthout รายงานว่า สหรัฐฯได้ถล่มสำนักงานของโทรทัศน์ อาบูดาบี และ อัล-จาซีรา ในกรุงแบกแดด ในขณะที่พวกเขากำลังเตรียมที่จะออกอากาศทำให้ทาริก อียุป นักข่าวของอัล-จาซีราถึงแก่ชีวิต


 


วันที่ 17 สิงหาคม 2004 มาเซ็น ดานา ถูกฆ่าในขณะที่กำลังถ่ายคุกแห่งหนึ่งโดยได้รับอนุญาต ภายใต้การรักษาความปลอดภัยของทหารสหรัฐฯชานเมืองแบกแดด


 


วันที่ 4 มีนาคม 2005 นิโคลา คาลิปารี หนึ่งในเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยข่าวกรองอิตาลี ถูกยิงตามโดยกองกำลังของสหรัฐฯ เขากำลังขับรถไปกับนักข่าวชาวอิตาเลีย จูเลียา สเกรนา ซึ่งเพิ่งจะถูกปล่อยตัวจากการถูกจับเป็นตัวประกันและกำลังเดินทางไปยังสนามบินแบกแดด สเกรนารอดชีวิตจากการการโจมตี  เธอย้ำในการการให้สัมภาษณ์กับ KPFA" Democracy Now ว่า "ยิงเราโดยไม่มีการประกาศเตือนใดๆ ไม่มีการพยายามที่จะหยุดเราเลย"  และปรากฏออกมาว่าเป็นการยิงมาทางด้านหลังของรถด้วย


 


ในแต่ละคดีที่กล่าวถึงนี้มีการสืบสวนน้อยมาก ไม่การค้นพบข้อมูลใดๆออกมาแสดงให้เห็น และทหารทั้งหมดที่มีส่วนร่วมต่างพ้นผิด


-----------------------------------------------------

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net