Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

น่าเสียดายที่การคำนึงถึงราก และจุดขายของเชียงใหม่ไม่มีใครสนใจในแก่นแกนของคำว่า "วัฒนธรรม
และประวัติศาสตร์" ซึ่งมีค วามอุดมสมบูรณ์ด้วยวัตถุดิบที่หลากหลายทั้งที่เป็นกายภาพ - และเรื่องราว
(
Story) ที่จะสามารถเล่าขานได้ไม่รู้จบ หรือจุดอ่อนด้อยของเราคือการเป็นนักเล่าประวัติศาสตร์ที่ไม่เก่ง
แต่กลับเก่งในเรื่องการทำลายทรัพย์สินที่มีค่าของตนเองลงไปทุกวัน

 "เวียงเจ็ดลิน" คือกรณีศึกษาของการลดคุณค่าของเชียงใหม่ (De-Value Creation) อีกกรณีหนึ่ง 
เพราะสภาพปัจจุบันไม่ได้กำหนดเป็นเขตอนุรักษ์ กลับมีภาพของคอนกรีตปูทับ และมีแนวคิดสร้างเมกกะ
โปรเจ็กต์ "เชียงใหม่เวิลด์" คล่อมเวียงแห่งนี้ไปอีก
ความมหัศจรรย์ของเวียงเจ็ดลินมิใช่เพียงความเก่าแก่ที่มีมากถึง 1,000 ปี ก่อนเมืองเชียงใหม่จะเกิดขึ้น
แต่ยังมีมิติของภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ที่ได้คิดถึงเรื่องภูมิรัฐศาสตร์มาก่อน การวางผังเมืองที่ล้ำยุกต์

ที่มีลักษณะวงกลม เพื่อป้องกันน้ำหลากในฤดูฝน ที่อาจสร้างความเสียหายต่อพืชผลการเกษตร บ้านเรือน
รวมทั้งเพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง
     
นอกจากนั้นยังมีทั้งเรื่องราวที่สามารถให้ผู้รับรู้ได้สัมผัสถึงความงดงามของสถานที่แห่งนี้ ทั้งความเป็น
อยู่ของชนเผ่าพื้นเมืองที่อยู่มาก่อนสร้างเวียงเชียงใหม่ มีเรื่องราวของขุนวิลังคะ ผู้พยายามพุ่งหอก
ไปตกที่หริภุญไชย ฯลฯ

มิติทางประวัติศาสตร์ - โบราณสถานเหล่านี้ถูกฝังลืมไปในอดีตของคนเชียงใหม่ และไม่มีใครเห็น
ความสำคัญที่จะหยิบยกเอามาเป็นความสำคัญของเมือง กลับถูกมองข้ามแบบฉาบฉวยไม่มีแม้แต่
สายตาที่เหลือบแล
  แล้วอนาคตเชียงใหม่จะมีอะไรเหลือไว้เล่าให้ลูกหลานฟังอีก
 
เวียงเจ็ดลิน : รากประวัติศาสตร์เชียงใหม่
งบประมาณร่วม 1 หมื่นล้านบาท กำลังถูกเทลงมาโถมทับเมืองเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่อง
เที่ยวแนวใหม่ในระยะไม่กี่ปีนับจากนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่าเชียงใหม่ไม่มีจุดขายทางการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ๆ
แหล่งท่องเที่ยวซ้ำเดิม ใครมาเที่ยวครั้งเดียวก็ไม่อยากกลับมาซ้ำอีก นี่อาจเป็นเหตุผลที่คิดกันง่าย ๆ
มองกันง่าย ๆ โดยหลงลืมไปว่าบ้านนี้เมืองนี้มีของดีมากมาย เป็นสมบัติอันล้ำค่า เป็นสินค้าการท่องเที่ยว
ที่ปราศจากการปรุงแต่ง หลงลืมไปว่าแผ่นดินนี้มีรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม โบราณสถาน
โบราณวัตถุ ที่บ้านเมืองอื่นทั่วโลกไม่มี แต่น่าเสียดายยิ่งที่สิ่งเหล่านี้กำลังถูกลืมไปตามกาลเวลา
ทั้งยังมีบางสิ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่ มีเรื่องราว (Story) 
ที่ร้อยเรียงไว้นานนับพันปี แต่กลับไม่มีใครที่คิดจะหยิบขึ้นมาเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยว ทั้ง ๆ
ที่สิ่งนี้เป็นรากเหง้าแห่งประวัติศาสตร์ล้านนาอย่างแท้จริง
"เวียงเจ็ดลิน" อาณาบริเวณพื้นที่เชิงดอยสุเทพ ที่มีลักษณะเป็นเขตคันดินและคูน้ำก่อขึ้นเป็นวงกลม 
มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
900 เมตร คือสิ่งมหัศจรรย์ที่ว่านั้น จากหลักฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์
เกี่ยวกับเวียงเจ็ดลิน ที่รวบรวมโดยไกรสิน อุ่นใจจินต์ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่ง
ชาติที่
6 เชียงใหม่ กรมศิลปากร ระบุว่า เวียงเจ็ดลิน ที่ปรากฏหลักฐานขอบเขตคันดินรูปกลม 2 ชั้น
ระหว่างคูน้ำบริเวณเชิงดอยสุเทพ (ด้านทิศตะวันออก) นั้น แม้ในระยะประวัติศาสตร์ล้านนา
หลักฐานด้านเอกสารได้กล่าวถึงชื่อเวียงเจ็ดลิน ในรัชกาลพญาสามฝั่งแกน (พ.ศ.
1945 - 1985)
คราวศึกจากเมืองสุโขทัย (พระเจ้าไสลือไท) ยกทัพมาประชิดเมืองเชียงใหม่ จากการที่เจ้ายี่กุมกาม
ผู้เป็นพี่พญาสามฝั่งแกน ได้ขอกำลังพลมาช่วยตีเมืองเชียงใหม่หวังได้ขึ้นครองราชย์ ที่ต่อมาเกิดการ
ประลองฝีมือทหารแทนการต่อสู้ทำสงครามกัน ปรากฏฝ่ายเชียงใหม่สามารถประลองได้รับชัยชนะ
 
ทำให้ฝ่ายสุโขทัยถอยกำลังออกไปตั้งค่ายพักกำลังพลอยู่ที่ดอยเจ็ดลิน พร้อมได้ขึ้นสรงดำเศียร 
(อาบน้ำ-สระผม) ที่ดอยผาลาดก่อนการยกทัพกลับสุโขทัย
เมื่อสุโขทัยยกกำลังพลกลับไปแล้ว
พญาสามฝั่งแกนได้ถือเอานิมิตที่พระเจ้าไสลือไทขึ้นไปสรงน้ำ ณ ดอยผาลาดแล้วเกิดมีใจครั่นคร้าม
จนเลิกทัพกลับไปนั้น เป็นสาเหตุทำให้สถาปนาเวียงเจ็ดลินขึ้นที่บริเวณดอยเจ็ดลิน
ฅซึ่งจากเรื่องราวและเหตุการณ์ดังกล่าว พิจารณาว่าคือตำแหน่งที่ตั้งเวียงเจ็ดลินในปัจจุบัน

ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกระยะทางเฉลี่ย 5 กิโลเมตร
 
ดังนั้น ความเป็นเวียงหรือชุมชนที่มีความเจริญในสมัยประวัติศาสตร์ของล้านนา ก็ได้เริ่มต้นขึ้นที่เวียงเจ็ด
ลินอีกครั้งตั้งแต่รัชกาลพญาสามฝั่งแกน หรือราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา หากพิจารณา
เพิ่มเติมในระยะเวลาย้อนก่อนหน้าขึ้นไปอีก ก็พบหลักฐานด้านเอกสารอีกกลุ่มหนึ่ง
ที่เป็นตำนาน/พงศาวดาร เล่าถึงชุมชนบ้านเมืองในเขตดอยสุเทพ-ดอยคำ และเขตพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง
คือเรื่องราวเหตุการณ์ของแคว้นหริภุญไชยและสภาพชุมชนสมัยก่อนวัฒนธรรมหริภุญไชย
ในระยะก่อนพุทธศตวรรษที่
13 ขึ้นไป จากเรื่อง ฤาษี ผู้นำชุมชนเขตนี้ได้สร้างเมืองให้กลุ่มคนพื้นเมือง
ในเขตนี้ปกครองกันเอง และมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมหริภุญไชยในระยะหลังมา
 
กรณีที่พบหลักฐานด้านโบราณวัตถุสถานที่มีรูปแบบอิทธิพลหริภุญไชยจากการขุดแต่งโบราณสถาน 
- วัดสันกู่ บนดอยสุเทพ และเขตวัดต่าง ๆ ของเวียงกุมกามความน่าสนใจและเด่นชัดของเวียงเจ็ดลินคือ
การสร้างขอบเขตคู-คันดินที่มีลักษณะกลมนั้น จัดเป็นรูปแบบผังเมืองที่แปลกหรือพิเศษกว่าชุมชนโบราณ
แห่งอื่น ๆ ที่สามารถพิจารณากำหนดอายุสมัยได้ทั้งในรุ่นเก่าก่อนพุทธศตวรรษที่
19 หรือรุ่นพุทธศตวรรษ
ที่
19 เป็นต้นมา หรืออาจเป็นรูปแบบที่ทำสืบเนื่องกันมา การสร้างขอบเขตคู - คันดินในระยะแรก ๆ นั้น
เป็นไปได้ว่าเป็นการสร้างแนวป้องกันน้ำจากกรณีน้ำหลากท่วมขังในฤดูฝน อันจะเป็นอันตรายหรือก่อเกิด
ความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรและบ้านเรือนอยู่อาศัย รวมถึงการได้ใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำเพื่อ
การอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง ที่โดยมากลักษณะเขตคันดินจะวางตามแนวภูมิประเทศ เช่นยาวขนานไป
ตามลำแม่น้ำ หรือเป็นรูปวงรีตามขอบชายเนิน หรือรูปแบบคดโค้งตามลักษณะภูมิประเทศแบบอื่น ๆ
 
โดยไม่จัดอยู่ในแบบรูปทรงเราขาคณิตใด ๆ อันเป็นรูปแบบคู-คันดินชุมชนโบราณในเขตล้านนาโดยทั่วไป 
ที่พิจารณาว่าได้มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยก่อนล้านนา ซึ่งแตกต่างกับรูปแบบเวียงพระธาตุ
ในระยะที่ล้านนารับเอาอิทธิพลพุทธศาสนาแล้ว ที่มีผังการก่อสร้างตามคติจักรวา (Cosmology)
หรือมณฑล (Mandala) ที่สร้างสิ่งก่อสร้างสำคัญไว้ตรงจุดศูนย์กลางเวียงเจ็ดลิน  แม้จะมีขอบเขตคู-
คันดินรูปวงกลม แต่กลับไม่พบศาสนสถานหรือร่องรอยสิ่งก่อสร้าง
   อื่น ๆ ของวัดที่ศูนย์กลางเมือง
แต่มีวัดอย่างน้อย
2 วัดในเขตสถานีโคนมเชียงใหม่เดิม
 หรือศูนย์ราชการสำนักงานปศุสัตว์เชียงใหม่ในปัจจุบัน และจากการขุดค้นในพื้นที่สวนรุกขชาติห้วยแก้ว
บริเวณใกล้กำแพงเมืองภายในด้านทิศใต้ พบหลักฐานการกระจายของอิฐก้อนขนาดใหญ่
(
25 x 55 x 15 ซม.) อันเป็นวัสดุก่อสร้างอาคารศาสนสถานหรือวัด เช่นเดียวกับอิฐของวัดล้าง
ในเขตสวนสัตว์เชียงใหม่ ที่ตั้งอยู่ภายนอกติดกับกำแพงเวียงเจ็ดลินด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้
ก็ได้พบหลักฐานวัดร้างที่สำรวจพบแล้วจำนวน
6 แห่ง
 
อันเป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกเขตกำแพงเมืองด้านนี้ ดังนั้น จึงพิจารณาว่าไม่น่าเกี่ยวข้องกับคติจักรวาล 
แต่น่าจะเป็นรูปแบบการก่อสร้างที่มาจากพื้นฐานภูมิปัญญาของคนพื้นเมืองในท้องถิ่นเอง
ซึ่งมีพัฒนาการก่อสร้างมาตั้งแต่รุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่
19 ตามหลักฐานตำนาน-พงศาวดาร
ได้กล่าวพาดพิงถึงกรณีเวียงมิคสังคร
 
การสถาปนาเขตชุมชนแห่งนี้ขึ้นเป็นเวียงในรัชกาลพญาสามฝั่งแกนของล้านนา จึงหมายความถึงการ
กระจายความเจริญเข้ามาสู่เขตพื้นที่เชิงดอยสุเทพ โดยการให้ขุนนางหรือบุคคลในราชวงศ์มาปกครอง
ดูแลขึ้นตรงต่อเมืองเชียงใหม่ ภายหลังจากที่เป็นเขตชุมชนที่อาศัยของกลุ่มคนพื้นเมืองตั้งแต่ระยะ
ก่อนสมัยล้านนา ที่น่าจะมีขอบเขตคู - คันดินขึ้นก่อนแล้วในฐานะที่เป็นเมืองชุมชนที่ตั้งยู่ชายขอบ
(
Peripheral) ของแคว้นหริภุญไชย หรือในระยะก่อนหน้าขึ้นไปในสมัยฤาษีวาสุเทพ
 
ล้อมกรอบ
ไขปริศนาวงกลมพันปีนายไกรสิน อุ่นใจจินต์ นักโบราณคดี 7 ว. สำนักงานศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่
เปิดเผย "พลเมืองเหนือ" ว่า
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏชี้ให้เห็นว่า เวียงเจ็ดลิน
น่าจะมีอายุมากกว่า 1,000 ปี ซึ่งหมายความว่าเกิดขึ้นบนแผ่นดินนี้ก่อนที่จะมีเชียงใหม่
จุดเด่นของเวียงเจ็ดลินอยู่ที่การมีภูมิรัฐศาสตร์ที่ดี เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของคนพื้นเมืองดั้งเดิมของ
เชียงใหม่คือ ชนเผ่าลั๊วะ ที่มีพัฒนาการทางด้านอาชีพการเกษตรในที่ราบ เก็บของป่า ทำข้าวไร่
และจากหลักฐานที่พบในสมัยนั้นยังไม่รู้จักการทำเหมืองฝาย จะเห็นว่าการวางผังเมืองของเวียงเจ็ดลิน
ที่มีลักษณะวงกลม หลักฐานทางประวัติศาสตร์อ้างอิงว่าเพื่อป้องกันน้ำหลากในฤดูฝน ที่อาจสร้างความ
เสียหายต่อพืชผลการเกษตร บ้านเรือน รวมทั้งเพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง
 
และต้องยอมรับว่าแนวคิดการออกแบบนั้นค่อนข้างแตกต่างและพิเศษกว่าชุมชนโบราณทั่ว ๆ ไป 
การสร้างขอบเขตคูและแนวคันดินที่เป็นวงกลม อาจกล่าวได้ว่าเป็นความเจริญด้าน
Primitive
Technology
ซึ่งตามตำนานที่บันทึกไว้การออกแบบก่อสร้างเวียงในลักษณะวงกลม อาจไม่ใช่ฝีมือของ
คนพื้นเมืองในสมัยนั้น ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าฤาษีอาจติดต่อช่างออกแบบก่อสร้างมาจากลังกาหรืออินเดีย
เพื่อการนี้โดยเฉพาะ
 "ตอนนี้ทางกรมศิลป์ฯ ได้เข้าไปปักหมุดคอนกรีตไว้แล้ว เป็นหลักหมุดขนาก 20 x 20 เมตร 
เพราะถือเป็นโบราณสถานชิ้นสำคัญของเชียงใหม่ซึ่งอนาคตถ้ามีงบประมาณมากเพียงพอก็สามารถ
ดำเนินงานสำรวจ
ขุดค้นหาแหล่งอาศัยจากชั้นดินทางโบราณคดี หรืออาจขุดแต่งบูรณะโบราณสถานใน
เขตเมืองโบราณเวียงเจ็ดลินได้ครอบคลุมกว้างขึ้น แต่ที่เราขุดค้นไปแล้วภายในสวนสัตว์เชียงใหม่
เราพบวัดกู่ดินขาวเป็นวัดร้างที่อยู่ใกล้เวียงเจ็ดลิน หรืออย่างการขุดบริเวณสวนรุกขชาติที่อยู่ในแนว
เขตเวียงเจ็ดลินในอดีต ขุดเจอหลักฐานของลำพูนจำนวนมาก" นายไกรสิน กล่าวและว่า ควรอย่างยิ่ง
ที่ดินแดนบริเวณเวียงเจ็ดลินต้องอนุรักษ์ไว้ทั้งหมด ต้องสงวนไว้เป็นเมืองโบราณ แม้ปัจจุบันจะถูกรุก
เข้ามาตามการเจริญเติบโตของเมือง
ปัจจุบันพบว่ากรมปศุสัตว์ได้ครอบครองพื้นที่บริเวณเวียงเจ็ดลินประมาณ 80 % ซึ่งสภาพพื้นที่และการ
ใช้ที่ดินกำแพงและคูน้ำเวียงเจ็ดลิน มีหน่วยราชการตั้งอยู่ อาทิ สวนรุกขชาติเชียงใหม่ กรมป่าไม้
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ สำนักงานปศุสัตว์เชียงใหม่
 
*************
 
เมกะโปรเจ็กต์ทะลักในระยะที่ผ่านมาพบว่ามีปัญหาที่เกิดขึ้น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ 1.สภาพพื้นที่และ
การใช้ที่ดิน
2.สภาพการสัญจร 3.ทัศนียภาพ ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันพื้นที่เวียงเจ็ดลินจะเป็นสถานที่ตั้ง
ของหน่วยงานราชการหลายแห่งและมีถนนห้วยแก้วตัดผ่าน แต่ก็ยังมีแนวเขตคันดินเห็นชัดใน
หลายจุดและบางจุดก็ยังคงมีสภาพคูน้ำที่สมบูรณ์ แต่อนาคตอันใกล้กำลังจะมีเมกะโปรเจ็กต์เกิด
ขึ้นในพื้นที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ นั่นหมายถึงการขยายพื้นที่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเข้ามาใน
แถบเวียงเจ็ดลิน
 
โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณลานครูบาศรีวิชัย ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับเวียงเจ็ดลินกำลังจะถูกปรับสภาพให้
เป็นคอมเพล็กซ์และมีสถานีกระเช้าลอยฟ้าหรือเคเบิลคาร์
 
ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ตามโครงการ
อาจมีการตัดถนนเส้นใหม่ตัดขึ้นดอยสุเทพ ซึ่งยังไม่ที่แน่ชัดว่าจะเป็นจุดใด จะตัดผ่านบริเวณส่วน
ใดส่วนหนึ่งของเวียงเจ็ดลินหรือไม่
 
ขณะเดียวกัน ในพื้นที่บริเวณเวียงเจ็ดลินดังกล่าว กรมธนารักษ์เคยมีแผนดำเนินโครงการบ้าน
จัดสรรชื่อโครงการ "บ้านธนารักษ์" เพื่อข้าราชการและลูกจ้างประจำ โดยนำที่ราชพัสดุมาสร้าง
บ้านพักอาศัยสำหรับข้าราชการและลูกจ้างประจำ อาจเป็นลักษณะบ้านเดี่ยวชั้นเดียวและบ้านเดี่ยวสองชั้น
หรืออาคารชุดคอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์ ซึ่งตามโครงการระบุว่าจะใช้ที่ดินราชพัสดุ
แปลงหมายเลขทะเบียนที่ ชม
41 ตั้งยู่ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ในบริเวณที่ว่าง เนื้อที่ประมาณ
50 ไร่
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณเวียงเจ็ดลิน
 
นางศิริพร บุญสุวรรณ ฝ่ายจัดประโยชน์สำนักงานธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ กล่าวกับ "พลเมืองเหนือ" ว่า 
ตามแผนงานเดิมที่กรมธนารักษ์จะใช้พื้นที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ บนถนนห้วยแก้ว เนื้อที่ประมาณ 50 ไร่
เพื่อดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ เพื่อข้าราชการและลูกจ้างประจำในสังกัดสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียง
ใหม่ ปศุสัตว์เขต หรือกรมปศุสัตว์ ซึ่งทางกรมธนารักษ์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าว
เป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์เวียงเจ็ดลิน ซึ่งควรได้รับการอนุรักษ์ไว้ จึงยกเลิกการใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าว
โดยเตรียมพื้นที่ใหม่ที่จะทำโครงการบ้านธนารักษ์ต่อไป
 
ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาพื้นที่แปลงใหม่บริเวณห้วยตึงเฒ่า เนื้อที่ประมาณ 400 - 500 ไร่
ขณะนี้อยู่ระหว่างการวางผังรายละเอียดทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันพื้นที่แปลงนี้อยู่ในความดูแลของ
มณฑลทหารบกที่
33
ขณะนี้ทางกรมธนารักษ์และกองทัพบกอยู่ระหว่างการเจรจาในรายละเอียดว่าที่ดินแปลงดัง
กล่าวทางกองทัพบกจะคืนให้กับกรมธนารักษ์ได้หรือไม่ ในขณะนี้จึงยังไม่มีความชัดเจนว่า
โครงการบ้านธนารักษ์จะดำเนินการได้เมื่อไร
 
เชียงใหม่หลงทาง
มีของดีแต่ไม่หยิบมาขาย
 
แหล่งข่าวซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ในจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวกับ "พลเมืองเหนือ" ว่า 
คงไม่ถูกนักที่ใครหลายคนบอกว่าเชียงใหม่ไม่มีจุดขายทางการท่องเที่ยวแล้ว จริง ๆ
แล้วคือไม่รู้ว่าเชียงใหม่จะขายอะไร
เพราะไม่ยอมมองดูในสิ่งที่มีอยู่ แต่กลับไปค้นหาสิ่งใหม่ ๆ
ที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง
จุดขายของเชียงใหม่คือวัด โบราณสถาน วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
แต่สิ่งที่มีอยู่ถูกมองว่าขายไม่ได้ ก็เพราะไม่เคยมีการพัฒนาอย่างจริงจัง วัดร้างมีมากมายมีเรื่อง
ราวประวัติศาสตร์ที่จารึกไว้ ก็ยังไม่ได้รับการพัฒนามากนัก เช่นเดียวกับคลองแม่ข่า ลำคูไหว
และกำแพงดิน ก็ถูกบุกรุกจนไม่สามารถพัฒนาได้เต็มที่
 
กรณีของเวียงเจ็ดลิน ถือเป็นพื้นที่โบราณสถานทางประวัติศาสตร์ ควรสงวนไว้ให้เป็นเมืองโบราณ 
สามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และสามารถผูกเรื่องราวได้อย่างชัดเจน
เพียงแค่คันดินกลม ๆ ก็ทำให้การท่องเที่ยวมีเสน่ห์ได้ สามารถพัฒนาให้เป็นการท่องเที่ยวแบบ
Open Museum ได้ ทั้งยังเชื่อมโยงกับดอยสุเทพ ครูบาศรีวิชัย สวนรุกขชาติ สวนสัตว์
ซึ่งต่างก็มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และเรื่องราวที่ร้อยโยงกันได้ เวียงเจ็ดลิน ณ 
 
วันนี้ไม่มีฐานการเมืองมาหนุนให้ปลุกเป็นแหล่งท่องเที่ยวเหมือนเวียงกุมกาม 
กลับกลายเป็นเวียงที่ตายไปพร้อมกับประวัติศาสตร์
1,000 ปี พร้อม ๆ กันนั้นภาครัฐ
และเอกชนก็พยายามค้นหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่จะสร้างจุดขายให้กับเชียงใหม่
เนื่องจากกำลังเดินไปสู่ทางตัน แต่กาลกลับไปมุ่งสู่การสร้างแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
ที่กลับกลายเป็นการลดมูลค่าตัวเองไปทีละเล็กละน้อย
  พร้อมกับไปค้นหาสิ่งใหม่ ๆ
ที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง โบราณสถานที่มีเรื่องราวที่งดงามหลายแห่งถูกละลืม ละเลย
ที่จะบอกเล่าให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกได้รับทราบและเก็บไว้ในความทรงจำแห่งหนึ่ง
 
พร้อมกับจะมีเรื่องราวเล่าขานให้พลเมืองของเมืองเชียงใหม่แห่งนี้อย่างไม่รู้จบต่อทอดไปอีกหลายรุ่นคน  
การก้าวไปข้างหน้าโดยกัดกร่อนฐานรากของตัวเองทุกวัน จึงสามารถทำให้อนาคตอาจล่มสลายท่ามกลาง
กระแสทุน - วัตถุนิยมได้อย่างแน่นอน ทุกฝ่ายจึงหวังว่า
"วียงเจ็ดลิน" จะฟื้นกลับมาให้คุณประโยชน์
ในเชิงภูมิปัญญา - เป็นแหล่งให้ความรู้ และเป็นมรดกที่สำคัญของเชียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง
 
****************

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net