"มาตรการเด็ดขาด" ภาวะอันตราย หลังวิกฤต "ตันหยงลิมอ"


"วิกฤติตันหยงลิมอ" กลายเป็นกรณีศึกษาที่ทำให้ต้องกลับมาทบทวน แนวทางการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่แม้ฝ่ายรัฐจะยึดแนวทางสันติวิธี แต่ก็ไม่อาจสกัดความสูญเสียได้

การเสียชีวิตของ 2 ทหารนาวิกโยธิน ซึ่งถูกบุคคลไม่ทราบฝ่ายรุมทำร้าย หลังถูกชาวบ้านกักตัวเอาไว้ ทำให้อารมณ์ความรู้สึกของคนไม่น้อยเห็นว่า นี่คือการใช้กฎหมู่เหนือกฎหมาย แนวโน้มผู้ที่เห็นด้วยกับการใช้ "มาตรการเด็ดขาด" มีมากขึ้น ซึ่งสอดรับกับท่าทีของผู้นำรัฐบาล

หากทางเลือกระหว่าง สันติวิธีและมาตรการเด็ดขาด มิอาจสกัดมิให้เกิดความสูญเสียได้ สังคมไทยจะมีทางเลือกใดอีกบ้าง ?!


ผศ

.วรวิทย์ บารู
รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี) กรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)

"
ท่าทีแข็งกร้าวของนายกฯ อาจทำให้ดูเหมือนเปิดไฟเขียว"

:

ถึงขั้นนี้ต้องมีการใช้ความรุนแรงสร้างความสับสนขึ้นไปอีก ต้นเหตุของเรื่องที่มีการยิงถล่มร้านน้ำชาประชาชนเข้าใจว่าเป็นฝีมือเจ้าหน้าที่ทำ ดังนั้นสิ่งแรกที่ควรทำคือสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านในเรื่องนี้ก่อน

การที่นายกรัฐมนตรีออกมาพูดด้วยท่าทีแข็งกร้าว

อาจจะทำให้ดูเหมือนการเปิดไฟเขียว ซึ่งต้องระวังว่าอย่าให้เกิดแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรง เพราะในขณะนี้สังคมกำลังเอนเอียงไปในทางที่จะให้ใช้ความรุนแรง ต้องระมัดระวังเรื่องนี้ให้มาก ปล่อยไว้ไม่ดี ต่อไปนี้หากมีการยิงโต๊ะอิหม่าม อุชตาซ น่ากลัวอย่างยิ่งว่าจะมีการปล่อยข่าวออกไปว่าเป็นฝีมือของฝ่ายเจ้าหน้าที่

เหตุการณ์ที่ตันหยงลิมอ

น่าจะทำให้ตระหนักถึงการตั้งคณะกรรมการยุติธรรมชุมชน ให้ปรากฏเป็นจริง การแก้ไขวิกฤต หรือปัญหาต่างๆ จำเป็นต้องดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม สิ่งที่เกิดขึ้นที่ตันหยงลิมอ คือโต๊ะอิหม่ามไม่สบาย ไม่มีตัวกลางที่จะเป็นผู้นำ หรือผู้แทนในการเจรจากับชาวบ้านทั้งหมด
ขณะนี้บรรดาผู้นำซึ่งชาวบ้านเชื่อถือ ไม่มีบทบาท ไม่กล้าพูด เพราะความกลัว กลัวทั้งรัฐ และกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ผู้นำศาสนาต้องออกมาพูดว่าอะไร สิ่งใดผิด แต่พูดไม่ได้เพราะความไม่เป็นธรรมนั้นมีอยู่


 


ผศ

.ดร.วัฒนา สุกัณศีล
อาจารย์ แผนกวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ.ปัตตานี

"

อย่าตกหลุมพรางความรุนแรง"

:

รัฐกำลังมีความชอบธรรมอย่างสูงในการใช้อำนาจ จากกระแสหนุนรัฐบาล เพราะฉะนั้นอย่าตกหลุมพรางความรุนแรง เป็นโจทย์ที่ต้องคิดทั้งระบบ ทั้งความหวาดระแวง ความไม่เชื่อถือแม้แต่สื่อมวลชน ซึ่งอันตรายมาก เพราะฉะนั้นรัฐจำเป็นต้องแก้โจทย์ความหวาดระแวง

ปัญหาที่น่าเป็นห่วงคือ ต่อไปนี้จะไม่มีการเจรจา สิ่งที่ฝ่ายรัฐทำไปในเหตุการณ์ที่ตันหยงลิมอ ไม่ใช่การเจรจา แต่เป็นการประสานพูดคุย การเจรจาจะเป็นไปไม่ได้ หากไม่มีการพูดคุยกับคนที่ถูกจับตัวไปด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นจึงเป็นการยื่นข้อเสนอของฝ่ายเดียว

แม้แต่คุณนัจมุดดีน อูมา ที่เข้าไปช่วยเป็นตัวประสานเจรจาก็ยอมรับออกมาเองว่า ไม่รู้จะไปเจรจากับใคร เพราะชาวบ้านเองก็แยกย้ายกันจับกลุ่ม แบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม เพราะฉะนั้นจะต้องคิดหาแนวทางที่จะทำให้เกิดความสูญเสียให้น้อยที่สุด


ถึงจุดนี้รัฐคงไม่ลดการใช้อำนาจ

เพราะสิ่งที่นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์นั้นชัดเจน แต่ต้องระวังว่าอย่าตกหลุมพราง เรื่องที่เกิดขึ้นนี้ไม่น่าแปลกใจเลย เพราะฝ่ายตรงข้ามคงต้องการให้รัฐประกาศภาวะฉุกเฉินต่อไป ให้ดูเหมือนว่าอยู่ในสถานการณ์สงคราม แต่น่าเป็นห่วงเพราะเป็นสงครามที่ไม่เห็นตัว โอกาสผิดพลาดของรัฐนั้นมีมาก ยิ่งประกอบกับกระแสสังคมที่เข้าข้างรัฐมากในขณะนี้ ดังนั้นจึงต้องใช้นโยบายด้านสันติ สร้างการยอมรับ และให้ความเป็นธรรม

ในสถานการณ์เช่นนี้

รัฐกำลังถูกดึงให้เข้าสู่สถานการณ์สงคราม รัฐไทยโดยฝ่ายความมั่นคงไม่มีความถนัดงานเช่นนี้เลย เพราะต้องใช้ทั้งความอ่อนนิ่ม และแข็งกร้าวไปพร้อมๆ กัน สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้เป็นความขัดแย้งที่รัฐไทยยังไม่เคยเจอมาก่อน ทุกส่วน รวมทั้งสื่อ ถือเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้ร่วมกัน

ดังนั้นคดีต่างๆ

ที่เกิดขึ้นจึงต้องให้มีความชัดเจน แม้ว่าฝ่ายรัฐเองที่เป็นผู้กระทำผิดก็ต้องยอมรับ ยอมกลืนเลือดบ้าง เพื่อสร้างความยุติธรรมให้ปรากฏ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันต่อไป เพราะไม่เช่นนั้น จะเกิดข่าวลือขึ้นตลอดว่า ความรุนแรง การก่อเหตุที่เกิดขึ้นทุกครั้ง เจ้าหน้าที่เป็นฝ่ายกระทำ

 


ผศ

.ศรีสมภพ จิตภิรมย์ศรี
อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี

"

มาตรการที่เด็ดขาดจะเป็นสิ่งที่สร้างปัญหา"

:

การทำความเข้าใจกับประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ จะต้องทำทุกอย่างให้โปร่งใส ใช้ความยุติธรรม และสันติวิธี

สิ่งที่เกิดขึ้นที่ตันหยงลิมอ

ต้องยอมรับว่าเป็นครั้งแรกที่รัฐพยายามใช้แนวทางสันติวิธี แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นถือเป็นเหตุสุดวิสัย

รัฐเองจะต้องเน้นย้ำในวิธีการสันติวิธี

และต้องทำความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งจะช่วยสร้างความรู้สึกในทางบวก ให้เขาได้เข้าใจในสิ่งที่ยังคลางแคลงใจอยู่ กรณีการยิงถล่มร้านน้ำชาจะต้องให้มีความชัดเจน

กระบวนการในการสร้างความกลัวให้ชาวบ้านมีโอกาสเกิดขึ้นสูง

ซึ่งไม่เป็นผลดีกับรัฐบาล การใช้อำนาจตามพรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ผมเห็นด้วยว่ายังใช้ไม่เต็มรูปแบบ กฎหมายส่วนหนึ่ง แต่การปฏิบัติก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง

คงต้องยอมรับในแง่ของการคงไว้ซึ่งอำนาจตามพรก

. แต่ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชนด้วย เพราะกระแสความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ไม่ยอมรับพรก. กฎหมายแม้จะคงอยู่ แต่การใช้อำนาจนั้นปรับได้

ท่าทีของผู้นำในทุกฝ่าย

มีแนวโน้มที่จะใช้มาตรการเด็ดขาด ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สร้างปัญหา ที่เป็นเช่นนี้เพราะไม่มีการสรุปบทเรียนที่ผ่านมา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท