Skip to main content
sharethis

ลักษณะโครงการฯ


 




































แนวเส้นทาง


:


เริ่มจากสถานีบางซื่อ (ต้นสถานี กม. 7.48) ผ่านเขตจตุจักร เขตบางเขน
เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง และไปสิ้นสุดที่สถานี รังสิต
(ปลายย่านสถานี กม. 31.5) จังหวัดปทุมธานี


ระยะทาง


:


24.02 กิโลเมตร


โครงสร้างทางรถไฟ


:


เป็นทางยกระดับยาว 17.3 กิโลเมตร และเป็นทางระดับดิน
ยาว 6.72 กิโลเมตร


ขนาดทางรถไฟ


:


กว้าง 1,000 มิลลิเมตร


สถานี


:


สถานีจำนวน 5 สถานี ได้แก่
•  สถานีบางซื่อ (กม. 7.6) มีบทบาทเพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์กลาง
การคมนาคมขนส่งระบบรางและการขนส่งประเภทต่างๆ
และเป็นพื้นที่ธุรกิจหลัก
•  สถานีบางเขน(กม. 13.2) มีบทบาทในการสนับสนุน
การพัฒนาย่านสถานีเป็นศูนย์กลางการศึกษา และธุรกิจการค้า
•  สถานีหลักสี่ (กม. 17.7) มีบทบาทเพื่อส่งเสริมการพัฒนา
พื้นที่ศูนย์ราชการ ที่พักอาศัยหนาแน่นมากแบบผสม
•  สถานีดอนเมือง (กม. 21.5) มีบทบาทการพัฒนาเพื่อเชื่อมต่อ
ศูนย์การขนส่งทางอากาศ และอุตสาหกรรม
•  สถานีรังสิต (กม. 30.15) มีบทบาทเพื่อเชื่อมต่อการพัฒนา
ย่านการค้า ศูนย์ชุมชนเมือง และสถานีขนส่งผู้โดยสาร ระหว่างชุมชน


ความเร็วสูงสุด


:


120 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง


รูปแบบการเดินรถ


:


มีทั้งแบบธรรมดา ซึ่งจอดที่สถานีบางซื่อ บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง
และรังสิต และรถด่วนซึ่งจะจอด เฉพาะสถานีบางซื่อ ดอนเมือง และรังสิต


ค่าโดยสาร


:


เริ่มต้นที่ 10 บาท บวกอีกกิโลเมตรละ 1 บาท


 


ประมาณการค่าก่อสร้าง


     ค่าก่อสร้างโครงการฯ ช่วงบางซื่อ - รังสิต รวมทั้งสิ้น 39,637 ล้านบาท แยกเป็นการก่อสร้างงานโยธา จำนวน 28,881 ล้านบาท งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลจำนวน 7,153 ล้านบาท วงเงินสำรองการก่อสร้างจำนวน 3,603 ล้านบาท การก่อสร้างครั้งนี้ไม่ต้องเสียงบประมาณเวนคืนที่ดิน เนื่องจากใช้เขตทางเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่มีเขตทางอยู่แล้วข้างละ 40 เมตร


 


 


ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ


            รัฐลงทุนเองทั้งหมดจะมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ( EIRR) = 16.2%


 


ผลตอบแทนทางการเงิน   


รัฐลงทุนเองทั้งหมด จะมีอัตราผลตอบแทนทางการเงิน ( FIRR) = 4.8% แต่ถ้ารัฐร่วมลงทุน
กับเอกชน โดยรัฐลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในสัดส่วนประมาณ 60 % ของการลงทุนทั้งหมด
และเอกชนลงทุนด้านระบบรถและระบบไฟฟ้า คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 40 % จะมีผลตอบแทน
ทางการเงินประมาณ 12.0 %


 


ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ


•  เพิ่มประสิทธิภาพของระบบรถไฟชานเมือง


•  เพิ่มระบบโครงข่ายถนนด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ


•  เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานกรุงเทพ ที่สถานีดอนเมือง


•  พัฒนาสถานีให้เป็นศูนย์คมนาคมเชื่อมต่อระบบขนส่งอื่น ๆ


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net