พม่าอ้างหวั่นซ้ำรอยอิรัก ไม่คืนประชาธิปไตย

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

ประชาไท- ผู้นำรัฐบาลพม่าบอกยังไม่ต้องการประชาธิปไตยตอนนี้ เพราะต้องการหลีกเลี่ยงความโกลาหลและความไม่สงบเหมือนอย่างที่อิรักกำลังเผชิญ

 

นายซีเอ็ด อามิด อัลบาร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียกล่าวเมื่อวันที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา ภายหลังจากการเดินทางกลับจากเยือนพม่าเป็นเวลา 2 วันว่า

 

"ทางพม่าบอกไม่ได้ว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นได้เมื่อใด และบอกว่าขณะนี้พวกเขากำลังมุ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนก่อนโดยจะเน้นในเรื่องของการศึกษาและการสาธารณสุข" รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียกล่าวหลังจากการเดินทางไปเยือนเพื่อสานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของสองประเทศ

 

"ผมเห็นว่าเขาระวังมาก เขาบอกว่าไม่อยากจะให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้น เขาต้องการที่จะแน่ใจเสียก่อนว่าสิ่งแวดล้อมต่างๆได้เอื้อให้เกิดประชาธิปไตยและจะไม่มีความวุ่นวายเกิดขึ้น เขาต้องการหลีกเลี่ยงสถานการณ์แบบเดียวกับอิรัก" ซีเอ็ด ฮามิด อัลบาร์กล่าวกับผู้สื่อข่าว

 

รัฐบาลทหารพม่าได้เข้ามามีอำนาจตั้งแต่ปี 1988 และได้จับกุมคุมขังบรรดานักการเมืองฝ่ายค้าน รวมทั้งเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพอย่าง อองซาน ซูจี ซึ่งทางพรรคแนวร่วมแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของนางได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในปี 1990 แต่ทางฝ่ายทหารปฏิเสธที่จะลงจากอำนาจ

 

แม้ทางผู้นำระดับนายพลของพม่าได้สัญญาที่ฟื้นฟูประชาธิปไตย จะปล่อยตัวนักโทษการเมือง และจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ว่าก็ยังคงกักบริเวณนางอองซาน ซูจี อยู่  แต่ทางรัฐบาลชาติตะวันตกและฝ่ายนิติบัญญัติในประเทศต่างๆ ของเอเชีย ต่างกล่าวว่า แทบจะไม่มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้เลย

 

"พวกผู้นำไม่ได้แม้แต่จะกล่าวถึงชื่อของอองซาน ซูจี"  ซีเอ็ด  ฮามิดกล่าว

 

นักวิจารณ์เรื่องพม่าต้องการให้สหประชาชาติเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า เช่น วาคลาฟ ฮาเวล อดีตประธานาธิบดี สาธารณรัฐเชค และ เดสมอนด์ ตูตู เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพได้เรียกร้องให้ทางสหประชาชาติปฎิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง

 

ด้านสหรัฐฯนั้น นักการทูตคนหนึ่งกล่าวว่า ต้องการให้เรื่องพม่าถูกนำเข้าไปอยู่ในวาระของการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ อย่างไรก็ตาม ซีเอ็ด ฮามิด ให้ความเห็นในประเด็นนี้ว่า เขาไม่แน่ใจเหมือนกันว่าอะไรจะเกิดขึ้น หากสหประชาชาติมีปฏิบัติการบางอย่างในการต่อต้านพม่า

 

ขณะเดียวกันทางรัฐบาลทหารพม่าเองก็ไม่ต้องการให้ทูตยูเอ็นกลับเข้าไปหรือแม้แต่จะเป็นสื่อกลาง ทั้งนี้ ทูตถาวรแห่งสหประชาติประจำพม่า ราซาลี อิสมาอีล นั้นไม่ได้รับอนุญาตให้ไปเยือนพม่าตั้งแต่ มีนาคมปีที่แล้ว การเดินทางไปเยือนพม่าครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกของซีเอ็ด ฮามิดนับตั้งแต่ที่มาเลเซียรับตำแหน่งประธานอาเซียนปีนี้ ทั้งนี้ ซีเอ็ด ฮามิด ได้พบและพูดคุยกับตัน ฉ่วย ผู้นำในรัฐบาลทหารพม่า โซว วิน  นายกรัฐมนตรี และเนียน วิน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ

 

----------------------------------

ที่มา : http://www.newkerala.com/newsdaily.php?action=fullnews&id=34098

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท

พื้นที่ประชาสัมพันธ์