Skip to main content
sharethis








                        


 


( ต่อจากตอนที่แล้ว)



แนะนำหนังสือ ตอนที่ 3 นี้ เป็นมุมมองของ ดร.เจมส์ อาร์ ไคลน์ จากมูลนิธิเอเชียประจำประเทศไทย นักวิชาการชาวต่างประเทศที่สนใจเรื่องราวของเอเชียและในปัญหาภาคใต้ โดยเฉพาะเรื่องของความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ และในขณะเดียวกันก็มีความสนใจในเรื่องอคติระหว่างศาสนาด้วยจึงได้ลงมือเก็บข้อมูลเชิงสถิติจากพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และร่วมเขียนบทความลงในหนังสือเล่มนี้


 


บทความของ ดร.เจมส์ ในหนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า "มุมมองชาวพุทธและมุสลิม กรณีความขัดแย้งในภาคใต้ของประเทศไทย" ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วได้สรุป สาเหตุหลักของปัญหาในภาคใต้เป็น 3 ข้อ คือ


   


    1.       การขาดการปรึกษาหารือระหว่างรัฐกับประชาชน



  1. ความระแวงซึ่งกันและกัน
  2. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม

 


ทั้งนี้ ดร.เจมส์ ระบุว่า รัฐบาลใช้ระบบการจัดการปัญหาแบบที่ใช้ในกรุงเทพฯหรือส่วนกลางไปจัดการปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้ ทั้งๆ ที่ควรจะใช้การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่มากกว่า


 


นอกจากนี้ ยังพบว่าการแบ่งแยกดินแดนไม่ใช่สาเหตุปัจจัยหลักของความรุนแรง เพียงแต่ยังมีอคติระหว่างศาสนาอยู่ ได้แก่การที่ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ คิดว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาจากแนวคิดที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน ในขณะที่ผู้นับถือศาสนาอิสลามคิดถึงประเด็นนี้เพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น


 


(อ่านต่อตอนต่อไปจากทั้งหมด 7 ตอน)


 -------------------------------------------------------------------

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net