Skip to main content
sharethis

ข้อมูลการเสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดธุรกิจบริการที่ไม่ต้องขอใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว


ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542


 


 


ความเป็นมา


 


ตามกฎหมายเดิม คือ ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 (ปว.281) ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2515 มีการกำหนดธุรกิจบริการไว้ในกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งต้องมีการขออนุญาต แต่ต่อมากฤษฎีกาได้ตีความว่าการประกอบธุรกิจบริการตาม ปว.281 นี้ มีความหมายเฉพาะการประกอบธุรกิจที่เป็นการรับทำงานให้เท่านั้น ดังนั้น ธุรกิจบริการที่มีลักษณะที่ไม่เป็นการรับทำงานให้จึงไม่เข้าข่ายธุรกิจบริการที่ต้องขออนุญาตตามปว.281 เช่น ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ เงินทุนหลักทรัพย์ ประกันภัย ธุรกิจโรงเรียน ฯลฯ แต่ต้องไปขออนุญาตตามกฎหมายเฉพาะในแต่ละเรื่อง


 


ต่อมา เมื่อมีการออกกฎหมายฉบับใหม่ คือ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 มีการกำหนดให้ธุรกิจบริการเหล่านี้อยู่ในบัญชีที่ต้องขออนุญาต คือ บัญชีสาม (21) ระบุว่า ธุรกิจบริการอื่นต้องมาขออนุญาตยกเว้นที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ที่ต้องพิจารณาว่าธุรกิจบริการอะไรบ้างที่กฎหมายเดิมเคยกำหนดยกเว้นไว้ ทั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการเปิดเสรีธุรกิจบริการใหม่หรือขอเปิดเพิ่มเติม แต่เป็นการทำให้มีหลักเกณฑ์เดียวกับกฎหมายเดิม กระทรวงพาณิชย์จึงเสนอกฎกระทรวงกำหนดธุรกิจบริการ 20 รายการ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ได้รับยกเว้นเดิม และเป็นธุรกิจที่มีกฎหมายเฉพาะกำกับดูแลอยู่แล้ว


 


ลำดับเหตุการณ์


 


7 มิ.ย.43           คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว  มีมติกำหนดธุรกิจบริการที่ไม่ต้องขออนุญาต 14 รายการ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้นำเสนอร่างกฎกระทรวงต่อคณะรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการ


ได้แก่ 1. ธุรกิจให้เช่าทรัพย์สิน 2.ธุรกิจลิสซิ่ง 3.ธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ 4.ธุรกิจให้กู้ยืมเงิน 5. ธุรกิจประกันชีวิตและธุรกิจประกันวินาศภัย 6.ธุรกิจโรงรับจำนำ 7.ธุรกิจรับฝากสินค้า 8.ธุรกิจคลังสินค้า 9.ธุรกิจโรงเรียน 10.ธุรกิจโรงมหรสพ 11.ธุรกิจตัดผม แต่งผมและเสริมสวย 12.ธุรกิจถ่ายรูป ล้างและอัดรูป 13.ธุรกิจซักรีดเสื้อผ้า 14.ธุรกิจรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า


 


14 ธ.ค.43   คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว มีมติเสนอยกเว้นธุรกิจบริการเพิ่มอีก 13 รายการรวมเป็น 27 รายการ และกระทรวงพาณิชย์นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการ ได้แก่ 1.ธุรกิจการค้าหลักทรัพย์ 2.ธุรกิจการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ 3.ธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน 4.ธุรกิจการจัดการกองทุนรวม 5.ธุรกิจการจัดการกองทุนส่วนบุคคล 6.ธุรกิจการเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 7.ธุรกิจการยืมและให้ยืมทรัพย์สิน 8.ธุรกิจการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ 9.ธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกแบบและเสนอขายหลักทรัพย์และการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ 10. ธุรกิจการเป็นตัวแทนเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการจำหน่ายหลักทรัพย์ และธุรกิจการเป็นตัวแทนสนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิด 11.ธุรกิจการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ 12.ธุรกิจการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม 13.ธุรกิจการเป็นผู้ถือหุ้นกู้


 


2 ก.ค.45    กระทรวงพาณิชย์ยืนยันร่างกฎกระทรวงฉบับแรกที่เสนอธุรกิจบริการเพียง 7 รายการจาก 14 รายการได้แก่ ธุรกิจการธนาคาร ธุรกิจการให้กู้ยืมเงิน ธุรกิจประกันชีวิตและธุรกิจประกันวินาศภัย ธุรกิจโรงรับจำนำ ธุรกิจคลังสินค้า ธุรกิจโรงเรียน ธุรกิจโรงมหรสพ ส่วนฉบับที่ 2 ยืนยันทั้ง 13 รายการรวมเป็น 20 รายการ ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา


 


5 พ.ย.45     คณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาร่างกฎกระทรวงโดยได้รวมธุรกิจบริการจำนวน 2 ฉบับเป็นฉบับเดียว มีธุรกิจบริการ 20 รายการ และขอให้กระทรวงพาณิชย์ยืนยันให้ความเห็นชอบ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ยืนยันให้ความเห็นชอบในร่างกฎกระทรวง และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้ส่งให้คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย 11 ฉบับพิจารณาอีกครั้ง


 


หลังจากนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหนังสือขอให้กระทรวงพาณิชย์ผลักดันร่างกฎกระทรวงดังกล่าว และกระทรวงพาณิชย์มีหนังสือทวงถามไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรี


 


 


กฎหมายเฉพาะที่กำกับดูแลธุรกิจบริการ 20 รายการ


 


ธุรกิจที่ขอยกเว้นในร่างกฎกระทรวงเป็นธุรกิจที่มีกฎหมายกำกับดูแลโดยเฉพาะที่เข้มงวดกว่าในเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าว การเปิดสาขา รวมถึงมีการควบคุมดูแลโดยหน่วยงานเฉพาะ แต่พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายทั่วไป ดังนั้น การที่ธุรกิจต่างด้าวที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจะต้องไปขออนุญาตกับหน่วยงานที่ควบคุมดูแลเฉพาะก่อนแล้ว จึงมาขอประกอบธุรกิจตามพ.ร.บ.ต่างด้าวฯ อีก จึงทำให้เกิดความซ้ำซ้อน เช่น


 


ธุรกิจการธนาคารพาณิชย์               พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 กำหนดให้


                                                - ธนาคารพาณิชย์ต้องมีคนไทยถือหุ้นไม่ต่ำกว่า สามในสี่ ของจำนวนหุ้นที่


                                                จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และต้องมีกรรมการเป็นคนไทยไม่ต่ำกว่า สามในสี่


                                                ของจำนวนกรรมการทั้งหมด


 


การทำกิจการให้กู้ยืมเงิน                 พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ.2522 กำหนดให้


                                                - บริษัทเงินทุนต้องมีคนไทยถือหุ้นไม่ต่ำกว่า สามในสี่ ของจำนวนหุ้น                                            ที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และต้องมีกรรมการเป็นคนไทยไม่ต่ำกว่า สามใน


                                                สี่ ของจำนวนกรรมการทั้งหมด


 


การประกันชีวิตการประกันวินาศภัย    พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535


                                                กำหนดให้


                                                - บริษัทต้องมีคนไทยถือหุ้นไม่ต่ำกว่า สามในสี่ ของจำนวนหุ้นที่จำหน่าย


                                                ได้แล้วทั้งหมด และต้องมีกรรมการเป็นคนไทยไม่ต่ำกว่า สามในสี่ ของ


                                                จำนวนกรรมการทั้งหมด


                                                - ผู้ประกอบธุรกิจต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมน                                                       ตรี


                                                - ธุรกิจต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตต้องดำรงสินทรัพย์ไว้ในประเทศไทยตามจำ


                                                นวน ชนิด วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด


 


การทำกิจการโรงรับจำนำ                พ.ร.บ.โรงรับจำนำ พ.ศ.2505 กำหนดให้


                                                - ผู้ที่จะตั้งโรงรับจำนำ ต้องได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงรับจำนำโดยการ


                                                พิจารณาของคณะกรรมการควบคุมโรงรับจำนำ


                                                - ผู้รับจำนำต้องจัดให้มีป้ายอัตราดอกเบี้ยเป็นภาษาไทยแสดงไว้ในที่เปิด


                                                เผยในโรงรับจำนำ


 


การทำกิจการคลังสินค้า                  ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการกำหนดเงื่อนไขควบคุมกิจการคลังสิน


                                                ค้า พ.ศ.2535 ออกตามความโดย ปว.58


                                                - การประกอบกิจการคลังสินค้าจะทำได้ต่อเมื่อจดทะเบียนเป็นบริษัท


                                                และได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการคลังสินค้าแล้ว และการยื่นคำขอ


                                                จดทะเบียนตั้งเป็นบริษัทจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี


                                                แล้ว


                                                - ต้องมีทุนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่าห้าล้านบาท และต้องมีคลังสินค้าตามหลัก


                                                เกณฑ์ที่กำหนดและเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง


                                                - ผู้ประกอบกิจการอาจมีสาขาได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี


 


ธุรกิจโรงเรียน                              พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 กำหนดให้


                                                - ผู้ขอจัดตั้งโรงเรียนต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด และต้อง


                                                มีคนไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนหุ้นหรือจำนวนหุ้นทั้งหมด


                                                และต้องมีจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นคนไทย ไม่น้อยกว่ากึ่ง


                                                หนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด


 


การทำกิจการโรงมหรสพ                พ.ร.บ.ป้องกันภยันอันตรายอันเกิดแต่การเล่นมหรสพพ.ศ.25461 กำหนด


                                                ให้


                                                - ผู้ที่จะปลูกสร้างโรงมหรสพ หรือจะใช้โรงเรือนซึ่งยังไม่เคยใช้เป็นโรง


                                                มหรสพ ให้ยื่นขอต่อรัฐมนตรี


 


การค้าหลักทรัพย์, การจัดจำหน่าย    พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 กำหนดให้


หลักทรัพย์,การเป็นที่ปรึกษาการลง   - การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จะกระทำได้ต่อเมื่อได้จัดตั้งในรูปบริษัท


ทุน, การจัดการกองทุนรวม, การจัด   จำกัด หรือเมื่อเป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น ทั้งนี้ โดย


การกองทุนส่วนบุคคล,การเป็นผู้จัด   ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. และ


การกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ,การยืม    การจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับ


และให้ยืมหลักทรัพย์,การให้สิน        ความเห็นชอบจากรัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการก.ล.ต.


เชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์,การ                       - ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของ


เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการ        ประเทศหรือเพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของประชาชนให้รัฐมนตรีตามข้อเสนอ


ออกและเสนอขายหลักทรัพย์          แนะของคณะกรรมการก.ล.ต. มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขที่ผู้รับใบอนุญาต


และการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์,    ต้องปฏิบัติในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้


การเป็นตัวแทนเพื่อทำหน้าที่                        - บริษัทหลักทรัพย์อาจมีสำนักงานสาขาได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจาก


สนับสนุนการจำหน่ายหลักทรัพย์      สำนักงานซึ่งการขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อน


และการเป็นตัวแทนสนับสนุนการ      ไขและวิธีการที่คณะกรรมการก.ล.ต.กำหนด


ขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของ     - บริษัทหลักทรัพย์ต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วตามจำนวนที่คณะ


กองทุนเปิด,การเป็นนายทะเบียน      กรรมการก.ล.ต.กำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท


หลักทรัพย์,การเป็นผู้ดูแลผล                       - บริษัทหลักทรัพย์ต้องดำรงเงินกองทุนให้เพียงพอตามหลักเกณฑ์เงื่อน


ประโยชน์ของกองทุนรวม,              ไขและวิธีการที่คณะกรรมการก.ล.ต.กำหนด


การเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้


 


 


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net