Skip to main content
sharethis


โดย กอแก้ว วงศ์พันธุ์


นักวิจัยทุนโครงการปัญญาชนเอเชียสาธารณะ ปี 2547 - 2548


 


ได้มีโอกาสศึกษาเรื่องสื่อท้องถิ่นในฟิลิปปินส์ ซึ่งอยากจะนำมาเปรียบเทียบในประเทศไทย โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบัน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหรือหนังสือพิมพ์ประจำจังหวัดในประเทศไทยก็มีมากขึ้น แต่ภาพพจน์ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในบ้านเรายังไม่ดีในสายตาของผู้คนทั่วไป โดยเฉพาะในแง่ของความน่าเชื่อถือ ซึ่งคนมักจะมองว่า เป็นหนังสือพิมพ์ของผู้มีอิทธิพล นักการเมืองท้องถิ่น หรือหนังสือพิมพ์รายหวยออก เป็นต้น การไปศึกษาสื่อเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์ ซึ่งมีการเติบโตของสื่อท้องถิ่นดีกว่าบ้านเรา อาจนำบทเรียนของเขามาเป็นประโยชน์ต่อไปได้


 


กล่าวโดยทั่วไป สื่อของฟิลิปปินส์ ค่อนข้างมีบทบาทกับการเปลี่ยนแปลงการเมืองและสังคมในทางที่ดีขึ้นกับบ้านเมืองของเขามาก โดยเฉพาะช่วงโค่นล้มอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินัน มากอส เมื่อปี ค.ศ. 1986 และอีกช่วงคือโค่นล้มอดีตประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา เมื่อ ค.ศ. 2000 - 2001 ในครั้งหลังสื่อทางเลือกมีบทบาทต่อการขุดคุ้ยเปิดโปงการฉ้อฉลของอดีตประธานาธิบดี โจเซฟ เอสตราดา จนกระทั่งสื่อกระแสหลักต้องตอบรับกระแสโดยการหันมาเล่นข่าวอย่างต่อเนื่อง องค์กรสื่อทางเลือกแห่งนี้เป็นที่รักและที่เชื่อถือของชาวฟิลิปปินส์มาก คือ องค์กรสืบสวนสอบสวนข่าว หรือ the Philippine Center for Investigative Journalism (PCIJ)


 


ฟิลิปปินส์เป็นประเทศหมู่เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วยหมู่เกาะเล็กใหญ่กว่า 7,000 เกาะ แต่มีหมู่เกาะขนาดใหญ่ 3 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะลูซอน (Luzon) หมู่เกาะวิซายาส์ (Visayas) และหมู่เกาะมินดาเนา (Mindanao) มีประชากร 85 ล้านคน


 


สื่อมวลชนของฟิลิปปินส์มีประสบการณ์ในการต่อสู้ต่อการกระทำรุนแรงของรัฐบาลตั้งแต่ ปี 1972-1985 สื่ออยู่ในถูกจำกัดเสรีภาพ หลังจากที่อดีตประธานาธิบดี เฟอร์ดินัน มากอสก้าวขึ้นสู่อำนาจ จาก 21 กันยายน 1972-25 กุมภาพันธ์ 1986 โดยประกาศใช้ Martial Law หนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ถูกสั่งปิด รวมไปถึงนักหนังสือพิมพ์ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล หลายคนถูกขุมขัง และบางส่วนถูกฆ่าในช่วงนี้ ส่วนหนังสือพิมพ์และวิทยุในต่างจังหวัด ต้องได้รับการอนุญาตเป็นเอกสารจากสำนักงานตำรวจท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งกว่าจะได้เอกสารอนุญาตก็ต้องถูกสอบสวนเป็นเวลานานกว่าจะได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดกิจการสื่อเลย เพราะฉะนั้นสื่อท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์จึงมีเพียงผู้ใกล้ชิดของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินัน มากอส เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการได้ 


 


บันทึกจำนวนของสื่อชนิดต่างๆ ไว้เมื่อปี 1960 หนังสือพิมพ์รายวัน 21 ฉบับ และ หนังสือพิมพ์ในต่างจังหวัด 100 ฉบับ ขณะที่มีสถานีโทรทัศน์จำนวน18 สถานี และสถานีวิทยุจำนวน 245 สถานีทั่วประเทศ และเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดของสื่อมีรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการ (Crispin C. Maslog, 1994, The Metro Manila Press, Philippine Press Institute, P. 25)


 


แต่หลังยุคเผด็จการมาร์กอส 1986 ฟิลิปปินส์ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีเสรีภาพของสื่อเป็นอันดับต้นของเอเชีย ปลดปล่อยจากการควบคุมของรัฐ และสื่อเกือบทั้งหมดเป็นของเอกชนและมีอิสระ กล้าเปิดเผยและวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลมากขึ้น Philippine Media Factbook บันทึกสถิติดังนี้


 


จำนวนวิทยุในฟิลิปปินส์ทั่วประเทศ




























 


1993


1995


     1998


2000


Metro Manila


47


      52


50


50


Outside Metro Manila


360


401


532


549


Tatal


407


453


582


599


(from: Philippine Media Factbook 2000)


 


จำนวนสถานีโทรทัศน์ในฟิลิปปินส์ทั้งประเทศ






















 


1993


1995


1998


2000


Metro Manila


6


11


13


13


Outside Metro Manila


59


109


219


95


(from : Philippine Media Factbook 2000)


 


จำนวนหนังสือพิมพ์ในฟิลิปปินส์ทั่วประเทศ


 


































 


Provincial Dailies


Circulation


Provincial Weeklies


Circulation


Philippines (total)


43


235,175


315


546,250


Luzon


3


21,500


209


403,600


Visayas


19


139,275


30


39,050


Mindanao


21


74,400


76


103,600


      (from: the Philippine Media Factbook 2000)


 


 


จะเห็นว่าฟิลิปปินส์มีหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 358 ฉบับ วิทยุกว่าห้าร้อยสถานี และโทรทัศน์เกือบร้อยสถานี ทั้งนี้จะกล่าวถึงส่วนที่เป็นหนังสือพิมพ์มากกว่าสื่ออื่นๆ จากตารางจะเป็นว่า หนังสือพิมพ์รายวัน 43 ฉบับ รายสัปดาห์ 315 ฉบับ และบางฉบับมีอายุยาวนานกว่า 50 ปี เช่น หนังสือพิมพ์ ชื่อ Sunday Punch ตั้งอยู่ในจังหวัดดากูปัน ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งในเกาะลูซอนอยู่ห่างเมืองหลวงมะนิลาทางด้านเหนือกว่า 300 กิโลเมตร และอีกฉบับหนึ่งเป็นหนังสือพิมพ์เก่าแก่ของจังหวัดบาเกียวชื่อ Baguio Midland Courier มีอายุกว่า 50 ปีเช่นกัน ซึ่งบาเกียวอยู่ในภาคเหนือของเกาะลูซอน ปัจจุบันทั้งสองฉบับยังพิมพ์จัดจำหน่ายอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งผู้อ่านในทั้งสองจังหวัดคุ้นชินและมีชีวิตผูกพันกับหนังสือพิมพ์สองฉบับนี้มาก เปรียบเสมือนคนไทยที่ตื่นเช้ามาไม่อ่านไทยรัฐหรือมติชน ฯลฯ เหมือนขาดอะไรสักอย่าง ฉันโดก็ฉันนั้น


 


หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ ซึ่งภาพรวมในแต่ละจังหวัดมียอดพิมพ์ห้าร้อยฉบับบ้าง หนึ่งพันฉบับบ้าง โดยเฉลี่ยแล้วไม่เกินสองพันฉบับต่อสัปดาห์ แต่ Baguio Midland Courier มียอดจำหน่ายประมาณ 28,000 ฉบับต่อสัปดาห์ นับว่ามากทีเดียวเมื่อเทียบกับจำนวนยอดจำหน่ายหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของไทย


 


กล่าวกันว่า นักข่าวท้องถิ่นของฟิลิปปินส์ประสบชะตากรรมความรุนแรงจากการกระทำของรัฐมากกว่านักข่าวจากสำนักข่าวในเมืองหลวงมะนิลา ตั้งแต่ยุคเผด็จการมาร์กอส ทั้งถูกฆ่า ถูกคุมขัง แม้แต่ในยุคปัจจุบัน ซึ่งสถานการณ์การเมืองท้องถิ่นของฟิลิปปินส์ค่อนข้างรุนแรง นักข่าวท้องถิ่นที่ดีที่เขียนข่าวตรวจสอบการคอรัปชั่น ค่อนข้างเสี่ยงต่อการถูกเอาชีวิต Chay Florentino - Hofilena เขียนบทความเรื่อง Travails of The Community Press ในหนังสือ Investigating Local Government จัดพิมพ์โดย Philippine Center for Investigative Journalism (PCIJ) เมื่อปี 2000 ว่า "ธรรมชาติของการเมืองท้องถิ่นมีความรุนแรงโดยตัวของมันเอง ...การฆ่าแล้งแค้นในครอบครัวจากการอาฆาตของตระกูลนักการเมือง...การดิ้นรนเพื่อควบคุมเศรษฐกิจในท้องถิ่นอย่างดุเดือด...มันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศนี้ที่ทุกแห่งล้อมด้วยอำนาจของปืน ,ความรุนแรงของการเมือง และสภาพไร้กฎหมาย ทั้งหมดนี้ยั่งรากลึกในสังคมการเมืองท้องถิ่น... ความรุนแรงอันเกี่ยวพันกับการคอรัปชั่น และการไร้ความสามารถของรัฐบาลท้องถิ่น บ่อยครั้งที่เป็นบริบทของหลายเรื่องราวท้องถิ่น ซึ่งยากต่อการเขียนถึง"


 


เมื่อดูสถิติของการเสียชีวิตของนักข่าวท้องถิ่นของฟิลิปปินส์ จึงไม่แปลกใจนัก ทั้งที่สื่อของฟิลิปปินส์ขึ้นชื่อว่ามีเสรีภาพในการเขียนข่าวมากที่สุดในหมู่ประเทศในแถบเอเชีย แต่การเสียชีวิตของนักข่าวก็มีมากที่สุดเช่นกัน ล่าสุด เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2548 Mr. Philip Agustin วัย 53 ปี บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชื่อว่า Starline Times ในจังหวัดออโรราตอนใต้ของเกาะลูซอน ถูกยิงเสียชีวิตที่บ้านลูกสาวที่อยู่ต่างอำเภอคือ ดินกาแลน ข่าวรายงานว่า ในขณะที่เขากลับมาจากต่างเมืองที่เขานำหนังสือพิมพ์ไปพิมพ์ที่นั่นประจำ เขากลับมาพร้อมกับหนังสือพิมพ์จำนวนห้าร้อยฉบับโดยมอเตอร์ไซด์คู่ชีพ การตายของ Agustin เกิดขึ้นหลังจากเขาเขียนบทบรรณาธิการเรื่องการหายสาบสูญของเงินช่วยเหลือเรื่องอาหารและการลักลอบค้าไม้ของอำเภอ ดินกาแลน เมื่อครั้งที่เกิดภัยธรรมชาติน้ำท่วมฉับพลันเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ต่อมาไม่นานหลังการตายของเขา นายกเทศมนตรีของเมืองดินกาแลนถูกหมายศาลเรียกตัวเขาไปสอบสวน


 


รายชื่อนักข่าวที่ถูกยิงเสียชีวิต


 




















































































Date


Name


Place


April 28, 2003


John Belen Villanueva


Legazpi City (Bicol)


May 17, 2003    


Apolinario "Polly" Pobeda


Lucena City (Southern Luzon)


July 8, 2003


Bonifacio Gregorio         


Taclac City (Central Luzon)


August 19, 2003


Noel Villarante


Laguna City (Southern Luzon)


August 20, 2003


Rico Ramirez    


Butuan City (Mindanao)


September 6, 2003


Juan "Jun" Pala


Davao City (Mindanao)


December 2, 2003


Melson Nadura


Masbate City (Southern Luzon)


February 11, 2004


Ruel Endrinal    


Legazpi City (Bicol)


June 17, 2004


Eliseo Binoya


General Santos City (Mindanao)


July 31, 2004


Roger Mariano


Laoag City (Northern Luzon)


August 5, 2004


Arnnel Manalo


Batangas City (Southern Luzon)


August 8, 2004


Jonathan Abayon


General Santos City (Mindanao)


August 12, 2004


Fernando Consignado    


Laguna (Southern Luzon)


September 29, 2004


Romy Binungcal 


Bataan (Central Luzon)


October 19, 2004


Eldy Gabinales


Surigao del Sur (Mindanao)


November 12, 2004


Gene Boyd Lumawag     


Jolo (Mindanao)


November 13, 2004


Herson Hinolan


Kalibo, Aklan (Visayas)


 


November 13, 2004


Michael Llorin


Quezon City


 


November 26, 2004


Stephen Omais


Kalinga


 


*source : National Union of Journalists of the Philippine  (NUJP)


 


 


การเสียชีวิตจากการปฏิบัติงานของนักข่าวท้องถิ่นในฟิลิปปินส์เป็นหัวข้อสนทนาในเวทีสื่อมวลชนระดับโลกมานานแล้ว ซึ่งปัจจุบันมีองค์กรอิสระชื่อ  "Freedom Fund for Filipino Journalists" (FFFJ)ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546 โดยเป็นองค์กรที่ร่วมมือกันระหว่างองค์กรสื่ออื่นๆ เช่น the Committee to Protect Journalist (CPJ), International Freedom of Expression Exchange (IFEX), Reporters Sans Frontieres (RSF), Southeast Asian Press Alliance (SEAPA) นอกจากนี้ยังมีองค์กรสื่อในฟิลิปปินส์ร่วมเป็นสมาชิกด้วย เช่น the Philippine Center for Investigative Journalism (PCIJ), Center for Community Journalism and Development (CCJD), Center for Media Freedom and Responsibility (CMFR), Kapisanan ng mga Brodkaster ng Philipinas (KBP), Philippine Press Institute (PPI), Ermin Garcia, Jr., Publisher, Sunday Punch, Danilo Gozo, publisher, Philippine News. วัตถุประสงค์ที่ตั้งองค์กรนี้ คือ หนึ่ง ระดมทุนเพื่อปกป้องนักข่าวที่ถูกคุกคาม สอง ระดมทุนเพื่อช่วยเหลือครอบครัวของนักข่าวที่เสียชีวิต สาม ติดตามการแก้ปัญหากรณีนักข่าวถูกคุกคามจากการปฏิบัติหน้าที่  ปัจจุบันมีบุตรของนักข่าวที่เสียชีวิตรับเงินช่วยเหลือจาก FFFJ ประมาณ 7 ราย


 


นอกจากนี้ FFFJ ยังได้พิมพ์หนังสือชื่อเรื่อง Staying Alive เป็นคู่มือปฏิบัติตัวสำหรับนักข่าวที่จะทำอย่างไรไม่ทำให้ตัวเองเป็นอันตราย ในระหว่างปฏิบัติงานข่าว ซึ่งมีหัวข้อหลากหลาย เช่น 1. อะไรที่นักข่าวควรทำถ้าถูกข่มขู่  2. ทำอย่างไรเมื่อต้องทำข่าวในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง (เช่น พื้นที่ที่มีความขัดแย้งในด้านศาสนา) หรือพื้นที่อันตราย 3. ทำอย่างไรเมื่อนักข่าวถูกกระทำ หรือถูกทำร้าย (จากเจ้าหน้าที่ หรือกลุ่มคน) เป็นต้น ซึ่งในหนังสือมีรายละเอียดแม้กระทั่งการใส่เสื้อผ้าไม่ควรใส่สีที่เหมือนกับเจ้าหน้าที่ เช่นสีเขียว หรืออื่นๆ แม้กระทั่งการปฏิบัติตัวขณะออกจากบ้านหรือจะเข้าบ้านหลังปฏิบัติงานเลยทีเดียว หรือ ในขณะที่ทำข่าวในพื้นที่ขัดแย้ง นักข่าวก็ไม่ควรเอาสมุดออกมาจดข่าวสุ่มสี่สุ่มห้า ทางที่ดีควรเก็บไว้ในกระเป๋า และทำการพูดคุยกับแหล่งข่าวหากเขายินดีและสนุกไปกับการพูดคุยกับคุณแล้ว คุณควรให้สมองจดจำเอาไว้อย่างดี นั่นแหละคุณก็จะได้ข่าวอย่างดีแล้ว นอกจากนี้แล้ว ยังรณรงค์ต่อมวลชนต่อต้านการเข่นฆ่านักข่าว เพราะการทำร้ายนักข่าวถึงชีวิตหมายถึงการทำลายเสรีภาพของสื่อไปด้วย ต่อไปจะไม่มีนักข่าวคนใดกล้าพอที่จะเปิดเผยการคอรัปชั่น การใช้อำนาจของผู้มีอำนาจในบ้านเมืองในทางที่ผิด หรือการกระทำที่ไม่ถูกต้องทั้งปวง ถึงตอนนั้นสังคมก็จะอ่อนแอไปด้วย


 


สื่อมวลชนฟิลิปปินส์ที่พัวพันกับการเมือง, ธุรกิจในด้านมืดและการคอรัปชั่น และทำหน้าที่เปิดโปงกระบวนการด้านมืดของการเมืองและธุรกิจอยู่เนืองๆ ดังตัวอย่างในจังหวัดออโรรา อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยเรื่อง News for Sale ของ The Philippine Center for Investigative Journalism (PCIJ) มีรายงานว่านักข่าวจำนวนมากมีสายสัมพันธ์กับนักการเมืองและนักธุรกิจ มีกรณีนักข่าวไปแบล็คเมล์แหล่งข่าวและเรียกร้องเงิน แต่สำหรับนักข่าวที่เขียนข่าวตามความเป็นจริง นำเสนอการคอรัปชั่นของนักการเมืองหรือนำเสนอข่าวที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม บ่อยครั้งที่แหล่งข่าวเสนอเข้ามาเสนอผลตอบแทน มีทั้งนักข่าวที่ปฏิเสธและบางคนยอมรับข้อเสนอ สำหรับนักข่าวที่ไม่ยอมจำนนและเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง มักเสี่ยงต่อการคุกคามชีวิต


 


นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่นักข่าวท้องถิ่นฟิลิปปินส์เสียชีวิตจากการทำงานมากที่สุดในแถบเอเชีย


 


นอกจากนี้ ปัญหาหนึ่งของนักข่าวท้องถิ่น คือ อัตราเงินเดือนต่ำ ไม่มีหลักประกันทางด้านสุขภาพ ไม่มีสวัสดิการ จากข้อมูลของ National Union of Journalists of the Philippines รายงานว่า 80% ไม่มีหลักประกันสังคม 75% ไม่มีการวางแผนประกันสุขภาพ 40% นอกจากไม่มีแผนประกันสุขภาพแล้วยังไม่มีเงินทุนเพื่อครอบครัว และ 80% ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง


 


ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของข่าว แม้นักข่าวอยากจะทำงานออกมาให้มีคุณภาพอย่างไร แต่ไม่มีการสนับสนุนจากองค์กรก็ไม่สามารถมีงานข่าวที่มีคุณภาพได้ เช่น Mr. Walter L. Batance, ผู้จัดการของเวปไซด์ข่าวชื่อว่า www.mindanews.com เขาเคยเป็นนักข่าวท้องถิ่นของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในจังหวัด Bukidnon ในหมู่เกาะมินดาเนา เขาเล่าว่า จากประสบการณ์ของเขา เขาต้องการเข้าไปทำรายงานในพื้นที่แห่งหนึ่ง ถ้าต้องการขุดคุ้ยข้อมูลของข่าว จะต้องใช้เวลาและเงินทุนในการเดินทางอยู่พอสมควร แต่เมื่อเขานำเสนอเรื่องนี้ต่อบรรณาธิการข่าว เขากลับได้รับคำตอบว่า หากเขาใช้เงินในการทำงานข่าวนี้ เขาจะหาเงินกลับคืนมาได้เท่าไร นั่นหมายถึง บรรณาธิการควบคุมค่าใช้จ่ายมากกว่า คุณภาพของงานข่าว บางครั้งทำให้เขาไม่สามารถจะทำงานข่าวได้ดีนัก ได้แต่นั่งรอข่าวแถลงของรัฐบาลหรือเทศบาล ซึ่งเขามองว่าไม่ใช่ข่าวที่มีคุณภาพ และไม่เป็นประโยชน์ต่อคนอ่านเท่าไร เขาอยากจะทำข่าวให้ลึกไปกว่านั้น      


 


 เงินเดือนเฉลี่ยของนักข่าวในจังหวัดดาเวา หมู่เกาะมินดาเนา




























Davao reporter"s Monthly Salary


No. of Reporters


%


Below PhP 3,000


75


35.05


PhP 3,001 - PhP 5,000


94


43.92


PhP 5,001 - PhP 7,000


40


18.69


PhP 7,001 - PhP 10,000


5


02.34


Total


214


100


*source : National Union of Journalists of the Philippine  (NUJP)


 


                                   


เงินเดือนเฉลี่ยของนักข่าวในจังหวัดบาเกียว ตอนเหนือของเกาะลูซอน


                                                           




























Baguio Reporter"s Monthly Salary


No. of Reporters


%


Below PhP 3,000


11


30


PhP 3,001 - PhP 5,000


21


58


PhP 5,001 - PhP 7,000


2


6


PhP 7,001 - PhP 10,000


2


6


Total


36


100


*source : National Union of Journalists of the Philippine  (NUJP)


 


เงินเดือนเฉลี่ยของนักข่าวในจังหวดเกซอน ตอนล่างของเกาะลูซอน




























Quezon City Reporter"s Monthly salary


No. of Reporters


%


Below PhP 3,500


17


32


PhP 3,001 - PhP 5,000


31


60


PhP 5,001 - PhP 7,000


3


6


PhP 7,001 - PhP 10,000


1


2


Total


52


100


*source : National Union of Journalists of the Philippine  (NUJP)


 


จะเห็นว่า รายได้เฉลี่ยส่วนใหญ่ไม่เกิน 4,000 เปโซ หากคิดเป็นเงินไทยประมาณ 3,000 บาท แต่นักข่าวของเขาก็ยังทำงานคุณภาพออกมาได้ ทั้งนี้เพราะสื่อมวลชนของฟิลิปปินส์มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่จะพัฒนาวงการสื่อท้องถิ่นของตนเองให้ได้คุณภาพ ทั้งคุณภาพชีวิตและคุณภาพงาน เห็นได้จากการร่วมมือกันของหลายองค์กรสื่อทางเลือกในมะนิลา เช่น the Philippine Center for Investigative Journalism (PCIJ), the Center for Community Journalism and Development (CCID), Center for Media Freedom and Responsibility (CMFR) มีแผนร่วมกันในการพัฒนาบุคคลากรสื่อท้องถิ่น โดยเฉพาะ PCIJ มีความชำนาญด้านการฝึกอบรมนักข่าวทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างน้อยได้สร้างเครือข่ายสื่อทางเลือกขึ้นเช่น ที่ Visayas, หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ชื่อ Examiner ในจังหวัดอิโลอิโลเป็นหนังสือพิมพ์ทางเลือกที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารท้องถิ่นและผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาในชุมชน ที่ Palawan มีหนังสือพิมพ์ทางเลือกรายสัปดาห์ชื่อ Bandillo ng Palawan มีบทบาทในการกระตุ้นชุมชนสนใจปัญหาที่กระทบต่อท้องถิ่นและกระตุ้นให้เกิดการถกเถียงต่อปัญหาที่เกิดและเกิดการแก้ไขปัญหา หรือการนำเสนอข่าวสารตรวจสอบการคอรัปชั่นในรัฐบาลท้องถิ่น หรือนำเสนอข่าวสิ่งแวดล้อมที่กระทบต่อชุมชน ข่าวนำมาซึ่งเกิดองค์กรความร่วมมือเพื่อติดตามปัญหาสิ่งแวดล้อม  


 


นอกจากนี้ยังมีเวปไซด์ข่าวทางเลือก The Mindanews ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1999 โดยกลุ่มนักข่าวจากหมู่เกาะมินดาเนาซึ่งไม่พอใจกับการนำเสนอข่าวด้านลบและด้านเดียวเกี่ยวกับหมู่เกาะมินดาเนาของหนังสือพิมพ์กระแสหลักในมะนิลา หัวหน้าข่าวและนักข่าวบางกลุ่มลาออกจากหนังสือพิมพ์เล่มดังกล่าว และก่อตั้งเวปไซด์ www.mindanews.com รายงานข่าวเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบหมู่เกาะมินดาเนาอย่างรอบด้าน มี Ms. Carolyn O. Arguillas เป็นบรรณาธิการ เป็นเวปไซด์ที่เกาะติดข่าวทางด้านการเมืองท้องถิ่น, เศรษฐกิจ, สิ่งแวดล้อม, วัฒนธรรม โดยเฉพาะการเมืองท้องถิ่นที่นำเสนอในเชิงตรวจสอบ


 


ซึ่งช่างภาพมือหนึ่งของเวปไซด์นี้ก็ถูกยิงเสียชีวิตเช่นกัน เขาคือ Gene Boyd Lumawag เมื่อวันที่ 10พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ที่จังหวัดโจโล ซึ่งเป็นจังหวัดที่ประชากรนับถือศาสนาอิสลามและเป็นพื้นที่ขัดแย้ง เคยต่อสู้เรื่องศาสนากับรัฐบาลกลางเมื่อหลายปีที่ผ่านมา แม้กระทั่งปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีสามารถจับตัวคนร้ายได้ และไม่มีใครทราบสาเหตุการตายที่แท้จริงของเขา


 


อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ โต้แย้งระหว่างนักข่าวท้องถิ่นของหมู่เกาะมินดาเนากับบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ระดับชาติ ในหัวข้อ "การขายข่าว และสังคมได้อะไรจากการขายข่าว" นักข่าวในหมู่เกาะมินดาเนาร่วมกันตั้งคำถามกับหนังสือพิมพ์ระดับชาติที่นำเสนอข่าวสงครามในมินดาเนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งข้อเท็จจริงมินดาเนาเป็นพื้นที่ขัดแย้ง และมีสงครามระหว่างรัฐบาลกลางและกลุ่มแย่งแยกดินแดนจริง แต่คำถามของบรรดานักข่าวน่าสนใจที่ว่าทำไมขายเพียงข่าวสงคราม ในขณะที่ข่าวด้านอื่นที่สร้างสรรค์ในมินดาเนา นักข่าวหลายคนพยายามส่งไปที่สำนักงานแต่ได้รับความสนใจที่จะตีพิมพ์น้อยมาก และภาพของมินดาเนาในหนังสือพิมพ์คือดินแดนแห่งสงคราม ประชาชนในมินดาเนาได้อะไรจากข่าว หลังจากนั้นกลุ่มนักข่าวก็ได้ก่อตั้งเวปไซด์ เป็นสื่อทางเลือกหนึ่ง เป็นกรณีตัวอย่างสำหรับอิสรภาพทางความคิดระหว่างนักข่าวและเจ้าของสื่อ โดยเฉพาะกับธุรกิจสื่อขนาดใหญ่ อย่างน้อยก็เป็นตัวอย่างว่า นักข่าวไม่ยอมถูกครอบงำจากธุรกิจ และสื่อทางเลือกเป็นทางออกของการนำเสนอข่าวคุณภาพ เป็นทางออกของเสรีภาพ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net