Skip to main content
sharethis



 


ประชาไทคัดสรร เว็บไซต์คมชัดลึก : การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อเวลา 13.30 . วันที่ 7 ธันวาคม โดยมีนายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธาน ได้พิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ...กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยให้คงคำว่าสมัครใจเอาไว้ในร่าง ซึ่งมีกรรมาธิการเสียงข้างน้อยและ ส..ขอสงวนคำแปรญัตติไว้ มีตัวแทนครูจาก 4 ภาค เข้าฟังการพิจารณาในห้องประชุมด้วย


 


เมื่อประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ รายงานผลการพิจารณาแล้ว นายอวยชัย วะทา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคัดค้านการถ่ายโอนการศึกษาสู่ อปท. ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ได้เสนอคำแปรญัตติให้ตัดคำว่า "สมัครใจ" ออก เพราะเกรงว่าจะไม่สามารถปฏิบัติได้จริง เป็นการเดินถอยหลัง น่าจะเสนอ พ...ยุบกระทรวงศึกษาธิการ แล้วให้กระทรวงมหาดไทยจัดการศึกษาทั้งหมดแทน


 


ขณะที่ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล..อ่างทอง พรรคชาติไทย กรรมาธิการเสียงข้างน้อย ที่สงวนคำแปรญัตติไว้ อภิปรายว่า ได้ขอแปรญัตติตัดคำว่า "สมัครใจ" และเงื่อนเวลาออกทั้งหมด เพราะเห็นว่า อปท.ยังไม่พร้อม และไม่รู้จะให้เป็นตามไปความสมัครใจของใคร


 


ด้านนายโสภณ ซารัมย์..บุรีรัมย์ พรรคไทยรักไทย กรรมาธิการเสียงข้างน้อย ที่สงวนคำแปรญัตติไว้ โดยคงคำว่า "สมัครใจและความพร้อม" ไว้แล้ว ยังเพิ่มเติมถ้อยคำให้ชัดเจนว่า มิให้นำความใน (1) และ (2) แห่งมาตรา 30 มาใช้บังคับภารกิจการจัดการศึกษา


 


"ทั้งนี้ การกระจายอำนาจด้านการจัดการศึกษาแก่ อปท.ให้ดำเนินการตามความสมัครใจและความพร้อมของ อปท.ตามขอบเขตที่คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.กำหนด และตามความสมัครใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด เพื่อเปิดโอกาสให้ อปท.และสถานศึกษาที่ถ่ายโอนมิให้ครูเกิดความวิตกกังวล" นายโสภณ กล่าว


 


ต่อจากจากนั้น สมาชิกส่วนใหญ่อภิปรายเห็นด้วยกับคำสงวนคำแปรญัตติของนายโสภณ ทำให้นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ..นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กรรมาธิการเสียงข้างน้อย ได้ขอหารือว่า ไม่อยากให้มีการใช้สภาปาหี่ทางการเมือง เมื่อกรรมาธิการเสียงข้างมากยืนยันตามร่างเดิมแล้ว เมื่อต้องการให้มีการแก้ไขแล้วทำไมไม่แก้ไขในชั้นการพิจารณของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ แต่กลับมาแก้ในสภา เหมือนเป็นการหลอกครูและสมาชิกทั้งสภา


 


นายจำลอง ครุฑขุนทด..บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างมาก ชี้แจงว่า คณะกรรมาธิการไม่ได้ละเลยความเห็นของครู ทั้งจากบุคคลที่ทำงานด้านการศึกษา ท้องถิ่น และสภา ทั้งเปิดเผยและส่งเป็นเอกสารสำรวจมาก


 


"ถ้าจะตัดคำว่า "สมัครใจ" ออกตามความต้องการขอครู จะมีผลอย่างไร เมื่อกฎหมายบังคับใช้แล้วจะมีการถ่ายโอนการศึกษาไปยัง อปท.ทันที ดังนั้น จะต้องคิดให้รอบคอบ ต้องยอมรับหลักการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น และต้องยอมรับว่า การกระจายอำนาจด้านการศึกษาไม่เหมือนด้านอื่น เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงต้องยกเลิกเรื่องระยะเวลาการถ่ายโอนแล้วก่อนเปลี่ยนเป็นตามสมัครใจและความพร้อม" นายจำลอง กล่าว


 


นายอัชพร จารุจินดา ตัวแทนคณะกรรมการกฤษฎีกา ในฐานะกรรมาธิการ ชี้แจงเสริมว่า การตัดเงื่อนไขคำว่าสมัครใจออก จะทำให้ขาดหลักประกันตามกฎหมายการถ่ายโอนในภายภาคหน้าว่าจะต้องไปถามความเห็นของครู หรือผู้บริหารสถานศึกษาหรือไม่ แต่ถ้าคงคำไว้สมัครใจ จะทำให้การถ่ายโอนเป็นเรื่องของกระทรวงศึกษาฯ และ อปท.มาตกลงกันเอง


 


การพิจารณาร่างแก้ไข พ...ฉบันนี้ผ่านไปประมาณ 5 ชั่วโมง ประธานในที่ประชุมจึงขอมติในมาตรา 3 ปรากฏว่าที่ประชุมมีมติไม่เห็นชอบตามร่างของคณะกรรมาธิการเสียงข้างมาก ด้วยเสียง 370 ต่อ 27 งดออกเสียง 1 เสียง ไม่ลงคะแนน 2 เสียง หลังจากนั้นได้ลงมติตามคำสงวนคำแปรญัตติทั้ง 12 กลุ่ม ปรากฏว่าที่ประชุมเห็นด้วยตามคำแปรญัตติของนายโสภณ 291 ต่อ 29 เสียง งดออกเสียง 10 เสียง ไม่ลงคะแนน 13 เสียง และลงมติวาระ 3 ด้วยคะแนน 301 ต่อ 87 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง โดยต่อจากนี้จะส่งร่างให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป


 


เมื่อผลการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรออกมาเช่นนี้ ได้สร้างความไม่พอใจให้กับครูจากทั่วประเทศประมาณ 5 หมื่นคน ที่มารวมตัวกันบริเวณด้านหน้ารัฐสภาตั้งแต่เวลา 04.00 . วันที่ 7 ธันวาคม เพื่อคัดค้านการถ่ายโอนการศึกษา และไม่เห็นด้วยกับการคงคำว่า "สมัครใจ" ไว้ ภายใต้การนำของ นายอวยชัย วะทา


 


ทั้งนี้ กลุ่มครูต่างพร้อมกันตะโกนเสียงโห่ฮา เผาบัตรสมาชิกพรรคไทยรักไทยที่เตรียมไว้ และแกนนำครูประกาศบนเวทีว่า วันที่ 8 ธันวาคม ให้มาพบกันที่หน้ารัฐสภา เพื่อนัดเดินหน้าไปถวายฎีกาที่สำนักพระราชวัง เวลา 09.09 . จากนั้นจะเดินไปสักการะที่วัดพระแก้ว และวันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม จะเดินทางไปสวนลุมพินี เพื่อรวมพลังกับประชาชนที่มาร่วมฟังนายสนธิ ลิ้มทองกุล ต่อไป


 


นายขจิต ชัยนิคม อดีต ส..อุดรธานี แกนนำครู ปราศรัยว่า ร่างที่ผ่านสภาตามคำแปรญัตติของนายโสภณนั้น แหกตาครูทั่วประเทศ และเป็นร่างกฎหมายที่ซ่อนเร้น หนักกว่าร่างเดิมของพรรคไทยรักไทยเสียอีก ต้องมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่เรียกร้องให้ครูทั่วประเทศเผาบัตรสมาชิกพรรคไทยรักไทย และให้ครูกลับไปจัดชุมนุมใหญ่ทุกตำบล


 


นายอวยชัย กล่าวว่า กลุ่มครูที่มาในวันที่ 7 ธันวาคม ถูกล็อบบี้อย่างหนัก ทั้งอ้างว่าทำให้การจราจรติดขัดหน้ารัฐสภา เมื่อตัวแทนครูที่เป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อยขอตัดคำว่า "สมัครใจ" ออก ก็ถูก ส..พรรคไทยรักไทย โดยเฉพาะนายสุรชาติ ชำนาญศิลป์..อุดรธานี ตัดเกมประท้วง จึงขอให้ครูทั่วประเทศจำชื่อ ส..ที่ลงมติเห็นชอบร่างกฎหมายไปจารึกเป็นบัญชีหนังหมา


 


ด้านนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ กล่าวว่า เหมือนโดนหลอกให้สภาพิจารณาร่างกฎหมายทั้งวัน แต่สุดท้ายรัฐบาลพลิกกลับไปกลับมา หากร่างนี้มีผลบังคับใช้ปัญหาจะยิ่งมีมากกว่าเดิม โดยปัญหาที่จะเกิดขึ้นสร้างความแตกแยกระหว่างครูกับ อปท.


 


อย่างไรก็ตาม การชุมนุมของครูที่บริเวณหน้าอาคารรัฐสภา ตั้งแต่ช่วงเช้าได้มีการตั้งเวทีปราศรัย โดยมี น..เหวง โตจิราการ ตัวแทนองค์กรพันธมิตรคัดค้านการขายสมบัติชาติ และนายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอรัปชั่น (คปต.) ขึ้นเวทีร่วมปราศรัยด้วย


 


การชุมนุมครั้งนี้มีทั้งผู้ที่ใส่เสื้อสีเหลือง สีขาว และชุดสีกากี พร้อมทั้งสาปแช่งว่า "หาก ส..คนใดพิจารณาไม่ตัดคำว่า "สมัครใจ" ขอให้เป็นเอดส์" สร้างความครึกครื้นให้กับผู้ชุมนุมเป็นอย่างมาก


 


กระทั่งเวลา 10.30 . ได้มี ส..ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลไปพบปะกลุ่มผู้ชุมนุม อาทิ นายสุชาติ ศรีสังข์..มหาสารคาม พรรคไทยรักไทย นายนิสิต สินธุไพร..ร้อยเอ็ด พรรคไทยรักไทย และนายมังกร ยนต์ตระกูล..ร้อยเอ็ด พรรคชาติไทย รวมถึง ส.. อาทิ นายวิชัย ครองยุติ..อุบลราชธานี


 


นายสุชาติ กล่าวกับครูว่า ยังยืนยันจุดยืนว่าให้ตัดคำว่า "สมัครใจ" ออก เวลาลงมติวาระ 3 ไม่สามารถร่วมลงคะแนน เพราะภรรยาเข้ารับการผ่าตัดต้องไปดูแล


 


"อะไรที่ประชาชนไม่เห็นด้วยผมก็จะไม่ทำ และวันนี้ผมจะไม่ยกมือลงมติ และถ้าผมไม่ลงมติตาม พรรคจะไม่ให้เป็น ส..ของพรรคก็ได้ เพราะคนที่เป็น ส..ต้องมีจุดยืน คนที่ไม่มีจุดยืนจะมาเป็น ส..ทำไม อย่างไรก็ตาม ผมขอให้กำลังใจครูที่มาชุมนุมในครั้งนี้ให้สู้ต่อไป" นายสุชาติ กล่าว


 


นายวิชัย กล่าวว่า จะนำเรื่องนี้เข้าหารือในที่ประชุมกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา เพื่อหาทางออกช่วยครูทั่วประเทศ


ต่อมาเมื่อเวลา 15.00 . ตัวแทนองค์กรครู จ.ชัยภูมิ 9 คน นำโดย นายทินรัตน์ ชัยวิวัฒมงคล นายกสมาคมวิชาชีพทางการศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าพบ นายสุชน ชาลีเครือ..ชัยภูมิ และประธานวุฒิสภา เพื่อขอให้หนุนตัดคำว่า "สมัครใจ" ออกในชั้นการพิจารณาของวุฒิสภา


 


ขณะที่ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า เท่าที่พูดคุยกับนายกรัฐมนตรี ก็เห็นว่า การถ่ายโอนไม่ควรให้มีการบังคับ ก็นับว่านายกฯ ใจกว้างแล้ว เมื่อสภาเสนอร่างมาก็จะบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภา ในวันที่ 13 ธันวาคมนี้ และต้องผ่านการเห็นชอบทันที เพื่อจะส่งให้สภาพิจารณาอีกครั้งวันที่ 14-15 ธันวาคม เพราะหากพ้นจากนี้ก็จะปิดสมัยประชุมก่อนทำให้กฎหมายไม่ทันใช้


 


ขณะที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงการชุมนุมของครูที่หน้ารัฐสภาอาจจะยืดเยื้อว่า ก็ต้องทำหน้าที่ชี้แจงให้ครูเข้าใจถึงขั้นตอนการพิจารณาของกฎหมาย และพยายามดูแลให้เกิดผลกระทบต่อเด็กน้อยที่สุด หรือไม่กระทบยิ่งดี ขอความร่วมมือกรณีนี้ ไม่ต้องการให้มีการใช้การข่มขู่อะไร หรือพูดอะไรมาก


 


"ถ้ามีการหยุดการเรียนการสอน ไม่กระทบแค่เด็กเท่านั้น แต่จะกระทบถึงครอบครัวเด็กด้วย ถ้าครูบอกสิ่งที่ทำอยู่ต้องการให้เกิดผลดีต่อเด็ก แต่กลับก่อให้เกิดผลเสียก่อนด้วยการปิดการเรียนการสอน ก็ถือว่าไม่ถูกต้อง" รมว.ศึกษาธิการ กล่าว


 


นายจาตุรนต์ กล่าวอีกว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ไปพิจารณาตามความเหมาะสมหากมีการหยุดสอน แต่ยึดหลักรักษาผลประโยชน์ของเด็กและผู้ปกครอง


 


ด้าน นางพรนิภา ลิมปพยอม เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า นับเป็นความประสงค์ดีของสภาที่คงคำว่า "สมัครใจ" ไว้ เพื่อให้เป็นทางเลือกให้กับครูที่อยากไปสังกัด อปท. ไม่เช่นนั้นจะเป็นการสกัดกั้นครูที่อยากไป ส่วนครูที่ไม่อยากไปก็ยังอยู่กับ ศธ.ต่อไป สวัสดิการสิทธิประโยชน์ของครูที่โอนไปสังกัด อปท.ยังคงเท่าเดิม หรืออาจได้มากกว่าเดิม เช่น โบนัส ซึ่งครูจะได้มากถึง 5 เดือน


 


"ขณะนี้ยอดขอรับถ่ายโอนยังไม่รายงานเข้ามา แต่เป็นไปได้ว่าจำนวนที่ขอรับถ่ายโอนปี 2549 จะมากกว่าปี 2548 ที่มี อปท.ขอรับถ่ายโอนกว่า 300 แห่ง ซึ่งคงถ่ายไปได้ไม่มาก เพราะมีการจำกัดจำนวนสถานศึกษาที่จะขอรับการถ่ายโอน เช่น อบจ.ขอรับถ่ายโอนได้ไม่เกิน 3 แห่ง เทศบาลไม่เกิน 2 แห่ง และ อบต.1 แห่ง" นางพรนิภา กล่าวและว่าส่วนครูที่ชุมนุมหน้ารัฐสภากว่า 5 หมื่นคน คงไม่ชุมนุมยืดเยื้อถึงวันที่ 9 ธันวาคม เพราะนายจาตุรนต์ได้ชี้แจงทำความเข้าใจ โดยเชิญผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทำความเข้าใจ และขอร้องอย่าได้ประกาศปิดโรงเรียนเด็ดขาด แม้ว่าจะมีอำนาจก็ตาม


 


นายคณิน บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (...) กล่าวว่า แม้ว่าสภาจะเห็นควรตัด หรือไม่ตัดคำว่า "สมัครใจ" ออก ก็ยังไม่นำไปสู่ข้อยุติอันเกิดประโยชน์ต่อการศึกษาของชาติ เชื่อว่าความขัดแย้งก็ยังมีอยู่ต่อไป และอาจลุกลามไปถึงเสถียรภาพของรัฐบาลก็เป็นได้ สาเหตุเพราะรัฐบาลแก้ไม่ถูกจุด และพยายามหลบเลี่ยงไม่เผชิญหน้ากับปัญหาที่แท้จริง นั่นคือปัญหากฎหมายการถ่ายโอนสถานศึกษาที่ขัดรัฐธรรมนูญ


 


นายวิทูร ชาติปฏิมาพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครราชสีมา ในฐานะนายกสมาคม อบจ.แห่งประเทศไทย กล่าวว่า แม้รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้รัฐบาลถ่ายโอนการศึกษาให้แก่ อปท. แต่ อปท.มีส่วนร่วมและจัดการศึกษาเองได้ โดยรัฐบาลมีหน้าที่ต้องกระจายอำนาจด้านต่างๆ ให้ อปท.ได้ เพราะรัฐธรรมนูญได้บัญญัติเกี่ยวกับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นไว้ว่า ทั้งนี้แล้วแต่กฎหมายบัญญัติไว้ และกฎหมายกระจายอำนาจก็กำหนดไว้ชัดเจนให้มีการกระจายอำนาจด้านการศึกษาไว้ด้วย


 


"ดังนั้นการแก้ไขกฎหมายถ่ายโอนครั้งนี้ โดยกำหนดให้เป็นไปตามความสมัครใจของโรงเรียน ครู ผู้บริหาร และคณะกรรมการสถานศึกษา รวมถึง อปท.ที่จะรับโอนโรงเรียนของ ศธ.ในพื้นที่ จะต้องนำเรื่องเข้าสู่สภา อปท.แต่ละพื้นที่นั้น ถือว่าเดินสายกลางแล้ว" นายวิทูร กล่าว


 


นายนิตย์ ปิงเมือง รองนายก อบจ.พะเยา กล่าวว่า ตอนนี้ทุกส่วนต้องคิดว่า จะทำอย่างไรให้ครูยอมรับ อปท. และจัดการศึกษาร่วมกันได้ โดยเห็นแก่ประโยชน์ของเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นลูกหลานและเป็นอนาคตของชาติ มากกว่ามุ่งผลประโยชน์ของครูเอง หรือไม่ก็ให้ อปท.รับถ่ายโอนสถานศึกษาแห่งละ 1-2 แห่ง แล้วจัดการศึกษาให้มีระบบมาตรฐาน เพื่อเปรียบเทียบกับสถานศึกษาอื่นว่าดีต่างกันอย่างไร


 


..ต่างจังหวัดสอนปกติ


นางอมรรัตน์ โพธิ์ปัสสา ผู้อำนวยการโรงเรียนเปือยน้อยศึกษา จ.ขอนแก่น กล่าวว่า โรงเรียนได้ส่งตัวแทนครูจำนวนหนึ่งไปรวมกับตัวแทนครูหลายแห่งจาก อ.เปือยน้อย และเดินทางไปสมทบกับตัวแทนครูทั่วประเทศ โดยครูส่วนที่เหลือก็จัดการเรียนการสอนตามปกติ ซึ่งไม่มีการสั่งหยุดแต่อย่างใด


 


นายจุลศักดิ์ ศรีมานะศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหว้าทอง ต.หว้าทอง อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ได้ส่งตัวแทนครูเข้าร่วมทั้งหมด 4 คน ส่วนครูที่เหลือก็จัดการเรียนการสอนตามปกติ ที่ผ่านมาโรงเรียนได้ส่งตัวแทนครูเข้าร่วมแสดงจุดยืนของมติครูตลอด


 


ส่วน นายประจบ โพธิ์ปาน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 2 กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า แต่ละโรงเรียนใช้วิธีการส่งตัวแทนไปร่วมชุมนุมเพื่อไม่ให้กระทบกับการเรียนการสอนปกติ


 


ขณะที่โรงเรียนหลายแห่งใน จ.อุบลราชธานี ว่างเปล่า ไม่มีครูและนักเรียนเช่นปกติ เช่น โรงเรียนวารินชำราบ อ.วารินชำราบ ไม่มีการเรียนการสอน โดยที่หน้าประตูทางเข้าโรงเรียนมีป้ายประกาศข้อความว่า "เปิดเรียนวันที่ 13 ธันวาคม 2548" ทำให้ประชาชนที่ผ่านไปมาบริเวณถนนสายวารินชำราบ-ศรีสะเกษ เกิดความสงสัยและคิดว่าครูพากันเดินทางไปชุมนุมที่กรุงเทพฯ


 


ครูเวรคนหนึ่งชี้แจงว่า โรงเรียนหยุดทำการเรียนการสอนตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม ที่ผ่านมา เนื่องจากครูและบุคลากรในเรียนจำนวนหนึ่งเดินทางไปทัศนศึกษานอกสถานที่ ซึ่งจะเปิดเรียนในวันที่ 13 ธันวาคมนี้ การปิดโรงเรียนในครั้งนี้ทางโรงเรียนจะจัดสอนเสริมให้นักเรียนในวันเสาร์ ซึ่งได้สอนไป 2 เสาร์ แล้ว ส่วนที่เหลือเมื่อกลับมาจากทัศนศึกษาจะสอนให้ครบอีกครั้งหนึ่ง ส่วนบรรยากาศในโรงเรียนแม้จะไม่มีครูมาสอน นักเรียนบางคนที่ต้องการหาความรู้ ได้มาศึกษาหาความรู้จากอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีครู ซึ่งนักเรียนบอกว่า แม้จะไม่มีครูมาสอนก็สามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ที่เปิดกว้างจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่น่าเบื่อเหมือนการนั่งเรียนในชั้นเรียน


 


นายสานิตย์ พลศรี นายกสภาองค์กรวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย และประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดชัยภูมิ เปิดเผยว่า ได้รับคำสั่งจากอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ห้ามนำเงินของสหกรณ์มาใช้สนับสนุนการเคลื่อนไหวคัดค้านการถ่ายโอนการศึกษา อีกทั้งสั่งตรวจสอบการใช้เงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู และให้รายงานว่าใช้เงินสนับสนุนองค์กรครูในการเคลื่อนไหวจำนวนเท่าไร และเชื่อว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศก็น่าจะได้รับคำสั่งในลักษณะที่ไม่แตกต่างกัน


 


"ทำไมรัฐบาลถึงเล่นสกปรกอย่างนี้ เพื่อพยายามสกัดกั้นครูไม่ให้เคลื่อนไหวทุกวิถีทาง กระทรวงคมนาคมก็สั่งห้ามไม่ให้รถยนต์รับจ้างไม่ประจำวิ่งทับเส้นทางสัมปทาน" นายสานิตย์ กล่าวและว่า จะประสานประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูแห่งประเทศไทย ร่วมกับสภาองค์กรวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และ รมว.เกษตรและสหกรณ์ สอบถามว่า ทำไมต้องมีการกลั่นแกล้งครูเช่นนี้


 กลับหน้าแรกประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net